ชื่อเรื่อง การใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน
ตามขั้นตอนของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นายอนุวัฒน์ กอบธรรม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครู ชำนาญการ
โรงเรียนสันกำแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน ตามขั้นตอนของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึก การแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ โดยใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนสันกำแพง อำเภอกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์เรื่อง เสียงและการได้ยิน ตามขั้นตอนของโพลยา จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เสียงและการได้ยิน จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เสียงและการได้ยิน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน ตามขั้นตอนของโพลยา จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (x ̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน ตามขั้นตอนของโพลยา มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 75.96/75.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังได้รับการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหา วิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน ตามขั้นตอนของโพลยา สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียงและการได้ยิน ตามขั้นตอนของโพลยา อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (x ̅ ) เท่ากับ 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.52