บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านไร่หลวง) สังกัดเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน และ 4) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน ดังนี้ 4.1) เปรียบเทียบทักษะการสอนของครูจากการใช้รูปแบบการบริหารศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน 4.2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านของผู้เรียนจากการใช้รูปแบบการบริหารศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน 4.3) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารของผู้เรียนจากการใช้รูปแบบการบริหารศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน 4.4) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและครูจากการใช้รูปแบบการบริหารศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 134 คน ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1จำนวน 42 คน ผู้ปกครองจำนวน 42 คน ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 15 คน และครูจำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) โดยวิธีจับสลากและเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 วิจัย (R1/ Research) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 77 คน ประกอบด้วย ผู้ปกครองจำนวน 42 คน กรรมการสถานศึกษาจำนวน 15 คน และครู จำนวน 20 คน ระยะที่ 2 พัฒนา (D1 / Development) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาจำนวน 2 คน อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 3 คน ผู้อำนวยการกองการศึกษาจำนวน 1 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์จำนวน 2 คน และครูเชี่ยวชาญจำนวน 2 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้ (R2/ Research) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 9 คน ประกอบด้วยครูที่ปฏิบัติการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระยะที่ 4 ประเมินผล (D2/ Development) กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 119 คน ประกอบด้วย ผู้เรียนจำนวน 42 คน ผู้ปกครองจำนวน 42 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 15 คน และครูจำนวน 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนารูปแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจของการพัฒนารูปแบบ แบบวัดทักษะการสอนของครู แบบวัดทักษะการอ่านของผู้เรียน และแบบวัดทักษะการสื่อสารของผู้เรียนของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสำรวจความต้องการของการพัฒนารูปแบบบริหารจัดการศักยภาพครูในจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก และด้านมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียนตลอดปีการศึกษา 2560 และวิเคราะห์ผลการประเมินและสรุปผลการประเมินในระยะต่อไป
4. ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน ดังนี้
4.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะการสอนของครูจากการใช้รูปแบบการบริหารศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน พบว่าทักษะการสอนของครูก่อนและหลังใช้รูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านของผู้เรียนจากการใช้รูปแบบการบริหารศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน พบว่า ทักษะการอ่านของผู้เรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.3 ผลการเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารของผู้เรียนจากการใช้รูปแบบการบริหารศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน พบว่า ทักษะการสื่อสารของผู้เรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบการบริหารจัดการศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน พบว่ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.4 ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและครูจากการใช้รูปแบบการบริหารศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการสื่อสารของผู้เรียน โดยรวมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้ปกครอง เท่ากับครู มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับมาก