Advertisement
Advertisement
3 พื้นฐานเพื่อความมั่นคงทางการเงิน
ก่อนจะฝันไปไกลถึงความร่ำรวยและอิสรภาพทางการเงิน เราควรปูพื้นฐานของความมั่นคงทางการเงินให้แน่นเสียก่อน
ก่อนจะฝันไปไกลถึงความร่ำรวยและอิสรภาพทางการเงิน เราควรปูพื้นฐานของความมั่นคงทางการเงินให้แน่นเสียก่อน เมื่อต่อยอดการลงทุนไปสู่ความมั่งคั่งแล้ว จะได้ไม่ต้องกังวลกับเหตุการณ์ไม่ปกติที่เข้ามากระทบกับชีวิตมากนัก เช่น การเจ็บป่วย หรือตกงาน เป็นต้น สำหรับพื้นฐานความมั่นคงทางการเงินที่ทุกครอบครัวควรมีให้ครบนั้นมีอยู่ 3 อย่าง ดังนี้
1. เงินสำรอง 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครอบครัว วัตถุประสงค์ของเงินจำนวนนี้เพื่อเอาไว้เป็นหลักประกันพื้นฐานว่า หากตกงาน หรือขาดรายได้ขึ้นมา ก็ยังมีเงินสำรองที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวให้เป็นปกติสุขต่อไปได้อีกอย่างน้อยครึ่งปี ในระหว่างนี้ ก็จะต้องหางานใหม่ให้ทันก่อนที่เงินสำรองหมดลง นอกจากนี้ เงินสำรองยังมีเอาไว้เผื่อคนในครอบครัวเจ็บป่วยขึ้นมา จะได้ไม่ต้องไปหยิบยืมหรือกู้เงินให้เสียดอกเบี้ยราคาแพง
2. ทุนประกันชีวิตอย่างน้อย 3 เท่าของรายได้ทั้งปี พูดถึงเรื่องประกันชีวิต อาจไม่จำเป็นต้องทำทุกคน แต่สำหรับคนที่มีครอบครัว หรือคนโสดที่มีคนที่รักอยู่เบื้องหลัง เช่น คุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้อง หรือหลาน ๆ ประกันชีวิตนับว่ามีความสำคัญ โดยควรมีทุนประกันชีวิตไม่น้อยกว่า 3 เท่าของรายได้ทั้งปี เนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา ผู้ที่อยู่เบื้องหลังเราจะได้รับเงินจากทุนประกันชีวิต เพื่อให้สามารถใช้จ่ายได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหากลองคำนวณว่า คน 1 คนมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ใช้ในชีวิตปกติประมาณ 50% ของรายได้ทั้งปี แล้วส่วนที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายของคนในครอบครัว เท่ากับว่าความคุ้มครอง 3 เท่าของรายได้ทั้งปี จะช่วยให้คนที่อยู่ข้างหลังเรามีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายได้นานถึง 6 ปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปีสำหรับทุนประกันที่มากถึง 3 เท่าของรายได้ทั้งปีนั้น อาจเป็นจำนวนเงินที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ดังนั้น เพื่อให้ทุนประกันชีวิตมีความคุ้มครองที่สูงเพียงพอ การเลือกประกันชีวิตแบบตลอดชีพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะด้วยจำนวนเบี้ยที่เท่ากัน ประกันชีวิตแบบตลอดชีพจะให้ทุนประกันที่สูงกว่าประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แต่ถ้าหากต้องการได้รับความคุ้มครอง และได้รับเงินเมื่อครบอายุสัญญา การเลือกประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จะเป็นทางเลือกที่เหมาะกว่า นอกจากนี้ ควรตรวจสอบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากที่ทำงานว่ามีเพียงพอแล้วหรือยัง หากไม่พอก็แนะนำให้เพิ่มประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุไว้บางส่วน เพื่อสำรองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น จะได้กระทบกับเงินสำรองของเราน้อยลง เพราะมีประกันช่วยรับเอาไว้ได้ระดับหนึ่ง
3. ภาระผ่อนหนี้ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ วลีนี้ยังคงใช้ได้อยู่ทุกยุคทุกสมัย การไม่มีหนี้จะทำให้เราไม่มีความกังวลใจ ว่าจะสามารถหาเงินมาใช้หนี้ได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ หรือถ้าจำเป็นต้องก่อหนี้ ก็ขอให้เป็นหนี้ที่ดีที่สามารถก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต เช่น หนี้สินเชื่อบ้าน หรือคอนโด เหตุผลที่ทำให้สินเชื่อบ้านเป็นหนี้ที่ดีนั้น เพราะ 1.เป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยถูก และสามารถโปะเมื่อไหร่ก็ได้ 2.มีระยะเวลาผ่อนชำระนานที่สุด ทำให้ยอดผ่อนแต่ละเดือนไม่สูงมาก 3.มูลค่าบ้านมักเพิ่มขึ้นในระยะยาว เปรียบเสมือนเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 4.เราสามารถใช้ประโยชน์จากบ้าน ทั้งจากการอยู่อาศัยเอง หรือปล่อยให้คนอื่นเช่า อย่างไรก็ดี เราไม่ควรมียอดผ่อนบ้านเกินกว่า 30% ของรายได้ต่อเดือน เพราะถ้าเกินกว่านี้ รายได้ของเราอาจไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งมีโอกาสส่งผลให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อบ้านก็เป็นได้ ส่วนหนี้ที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็น หนี้นอกระบบ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ ไม่ควรสร้างขึ้น เพราะนอกจากไม่ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากด้วย
เมื่อมีพื้นฐานทั้ง 3 อย่างที่ได้กล่าวมาครบหมดแล้ว เงินออมในแต่ละเดือนที่เก็บเพิ่มได้ ก็สามารถนำมาลงทุนต่อยอดจากความมั่นคง สู่ความมั่งคั่งเพื่อเป็นเงินใช้หลังเกษียณ หรืออาจสามารถเกษียณก่อนกำหนดได้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับที่ปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com และ เว็บบอร์ด K-Expert ซึ่งจัดทำขึ้นผ่านทางเว็บไซต์ www.askKBank.com/K-Expert และติดตามข่าวสารการเงินได้ที่ Twitter@KBank_Expert
ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์
Advertisement
|
เปิดอ่าน 16,854 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,162 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,660 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,266 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,799 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,122 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,114 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,602 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,533 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,028 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,367 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,591 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,630 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,119 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,846 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 10,403 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 11,199 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 14,814 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,888 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,877 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 33,693 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 15,614 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 74,342 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 15,269 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 8,519 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 18,390 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 31,624 ครั้ง |
|
|