ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครู ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี
ชื่อผู้วิจัย นางสาวมาณวิกา ทองเปลว
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี และเพื่อยืนยันรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครู ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครู สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 146 คน จากการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.895 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน คือ การวางแผนกลยุทธ์ ได้แก่การ กำหนดวิธีการนิเทศงานวิชาการให้ชัดเจน มีการประเมินการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงาน และมีการใช้แผนการนิเทศงานวิชาการเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพการเรียนการสอน กระบวนการนิเทศ เป็นกระบวนการดำเนินงานที่ช่วยจำแนกความต้องการของบุคลากรในโรงเรียนให้ มีความชัดเจนในเรื่องเป้าหมายและจุดมุ่งหมายทางการศึกษา การนิเทศงานวิชาการค้นพบ องค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการ ศึกษา และ การพัฒนาให้มีแหล่งเรียนรู้และการประเมินผลการนิเทศ และ การประเมินผลการศึกษา เป็นองค์ประกอบที่ให้นำผลการประเมินการนิเทศงานวิชาการนำมาเป็นแนวทางในการนิเทศงาน วิชาการในครั้งต่อไปด้วยการให้ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมในการประเมินผลการนิเทศงานวิชาการ
ผู้วิจัยได้นำผลการวิเคราะห์ค่าทางสถิติองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ นำมาพัฒนาเป็น รูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี โดยการจัดทำกลุ่มสนทนากับ ผู้บริหารสถานศึกษาศึกษา ครู จำนวน 7 คน เพื่อยืนยันรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นและได้จัดทำคู่มือการนิเทศงานภายใน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครู ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี เพื่อเสนอแนะและเป็นแนวทางในการนำรูปแบบไปใช้ในสถานศึกษาต่อไป
Title The Development of the Internal Supervision Model to Promote Teacher Competence in 21st Century for Schools under Ratchaburi Municipality.
Author Miss Manwika Thongplew
Year 2017
ABSTRACT
The purposes of this research were to study, to create a model of internal supervision for schools, and to confirm the model to promote teacher competence in 21st century for schools under Ratchaburi Municipality. Data was collected by documentation analysis and answering the questionaires. The sample groups of 146 administrators and academic supervision teachers from the schools under Ratchaburi Municipality. The statistic employed a constructed 5-rating scale questionaire with the reliability of 0.895 and the data was analyzed by using percentage, mean and standard deviation.
The research finding for the draft model of academic internal supervision for basic education schools indicated the possibility model should be dealt with four components the strategic planning, the supervision process, the academic supervision, and the evaluation and the follow-up. The academic supervision which was the core component found to be dealt with five procedures in curriculum development within schools, the development of the learning process, the measurement and evaluation of academic supervision, the development and the use of innovation technology in schools, the development and encourage learning resources, and the measurement of the effectiveness and the implementation of the assignments. The confirmation of the model was conducted by a focus group comprising of 7 expert administrators to confirm the discovered components.
The researcher implied the model to be introduced for academic supervision in the schools by writing a manual of the model of internal supervision to promote teacher competence in 21st century for schools under Ratchaburi Municipality.