การขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 ด้านนวัตกรรมยกระดั บเกษตรแบบดั้งเดิม เกษตรสมัยใหม่ ยกระดับ SMEs ที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม สร้างธุรกิจบริการแบบมูลค่าสูง เปรียบคนที่มีความคิดสู่การเป็น Start up ที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจ ภายใต้นโยบาย สำนักงาน กศน. ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 1. ขับเคลื่อน กศน. สู่ Smart ONIE ในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ พัฒนาความรู้และทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้ Social Media และ Application ต่างๆ 2. พัฒนากำลังคนให้เป็น Smart Digital Persons (SDPs) ที่มีทักษะด้านภาษาและทักษะดิจิทัล เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ
ประเด็นปัญหา
จากสภาพข้อเท็จจริงโดยภาพรวม สำนักงาน กศน.จังหวัดพิจิตร มี ครู กศน.ตำบล ที่วุฒิทางการศึกษา ไม่จบทางด้านสาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดข้อจำกัดในด้านทักษะเพื่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อนักศึกษา และประชาชน ได้เท่าที่ควร ซึ่งข้าพเจ้า พ.จ.อ.สมเจตน์ สวาศรี รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดพิจิตร ผู้รับผิดชอบ ได้เล็งเห็น สภาพปัญหาดังกล่าว ซึ่ง ครู กศน.ตำบล มีระดับความรู้ ความสามรถที่แตกต่างอย่างหลากหลาย จึงส่งผลกระทบต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก จากเหตุผลดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนายกระดับคุณภาพ ครู กศน.ตำบล ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดกระบวนการการเรียนการสอนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมีคุณภาพต่อไป
ยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน
1. ขับเคลื่อน กศน. สู่ Smart ONIE
2. พัฒนาความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
3. ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้าน Digital
4. บูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
1.พัฒนาศักยภาพ ครู กศน.ตำบล ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ เทคโนโลยีดิจิทัล
2.ส่งเสริมและพัฒนาแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้
3.ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชน
ผลผลิตของโครงการ
1. ครู กศน.ตำบล มีความรู้ ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเครือข่ายเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์
2. นักศึกษา กศน. และประชาชน มีความรู้พื้นฐานด้าน Digital และความรู้เรื่อง กฎหมายการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
3. ครู กศน.ตำบล สามารถต่อยอดองค์ความรู้ สร้างคู่มือ ก้าวทันเทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม
4. ครู กศน.ต้นแบบ นางสาวกานต์สินี ยอดจันทร์ ครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดพิจิตร ได้รับรางวัลวิทยากร E-commerce ชุมชนที่มีผลการดำเนินงานด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ยอดเยี่ยม จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
5. ประชาชนต้นแบบ นายนิติ ศรีประเสริฐ ประชาชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร E-commerce สามารถนำความรู้ไปต่อยอดพัฒนาขบวนการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการคัดเลือกจากสำนักงาน กศน.จังหวัดพิจิตร เป็นตัวแทนผู้ประสบความสำเร็จจากโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน ระดับจังหวัด
พ.จ.อ.สมเจตน์ สวาศรี
รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดพิจิตร
ผู้เผยแพร่ผลงานวิชาการ