หัวข้อการศึกษา รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา ปิยวรรณ สวามิภักดิ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านน้ำทรัพย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Samples) ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Samples) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental design) ผู้ศึกษาดำเนินการทดลองตามรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำสองครั้ง (One group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1.ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.78/82.59
2.นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งคะแนนหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีค่าเท่ากับ 0.67 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.00
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพชรบุรี โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก