ชื่อเรื่อง โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียน โรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน นางวิลาวรรณ์ การนาดี
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียน โรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย ระดับคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียน พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน พฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในท้องถิ่น และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการร่วมใจพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะรักการเรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียน โรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 กลุ่มเป้าหมายในการประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน โดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคน ได้กลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2560 จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 7 ฉบับ โดยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .80 1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงาน ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม ด้านการติดตามประเมินผล และด้านการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาระหว่างดำเนินโครงการ โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 สรุปผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54,  = .44) รองลงมา คือ ผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = .44) และนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = .44)
4.2 สรุปผลการประเมินด้านผลผลิต พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก( = 4.03,  = .53) รองลงมา คือ นักเรียน อยู่ในระดับ มาก ( = 4.02, S.D. = .49) และผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ( = 4.01, S.D. = .50)
4.3 สรุปผลการประเมินด้านผลผลิตพฤติกรรมการสอนของครูโดยส่งเสริมให้นักเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียน และในท้องถิ่น โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และครู โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.19, S.D.= .50) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยรองลงมา อยู่ในระดับมาก ( = 4.17,  = .50)
4.4 สรุปผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวม พบว่า ทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ผู้บริหารควรส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนแก่นักเรียนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการกำกับติดตาม และประเมินผล โดยผู้บริหารเพื่อกระตุ้นให้ครูมีความตื่นตัวในการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
2. สถานศึกษาอื่นที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนวัดไทรพอน ควรนำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้นักเรียนโรงเรียนวัดไทรพอน จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 ไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการนำแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และในท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3. สถานศึกษาควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบ และเผยแพร่ผลจากการดำเนินงานของโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องด้านการศึกษาได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน
4. ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ และควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสม เพราะจะทำให้มีกำลังใจในการทำงาน และส่งผลต่อความสำเร็จของงานในครั้งต่อๆ ไป
ข้อเสนอแนะในการวิจัย หรือประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
2. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ (CIPP Model)
3. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการในระดับกลุ่ม งานย่อย หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ