ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน ทิภาพรรณ แคล้วคลาด
ปีทำการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยมีประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี โรงเรียนวัดบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ห้องที่ 1 จำนวน 20 คนเป็นเด็กนักเรียนชาย 11 คนและเด็กนักเรียนหญิง 9 คน ซึ่งได้คัดเลือกมาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เป็นเวลา 15 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ในวันจันทร์ วันอังคารและวันพุธ วันละ 20 นาที รวมทั้งสิ้น 45 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 14.30 - 14.50 น. โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ผู้รายงานทำการประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Pretest) ก่อนทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการทดลองด้วยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กับกลุ่มตัวอย่าง 20 นาที โดยทดลองสัปดาห์ละ3 วันผู้รายงานดำเนินขั้นตอนใน
การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ตามแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเกมการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการทำแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนมาเปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า การทดสอบผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยก่อนการจัดกิจกรรม เกมการศึกษามีคะแนนเฉลี่ย 26.35 และหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีคะแนนเฉลี่ย 31.65 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแล้ว พบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีคะแนนหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแตกต่างจากก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนสอบหลังเรียนของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนเป็นไปตามที่ตั้งสมมติฐานไว้