ชื่อเรื่อง : รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21
ผู้วิจัย : นายภิรมย์ ลี้กุล ผู้อำนวยการโรงเรียนวังจันทร์วิทยา
คำสำคัญ : รูปแบบ , การบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน , ศตวรรษที่ 21
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษ ที่ 21 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและระดับการปฏิบัติงานของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21 ก่อนการพัฒนา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลการพัฒนาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21
โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนวังจันทร์วิทยาจำนวน 92 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 19 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 30 คน 4) ครูนอกโรงเรียนจำนวน 33 คน และ 5) นักเรียนจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดสอบถามแสดงความคิดเห็น แบบบันทึกข้อมูล การสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการประเมินการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและระดับการปฏิบัติของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ก่อนการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Output) ผลการประเมินระดับการปฏิบัติของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21 ก่อนการพัฒนา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผลผลิต (Output) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และลำดับสุดท้ายคือด้านกระบวนการ (Process) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน ตามลำดับ
ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 ผลการสร้างรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21 ภายหลังการดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแล้วได้นำผลการศึกษาเอกสารทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาระดับการปฏิบัติของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนก่อนการพัฒนา มาประมวลเพื่อกำหนดร่างของรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดจาก ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเพื่อหาข้อสรุปและแนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยพิจารณาจากหลักการสำคัญของการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถสรุปรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ 1) การพัฒนาครูด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) การพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) การพัฒนาการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม และ 4) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยเมื่อนำรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาแล้วไปใช้ดำเนินการ จะมีการติดตามประเมินผลการพัฒนาคุณภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการประเมินความพึงพอใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21 ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นกรอบแนวทางในการกำดับดูแลและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามเป้าหมายและทิศทางของการจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี
ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 3 ผลการประเมินการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบ TDPT ประกอบด้วย 4 กระบวนการ คือ ด้านการพัฒนาครูสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Teacher Development) ด้านการพัฒนาการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Dynamic Process) ด้านการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม (Participation Stakeholder) และด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Technology Cycle) โดยภาพรวมมีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน โดยลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Technology Cycle) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม (Participation Stakeholder) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ ด้านการพัฒนาครูสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Teacher Development) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยเป็นลำดับสุดท้าย คือ ด้านการพัฒนาการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Dynamic Process) โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งประเด็นดังกล่าวบ่งบอกถึงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการ
ผลการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 4 ผลการประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน วังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สู่ศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาครูสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Teacher Development) ด้านการพัฒนาการขับเคลื่อนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Dynamic Process) ด้านการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม (Participation Stakeholder) และด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Technology Cycle) โดยภาพรวมมีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน โดยลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาครูสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Teacher Development) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาการขับเคลื่อนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Dynamic Process) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม (Participation Stakeholder) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยเป็นลำดับสุดท้าย คือ ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Technology Cycle) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน ซึ่งบ่งบอกถึงความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่มีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ