ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!


บทความการศึกษา 17 มิ.ย. 2559 เวลา 09:40 น. เปิดอ่าน : 10,686 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!

คอลัมน์: การศึกษา: ถึงเวลา'ยกเครื่อง' สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!


ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมาความเชื่อมั่นที่มีต่อสถาบันทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) มีน้อยมาก

สทศ. มีปัญหามากมายนับตั้งแต่ปีแรกที่จัดตั้งจนถึงวันนี้ปัญหาก็ยังคงวนเวียนอยู่เรื่องเดิมๆ

ที่ผ่านมา สทศ. มักถูกวิจารณ์เรื่องข้อสอบไม่ได้มาตรฐาน คำถามกำกวม เฉลยผิด คำตอบมีมากกว่า 1 ข้อ ข้อสอบยากเกินมาตรฐานเนื้อหาหลักสูตรจนบางวิชาเด็กสอบตกเกือบยกประเทศ

สังคมขาดความเชื่อมั่นต่อมาตรฐานข้อสอบ จนเกิดการเรียกร้องให้ยกเลิกการนำผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (โอเน็ต) มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา (แอดมิสชั่นส์)


หนักข้อกว่านั้นถึงขั้นเรียกร้องให้ยุบ สทศ.!!

มาปีนี้กระแสเรียกร้องให้ยุบ สทศ. กลับมากระหึ่มในโลกโซเชียลอีกครั้ง พร้อมด้วยการเชิญชวนให้คนในโซเชียลเน็ตเวิร์กลงชื่อเรียกร้องให้ประมวลผลแอดมิสชั่นส์ใหม่ผ่านทางเว็บไซต์ change.org...

ความไม่มีมาตรฐานของข้อสอบ สทศ. ที่ผ่านมาประกอบด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน ข้อหนึ่งที่ถูกโจมตีอย่างหนัก คือการดึงอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมาออกข้อสอบ ทำให้เกิดปัญหาข้อสอบยาก มีการออกข้อสอบเกินเนื้อหาหลักสูตรและไม่สะท้อนการเรียนการสอนในชั้นเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็นเด็กส่วนใหญ่ที่เข้าสอบ รัฐบาลก่อนๆ จึงพยายามแก้ไขปัญหาโดยมอบหมายให้ สทศ. ดึงครูโรงเรียนสังกัด สพฐ. มาร่วมออกข้อสอบ เพื่อให้ข้อสอบสอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตร

รัฐบาลทุกยุคที่ผ่านมาไม่กล้าสั่งการให้ สทศ. เผยแพร่ข้อสอบพร้อมด้วยเฉลยคำตอบต่อสาธารณะเพราะเกรงปัญหาเรื่องประท้วงไม่จบไม่สิ้น รวมถึงการฟ้องร้องเป็นคดีความจากพ่อแม่ผู้ปกครองถ้าความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดของ สทศ. นำไปสู่ผลกระทบของบุตรหลานของตัวเอง ที่ผ่านมาจึงใช้วิธีให้เด็กที่สงสัยคะแนน ไปดูกระดาษคำตอบเป็นรายบุคคลที่ สทศ. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทราบดีถึงวิกฤต"ศรัทธาที่สังคมมีต่อ สทศ. ที่ผ่านมาจึงแก้ไขปัญหาโดยสั่งการให้ สทศ. นำข้อสอบพร้อมด้วยเฉลยคำตอบทั้งหมดเผยแพร่บนเว็บไซต์ สทศ. เพื่อให้สาธารณะ นักวิชาการตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง ช่วยกันตรวจทาน วิพากษ์วิจารณ์ อันนำไปสู่การปรับปรุงระบบการทำงานของ สทศ. ในอนาคตโดยประเดิมปีนี้เป็นปีแรก

เรียกว่ากล้าตัดสินใจ เด็ดขาด ทั้งที่รู้ดีว่าสุ่มเสี่ยงนำมาสู่ปัญหามากมาย...

ขณะนี้ผลกระทบกำลังตามมาเป็นลูกโซ่จากการเผยแพร่ข้อสอบพร้อมด้วยเฉลยคำตอบ เมื่อเหล่านักวิชาการ ติวเตอร์ตลอดจนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ต่างออกมาสับเละถึงข้อสอบที่ผิดพลาดของ สทศ. นำโดย นายพิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่ออกมาชี้ว่าข้อสอบโอเน็ต ม.6 วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผิดพลาด 2 ข้อ คือ ข้อ 63 และข้อ 88 และเมื่อมาตรวจทานภายหลังพบว่าผิดเพิ่มมากกว่านั้นอีกหลายข้อ

ขณะเดียวกัน มีนักวิชาการโจมตีอย่างหนักกับตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ว่าอาจมีเนื้อหาไม่ถูกต้อง ไม่ได้มาตรฐาน เดือดร้อนถึง สพฐ. ต้องตรวจทานเนื้อหาในตำราเรียน พบว่าตำราที่อนุญาตให้สำนักพิมพ์เอกชนจัดพิมพ์นั้น มีเนื้อหาถูกต้อง โดยเฉพาะโอเน็ต ม.6 วิชาสังคมฯ ข้อ 63 ที่ถามว่าสนธิสัญญาการค้าฉบับแรกระหว่างไทยกับชาติตะวันตก คือสนธิสัญญาอะไรนั้น สพฐ. ยืนยันคำตอบตรงกับนักวิชาการว่าคือสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ซึ่งต่างจากคำเฉลยของ สทศ. ที่ยืนกรานว่า คือ สนธิสัญญาเบาว์ริง

ตามมาด้วย อาจารย์ปิง เจริญศิริวัฒน์ หรือ "อ.ปิง ดาว้องก์" ติวเตอร์วิชาสังคมชื่อดัง ออกมาขย่มซ้ำด้วยการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กระบุถึงข้อสอบโอเน็ต ม.6 วิชาสังคมฯ ผิดพลาดอย่างน้อย 5 ข้อ คือ 58, 63, 72, 80 และ 85 และคำถามและคำตอบกำกวมอีกหลายข้อ พร้อมด้วยการงัดหนังสือเรียนที่ สพฐ. อนุมัติให้สำนักพิมพ์เอกชนจัดพิมพ์มาเป็นหลักฐานประกอบ ตอกย้ำว่าการออกข้อสอบของ สทศ. มีทั้งเฉลยผิดพลาด คำถามกำกวม คำตอบตอบได้มากกว่า 1 ข้อ

วิกฤตศรัทธาถูกขย่มซ้ำเมื่อเวลาไล่ๆ กัน แอนดรูว์ บิ๊กส์ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์คลิปโดยตั้งข้อสงสัยว่าโอเน็ต ม.3 วิชาภาษาอังกฤษ ก็มีเฉลยผิดถึง 4 ข้อ จากทั้งหมด 50 ข้อ

พล.อ.ดาว์พงษ์ เลยสั่งให้ สทศ. ตรวจข้อสอบพร้อมด้วยเฉลยข้อสอบโอเน็ตใหม่ทั้งระบบ ส่วนว่าจะนำไปสู่การประมวลผลแอดมิสชั่นส์ใหม่หรือไม่นั้น พล.อ.ดาว์พงษ์ ยังไม่กล้าให้คำ ตอบ บอกว่าขอรอดูผลตรวจสอบก่อน

"เพื่อไม่ให้สังคมคลางแคลงใจ จึงได้ติดต่อ นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. ขอให้ตรวจสอบข้อสอบและเฉลยคำตอบใหม่ทั้งหมด รวมถึงข้อสอบโอเน็ต ม.6 วิชาสังคมฯ ที่ติวเตอร์ทักท้วงด้วยเพื่อสร้างความมั่นใจให้สังคม และหากมีข้อผิดพลาด ก็ต้องยอมรับผิดและแก้ไข"

อย่างไรก็ตาม ผลการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน สทศ. ก็ยังคงยืนกระต่ายขาเดียวว่าข้อสอบโอเน็ต ม.6 ไม่มีข้อใดผิดเพิ่ม ผิดแค่ข้อเดียวคือ ข้อ 88 ซึ่งได้มีการประมวลผลคะแนนใหม่ไปแล้วก่อนส่งให้สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) ประกาศผลแอดมิสชั่นส์เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา

พร้อมแจกแจงกระบวนการออกข้อสอบ กลั่นกรองและคัดเลือกข้อสอบ ดำเนินการอย่างรัดกุม รอบคอบ เชื่อมั่นได้

สอดรับกับ พล.อ.ดาว์พงษ์ ที่อยากจบปัญหานี้ตั้งแต่ต้น โดยระบุว่า "เมื่อ สทศ. ยืนยันว่าไม่ผิดเพิ่มอีก เราก็ต้องเชื่อ สทศ. เพราะเป็นหน่วยงานดูแลเรื่องการทดสอบ เราต้องให้เครดิต" ทั้งย้ำว่าถ้าจะโทษ ก็ต้องโทษตนเพราะเป็นคนสั่งให้เปิดเผยข้อสอบพร้อมด้วยเฉลยคำตอบ

แม้ สทศ. จะยืนยันความถูกต้อง แต่ด้วยเหตุที่ไม่ได้งัดหลักฐานประกอบและไม่ได้อธิบายรายละเอียดคำตอบแต่ละข้อ เลยไม่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของสังคมมากนัก บางคนถึงกับโต้ว่า เมื่อ สทศ. ยืนยันความถูกต้องของเฉลยคำตอบ ก็เท่ากับว่าหนังสือเรียนของ สพฐ. ผิด!! นายพิพัฒน์ กระแจะจันทร์ นักวิชาการคนแรกๆ ที่ออกมาติงข้อสอบโอเน็ต ระบุว่า ได้ยินข่าวทุกปีว่าข้อสอบผิดพลาด ซึ่ง สทศ. ก็คงไม่นิ่งนอนใจ แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อ ความผิดพลาดส่งผลต่อความน่าเชื่อถือขององค์กรและกระทบต่อองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์เพราะทำให้สังคมสับสนว่าระหว่างความรู้ของ สพฐ. กับ สทศ. อย่างไหนจะถูกต้องกว่ากัน ทางแก้คือถ้าคิดว่าผิดข้อเดียว ก็ต้องอธิบายให้สังคมคลายสงสัย ถ้าผิดก็ต้องแสดงสปิริตรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม ในวิกฤตย่อมมีโอกาส สทศ. ควรพิจารณากรรมการออกข้อสอบชุดปัจจุบัน ให้โอกาสหรือเปลี่ยน ก็เป็นอีกเรื่อง แต่คงต้องมีกรรมการอีกชุดมาตรวจสอบข้อสอบซ้ำก่อนให้นักเรียนสอบจริง อาจจะเป็นกรรมการจาก สพฐ. เพื่อตรวจสอบให้ข้อสอบกับเนื้อหาในแบบเรียนตรงกัน ที่สำคัญคือ เราอาจต้องมาตั้งคำถามว่าจะให้นักเรียนเรียนประวัติศาสตร์เพื่อจำไปสอบ หรือเป็นพลเมืองที่คิดเป็น

ความจำเป็นขององค์กรจัดการทดสอบระดับชาติอย่าง สทศ. ยังต้องมีอยู่ แต่ถ้า สทศ. ยังปล่อยให้เกิดความผิดพลาดซ้ำซาก ทำให้สังคมเสื่อมศรัทธา ที่สุดสังคมก็อาจตั้งคำถามจริงจังว่า "สทศ." สร้างประโยชน์ หรือสร้างปัญหาให้แก่ประเทศชาติมากกว่ากัน ศธ. และ สทศ. ควรอาศัยวิกฤตนี้ สังคายนาระบบจัดสอบใหม่เพื่อเรียกความศรัทธา

รีบแก้ไข อย่ารอให้ถึงวันนั้นซึ่งอาจสายเกินแก้...

 

ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 มิ.ย. 2559


ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!ถึงเวลายกเครื่องสทศ.เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เคล็ดลับเรียนแล้วรวย

เคล็ดลับเรียนแล้วรวย


เปิดอ่าน 7,813 ครั้ง
โอเน็ต!ยัง โอเค?

โอเน็ต!ยัง โอเค?


เปิดอ่าน 9,257 ครั้ง
เราสอบไปเพื่ออะไร?

เราสอบไปเพื่ออะไร?


เปิดอ่าน 22,343 ครั้ง
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)


เปิดอ่าน 8,167 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ลดการสอบเพื่ออะไร ?

ลดการสอบเพื่ออะไร ?

เปิดอ่าน 10,019 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทาง ‘ปฏิรูป’ ผู้เขียน ดร.พีระพงษ์ สิทธิอมร
การจัดการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อแสวงหาแนวทาง ‘ปฏิรูป’ ผู้เขียน ดร.พีระพงษ์ สิทธิอมร
เปิดอ่าน 44,581 ☕ คลิกอ่านเลย

คืนครูสู่ห้องเรียน
คืนครูสู่ห้องเรียน
เปิดอ่าน 16,944 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไม่มีวันสำเร็จ ถ้าไม่รื้อรากความงมงาย
ปฏิรูปการศึกษาไม่มีวันสำเร็จ ถ้าไม่รื้อรากความงมงาย
เปิดอ่าน 12,131 ☕ คลิกอ่านเลย

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559
เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559
เปิดอ่าน 8,707 ☕ คลิกอ่านเลย

ความเสียหายจากมหาวิทยาลัยไทยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน
ความเสียหายจากมหาวิทยาลัยไทยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน
เปิดอ่าน 12,525 ☕ คลิกอ่านเลย

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
เปิดอ่าน 32,737 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ฝึกอ่านอังกฤษกับนิทานโดยครูเชอรี่ English Bright
ฝึกอ่านอังกฤษกับนิทานโดยครูเชอรี่ English Bright
เปิดอ่าน 34,881 ครั้ง

สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร
สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร
เปิดอ่าน 12,730 ครั้ง

ฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ "พิจิตร3" ทรงผลยาวคล้ายลูกแพร์
ฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ "พิจิตร3" ทรงผลยาวคล้ายลูกแพร์
เปิดอ่าน 20,536 ครั้ง

เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เปิดอ่าน 26,061 ครั้ง

50 สำนวนอังกฤษไม่ธรรมดาที่ใช้บ่อย และ 111 ประโยคอังกฤษสั้นๆ เพื่อผู้เริ่มหัดสนทนา
50 สำนวนอังกฤษไม่ธรรมดาที่ใช้บ่อย และ 111 ประโยคอังกฤษสั้นๆ เพื่อผู้เริ่มหัดสนทนา
เปิดอ่าน 34,663 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ