บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นายไชยยา เหล่าลือชา
ปีที่ศึกษา 2561
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
(2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 กลุ่มที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎร์นิยมธรรม สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2561
จำนวนประชากรทั้งหมดมี 2 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 80 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6/1โรงเรียนเทศบาลวัดราษฎร์นิยมธรรม อำเภอศรีราชา
จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยผู้ศึกษาจับฉลากมา 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 40 คน เนื่องจากโรงเรียนจัดห้องเรียนโดยคละความสามารถกลุ่มตัวอย่างที่ได้คือ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6/1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 การอ่านเชิงวิเคราะห์จากนิทาน เล่มที่ 2 การอ่านเชิงวิเคราะห์จากบทความ เล่มที่ 3 การอ่านเชิงวิเคราะห์จากเพลง เล่มที่ 4 การอ่านเชิงวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน 12 แผน ใช้เวลาจัดกิจกรรมการเรียนรู้แผนละ 1 ชั่วโมง แต่ละแผนประกอบด้วย จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
การเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ ซึ่งได้ผ่านการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยนำไปใช้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา
สำกัดเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สถานศึกษาตั้งอยู่ใกล้กัน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ศึกษาสร้างแบบทดสอบ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานก่อนเรียนและหลังเรียน ฉบับละ 40 ข้อ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
จำนวน 40 ฉบับ
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 (กลุ่มตัวอย่าง) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบหลังเรียนจากแบบฝึกทักษะทั้ง 4 เล่ม
ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง (E1) คิดเป็นร้อยละ 87.68 และคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง (E2) คิดเป็นร้อยละ 82.31 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 ดังนั้น แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน
เชิงวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ประกาศคุณูปการ
รายงานการศึกษาฉบับนี้ สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง ๓ ท่าน คือ นางอุดมลักษณ์ ดาราพิสุทธิ นางชณิษฎาภา แดงสมสุขเจริญ และนางสาวธิติมา สุทธิพงษ์ ที่ได้ให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดีตลอดมา ผู้ศึกษา ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณคณะครูและขอบใจนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดราษฎร์นิยมธรรม สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และให้โอกาสเป็นอย่างดีในการศึกษาครั้งนี้
ขอขอบคุณคณะครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ให้คำปรึกษาที่ดี รวมทั้งเพื่อนร่วมวิชาชีพทุกคนที่คอยช่วยเหลือและเป็นกำลังใจที่ดีต่อผู้ศึกษาเสมอมา
ขอน้อมระลึกถึงพระคุณของบิดา มารดา ครู อาจารย์ ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ทั้ง ในอดีตและปัจจุบัน ตลอดจนกัลยาณมิตรทุกท่าน รวมทั้งบุคคลในครอบครัวที่ให้ความอนุเคราะห์ สนับสนุน และให้กำลังใจ จนรายงานการศึกษาฉบับนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
ไชยยา เหล่าลือชา