Advertisement
Advertisement
รถติดนอกจากสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ยังทำให้คุณเบื่อ หงุดหงิด ขุ่นเคือง และวิตกกังวล ภาวะเหล่านี้ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพจิตมิหนำซ้ำเมื่อคุณต้องนั่งท่าเดิมอยู่ในที่แคบๆเป็นเวลานานยัง ซึ่งรังแต่จะยิ่งเสียอารมณ์ไปใหญ่ โยคะท่าง่ายๆต่อไปนี้ช่วยให้คุณคลายความปวดเมื่อยได้ทั้งตัว แถมยังทำให้คุณผ่อนคลาย จิตใจสงบ และขจัดอารมณ์ขุ่นมัวหลังพวงมาลัยไปได้ ลองทำท่าเหล่านี้เมื่อคุณจำต้องติดอยู่ในรถ แต่จำไว้ว่าควรคาดเข็มขัดนิรภัยไว้เสมอ และอย่าหลับตา เพราะเมื่อรถเคลื่อนคุณจะได้รู้ทันท่วงที
คอ
กล้ามเนื้อบริเวณคอเป็นจุดที่มักปวดตึงได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะเมื่อคุณมีความเครียด ก้มหน้ามากที่สุดจนคางชิดอก ค้างไว้สักครู่ จากนั้นค่อยๆเปิดคางเงยหน้าขึ้นไปให้มากที่สุด ค้างไว้ สักครู่ เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดได้เต็มที่ ทำซ้ำอีกจนรู้สึกสบาย ศีรษะตั้งตรง ค่อยๆเอียงไปทางด้านขวา ให้หูขวาเสมือนจะชิดไหล่ขวา โดยไม่ยกหัวไหล่ ค้างไว้ สักครู่ เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดเต็มที่ จากนั้นกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำสลับข้างประมาณ 2-3 รอบหรือจนรู้สึกสบาย ศีรษะตั้งตรง บิดหน้าไปทางด้านไหล่ขวา ให้คางเสมือนจะชิดไหล่ขวา โดยไม่ยกไหล่ ค้างไว้สัก ครู่ เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดเต็มที่ จากนั้นกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำสลับข้างจนรู้สึกสบาย
ไหล่
ส่วนต่อจากคอซึ่งรองรับความเครียดเอาไว้เต็มที่จนเกิดเป็นความปวดเมื่อยได้ง่ายๆเช่นกัน นั่งตัวตรง ยกไหล่ขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หายใจเข้าให้ลึก ค้างไว้สักครู่ จากนั้นลดไหล่ลง พร้อมๆกับหายใจออก ทำซ้ำจนรู้สึกสบาย หมุนหัวไหล่ โดยใช้ปลายนิ้วมือแตะที่หัวไหล่แต่ละข้าง (หากไม่ถนัดจะทำทีละข้างก็ได้) หมุนไปด้านหน้าและย้อนกลับไปด้านหลัง
ข้อมือ
ต้องใช้กำลังบังคับพวงมาลัยมากๆ กล้ามเนื้อบริเวณข้อมืออาจเมื่อยได้ อีกทั้งการต้องงอข้อศอก ตลอดเวลาที่ขับรถ ท่าบริหารเหล่านี้ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ เหยียดแขนไปด้านหน้าให้ตรง ศอกไม่งอ ตั้งฝ่ามือขึ้นเสมือนกำลังดันกำแพง ค้างไว้สักครู่ จากนั้น จึงงุ้มข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ลงด้านล่าง ค้างไว้สักครู่ ให้กล้ามเนื้อยืดเต็มที่ ทำซ้ำเท่าที่รู้สึกสบาย หมุนข้อมือไปมาในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาและตามเข็มนาฬิกา ทำจนรู้สึกสบาย
เอว-หลัง
กล้ามเนื้อลำตัวซึ่งมักปวดเมื่อยเมื่อคุณต้องนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานานๆ ลองขยับเนื้อขยับ ตัวจะช่วยให้สบายขึ้น ยกแขนขวาขึ้นด้านบน จากนั้นค่อยๆเอียงลำตัวพับเองไปทางด้านซ้ายจนสุดเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ สักครู่เพื่อให้กล้ามเนื้อแผ่นหลังยืดเต็มที่ จากนั้นจึงค่อยๆกลับมาอยู่ในท่าเริ่มต้น ทำสลับข้างจนรู้สึก สบาย พยายามยืดแขนให้สุด และข้อศอกไม่งอ เพื่อจะยืดเส้นได้เต็มที่บิดหลัง โดยการใช้มือขวาเอี้ยวมาจับขอบเบาะซ้ายช้าๆ ค้างไว้สักครู่ เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดเต็มที่ ใครที่มีอาการเส้นตึงอยู่แล้วอาจรู้สึกถึงการยืดได้อย่างชัดเจน จากนั้นกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำสลับข้าง จนรู้สึกสบาย
ขา
ที่นั่งในรถขาของคุณจะอยู่ในท่างอตลอดเวลา ท่าบริหารนี้จะช่วยยืดให้กล้ามเนื้อขารู้สึกสบายขึ้น ปรับเบาะไปด้านหลัง เหยียดขาให้ยืดตรง เข่าไม่งอ จากนั้นโน้มลำตัวลงไปด้านหน้าให้มากที่สุด ค้างไว้สักครู่ เพื่อให้กล้ามเนื้อขายืดเต็มที่ กลับสู่ท่าเดิม ทำซ้ำเท่าที่รู้สึกสบาย
|
|
|
Advertisement
|
เปิดอ่าน 12,583 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,364 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,125 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,462 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,765 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,047 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,089 ครั้ง |
เปิดอ่าน 75,456 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,255 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,433 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,004 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,211 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,005 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,909 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,673 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 15,429 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 18,514 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,629 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,026 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 9,732 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,897 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 17,617 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 16,875 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,656 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 145,397 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 40,744 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 31,738 ครั้ง |
|
|