ชื่องานวิจัย การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการสอนแก้โจทย์
ปัญหา ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา
เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์
ผู้วิจัย นายเกษมศิริ มีทอง
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหา ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะโดยใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาประกอบชุดฝึกเสริมทักษะโดยใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร 3)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาประกอบชุดฝึกเสริมทักษะโดยใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร และ 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหา ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะโดยใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 25 คน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบที่มีการทดสอบเฉพาะหลังทดลอง (One group posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้ขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา 2)ชุดฝึกเสริมทักษะโดยใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 17 ชั่วโมง และ4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายข้อ (IOC) และหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1.ชุดฝึกเสริมทักษะโดยใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที 3 แบบกลุ่มหนึ่งต่อหนึ่ง มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 58.93/70.00 และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.53 แบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.79/83.67 และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.72 และแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.21/84.93 และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.74 และคะแนนแบบฝึกหัดกิจกรรมระหว่างเรียนในชุดฝึกเสริมทักษะโดยใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปรชุดฝึกที่ 1 ถึงชุดฝึกที่ 7 มีคะแนนร้อยละ78.67, 81.00, 81.67, 84.00, 82.00, 84.17และ85.67 ตามลำดับ ซึ่งมีประสิทธิภาพและค่าดัชนีประสิทธิผลเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหา ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะโดยใช้ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหา ประกอบชุดฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที 3นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากโดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56