ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาเกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา
สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางทินกร อักษร ครูชำนาญการ
โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางการเรียน เรื่อง ความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ ด้วยเกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้เกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบวัดความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สาระที่ 1 เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก หน่วยการจัดประสบการณ์ภูห่าน (ภูเขา) ชั้นอนุบาลปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบที่มีตัวเลือกเป็นรูปภาพ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.60 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.74 แผนการจัfประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 3 สาระที่ 1 เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก หน่วยการจัดประสบการณ์ภูห่าน (ภูเขา) จำนวน 20 แผน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้เกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความแปรปรวน ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) การหาประสิทธิภาพ (E1/E2 ) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) สถิติ t (t-test for Dependent Sample) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า
1. เกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.00/88.00 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. พัฒนาการทางการเรียน เรื่อง การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของเกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 เท่ากับ 0.7722 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.22
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 2.58, S.D. = 0.45)
การวิจัยครั้งนี้สรุปว่า เกมการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยอื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องได้