บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) สร้างกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย และ (2) ศึกษาผลการพัฒนาความพร้อมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นเด็กเล็ก (อายุ 3 ขวบ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเพียงน้อย สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 16 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยกำหนดการเรียนรู้จำนวนทั้งสิ้น 18 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัย 2) ชุดกิจกรรมการพัฒนาความพร้อมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน สำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) แบบประเมินการพัฒนาความพร้อมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา ก่อนจัดประสบการณ์และหลังจัดประสบการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ ค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ได้กิจกรรมการละเล่น เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ จำนวนทั้งสิ้น 18 กิจกรรม และแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็ก จำนวน 18 แผน
2. การพัฒนาด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน สำหรับเด็กปฐมวัย ที่เรียนจากแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการละเล่นของเด็ก เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนจัดประสบการณ์และหลังจัดประสบการณ์แตกต่างกัน โดยก่อนจัดประสบการณ์อยู่ในปรับปรุง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.50 และหลังจัดประสบการณ์อยู่ในระดับดีโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 โดยมีระดับการพัฒนาค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.25 คิดเป็นร้อยละ 41.67 แสดงให้เห็นว่าความพร้อมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์