ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง

ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561

นายนาค โพลาลัย

Mr. Nak Polalai

บทนำ

การจัดการศึกษาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ได้กำหนดกรอบแนวคิดโดยมีวิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง มีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 1 คนทุกช่วงวัย

มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สู่การปฏิบัติ และเป้าหมายที่ 2 หลักสูตรแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ (สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 : 24-25)

ในการดำเนินการจากกฎหมายด้านการศึกษาและนโยบายที่กล่าวมาคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ดจึงได้กำหนดเป้าหมายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อตอบสนองนโยบายข้างต้น โดยกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในปี 2564 ประชากรผู้รับบริการทั้งในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัย ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ครูและบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล พันธกิจ 1) สนับสนุนประชากรผู้รับบริการในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัยให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) พัฒนาให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล 4) ส่งเสริมผู้เรียนทุกวันสามารถใช้เทคโนโลยี ในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และ5) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตาม หลักธรรมาภิบาล ประเด็นยุทธศาสตร์

1) สนับสนุนประชากรผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) เร่งรัดให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล4) ส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และ 5) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล มีเป้าประสงค์ คือ 1) เพื่อสนับสนุนประชากรผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) เพื่อพัฒนาและเร่งรัดให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล 4) เพื่อส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยี ในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และ 5) เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลโดยมีกลยุทธ์ ดังนี้ 1) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการบริการทางการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง 2) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการบริการทางการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบ และตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานทั้งในระดับชาติและระดับสากล 3) สำรวจความต้องการของสังคม ชุมชนและท้องถิ่นต่อระบบการเรียนการสอน4) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย 5) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะสมรรถนะสู่ความเป็นมืออาชีพ 6) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 7) จัดสรรและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ 8) ส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล มีความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั่งคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และกรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”ของประเทศ

ซึ่งโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ได้กำหนดทิศทางเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ภายในปี 2562 ประชากรในวัยเรียนทุกคนได้เรียนอย่างมีคุณภาพโดยยึดเด็กเป็นสำคัญ ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพ ใช้ภูมิปัญหาท้องถิ่นสู่สากล โดยยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง และมีความเป็นไทย เพื่อให้เด็กเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน” โดยมีพันธกิจคือ 1) จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาให้เด็กกลุ่มอายุย่างเข้าปีที่ 5-6 ในเขตบริการให้ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 ในเขตบริการโรงเรียนให้ได้เข้าเรียนจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน 3) พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 4) ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ 5) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน 6) พัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งมีเป้าหมายภาพรวมตามภารกิจหลัก ดังนี้ 1) เพิ่มอัตราการเข้าเรียนทุกระดับ ทั้งเด็กทั่วไป ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสในเขตบริการ และลดอัตราการออกกลางคันของเด็กนักเรียน 2) ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล 4) ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ 5) สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและ6) พัฒนาสถานศึกษาได้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และมีกลยุทธ์การพัฒนา ดังนี้ 1) สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง 2) พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4) พัฒนาครูและบุคลากร สู่มาตรฐานวิชาชีพ และ 5) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฐมวัยและหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งเป็นแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม และประเทศชาติ

ในปีการศึกษา 2561 ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ยังพบว่า มีประเด็นปัญหา คือ อุปสรรคบางประการที่พบว่าในด้านการบริหารและด้านการจัดการศึกษายังไม่มีกลไกที่ชัดเจน สภาวะผู้นำในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามขอบข่ายทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปของสถานศึกษา เป็นการตอบสนองแนวทางการจัดการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษา และครูที่เป็นกำลังสำคัญไม่เห็นความสำคัญ และคิดว่าเป็นการสร้างงานกิจกรรมขึ้นมาใหม่ ในการบูรณาการเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว แต่งานวิจัยเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านมา พบว่ามีเงื่อนไขปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากงานวิจัยของศรีพร แก้วโขง (2554 : 66) พบว่า ประสบการณ์เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงของครู มีผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัดที่มีหลายขนาดและแต่ละโรงเรียนผ่านการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระยะที่แตกต่างกันจากปัจจัยดังกล่าว อาจส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละโรงเรียน ประกอบกับที่ผ่านมายังไม่มีงานวิจัยใดสะท้อนผลการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาครอย่างชัดเจน นอกจากนั้นประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่จะดำเนินงานที่มุ่งให้เกิดผล เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ตามคุณภาพการศึกษาด้านหลักสูตร และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สถานศึกษาพอเพียงยังไม่ชัดเจนในหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการวัดผลประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับปรียานุช พิบูลสารวุธ (2549 : คำนำ) หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสถาบันการศึกษาและเยาวชน ได้กล่าวถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารการศึกษาว่าควรเริ่มจากในสถานศึกษา ผู้อำนวยการ ต้องบริหารสถานศึกษา งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ งานธุรการ งานสถานที่ เช่น การบริหารบุคคลโดยใช้หลักนี้ ผู้บริหารต้องกระจายงานอย่างเป็นเหตุเป็นผล ใครเก่งด้านไหนมอบหมายงานให้ตรงกับความถนัดความชอบของเขา (put the right man to the right job) ทำอย่างไรที่มอบหมายงานแล้วไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาทะเลาะกัน ทำอะไรต้องไม่ประมาทเสริมสร้างให้มีการรวมกลุ่มกันทำงานอย่างสามัคคี ก็ต้องใช้หลักธรรมความถูกต้อง ความยุติธรรม ความเป็นเหตุเป็นผล ความเด็ดขาด ชัดเจน กระตุ้นให้เกิดขวัญกำลังใจ มีความอดทนความเพียรที่จะร่วมกันทำงานจนบรรลุเป้าหมาย เป็นต้น แต่ในส่วนของผู้บริหารหรือครูอาจเข้าใจผิดว่าการประกาศนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาต้องสร้างงานหรือกิจกรรมขึ้นมาใหม่ ความจริงไม่ใช่แต่เป็นการนำหลักการ กรอบแนวคิด และแนวทางการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานที่ทำอยู่แล้วให้มีความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจนว่าพระองค์ท่านรับสั่งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหรือวิถีชีวิตพอเพียงอย่างไร ที่มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข หมายความว่า อะไรส่งผลต่อการคิด พูด ทำอย่างพอประมาณ อย่างเป็นเหตุเป็นผล และต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยใช้คุณธรรมกำกับความรู้ในการสร้างความพอเพียง ยกตัวอย่าง การบริหารสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา เช่น ถ้าต้องการปรับบรรยากาศแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้งบประมาณไม่บานปลาย จากที่เคยประชุมวางแผนเตรียมการและลงมือดำเนินการก็ลองนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแนวทาง เริ่มตั้งแต่คิดวางแผนว่าจะจัดงานอย่างไรให้ประหยัดแล้วเกิดประโยชน์และ มีความสุขด้วย คิดถึงความคุ้มค่าของทรัพยากร ทุกอย่างที่นำมาใช้ ใช้งานนี้แล้วใช้ประโยชน์อะไรได้อีก เป็นต้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้นำเสริมการยอมรับ เชื่อมั่นศรัทธา สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นการใช้ปัญญา และความแตกต่างของครูของแต่ละบุคคลคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และมาแก้ปัญหาและพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ได้แก่พัฒนาการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ภาวะผู้นำจึงเป็นหัวใจของความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาสู่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จากที่มาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปีการศึกษา 2561 ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร จึงได้ออกแบบพัฒนาวิจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยน พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลสัมฤทธิ์ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ไขปัญหาพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลถึงครูให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียน จึงได้ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำให้การดำเนินงานของครูมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน สะท้อนผลลัพธ์ในเชิงปฏิบัติงานและนโยบายก่อให้เกิดประโยชน์ของผลงานจากการวิจัยอย่างกว้างขวางต่อผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชนอย่างแท้จริง

วิธีการดำเนินการวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีการและขั้นตอนดังนี้

1. เชิญผู้เกี่ยวข้องกลุ่มเป้าหมายชี้แจงรายละเอียดเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินงานและความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อเป้าหมายและความสำเร็จของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2560

2. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการชี้แจงรายละเอียดได้ศึกษาเนื้อหาของกิจกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐาน เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคารปีการศึกษา 2561 แล้วสามารถเข้าถึง เข้าใจให้ความร่วมมือในการทำการวิจัยในบทบาทหน้าที่ ตามกฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นผลกระทบสะท้อนกลับในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการวิจัยครั้งนี้

3. ดำเนินการแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อทราบแนวทางการบริหารสถานศึกษาพอเพียงของผู้บริหาร ตามประเด็นคำถามเป็นรายข้อ จำนวน 21 ฉบับ ได้รับคืนจำนวน 21 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561

4. ดำเนินการแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐาน เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ฉบับ ก่อนการวิจัยในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ได้รับคืนจำนวน 12 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

5. ดำเนินการแจกแบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ฉบับ เกิดขึ้นระหว่างการชี้แจงรายละเอียดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ฉบับ ได้รับคืนจำนวน 12 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ในวันที่ 20 มีนาคม 2562

6. ดำเนินการแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำ

การเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ฉบับ หลังสิ้นสุดการวิจัยในวันที่ 20 มีนาคม 2562 ได้รับคืนจำนวน 12 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

7. ดำเนินการแจกแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 121 ฉบับ ในวันที่ 21 มีนาคม 2562 ได้รับคืนจำนวน 121 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

8. เมื่อผู้วิจัยรับแบบสอบถามกลับคืนหลังสิ้นสุดการวิจัย ทำการตรวจสอบและคัดเลือกแบบสอบถาม พบว่า ได้ฉบับที่สมบูรณ์ทุกฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

9. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ ไปบันทึกข้อมูล ลงในคอมพิวเตอร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูล

ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

10. นำผลการคำนวณมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ต่อไป

สรุปผลการวิจัย

1. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561

พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65 S.D.=0.31) เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1

2. ผลการวิเคราะห์การบริหารภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐาน เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูต่อการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 S.D.= 0.23) เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2

3. การวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร

ปีการศึกษา 2561

พบว่า ผลการประเมินประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการวิจัย ( = 4.27 = 4.91) มีระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูเพิ่มมากขึ้นทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบกันหลังการวิจัย ครูมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3

4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561

พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.89 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.19 แสดงว่า ผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน เมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4

อภิปรายผล

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน

เมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561

ผลการวิจัย พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65 S.D.=0.31) เรียงลำดับจากมาก ไปน้อย ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงปัจเจกบุคคล และ ตามลำดับ แสดงว่า ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้แสดงความคิดเห็นที่มีต่อระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1 ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก ผู้บริหารให้ความสำคัญต่อครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียและผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาพอเพียง และมีพฤติกรรมในขีดความสามารถในการบริหารสถานศึกษาที่ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่มีการบูรณาการสถานศึกษาพอเพียง เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบได้อย่างเต็มความสามารถ และมากกว่าที่ตั้งใจไว้แต่ต้น ส่งผลให้สถานศึกษาพอเพียงได้รับการพิจารณาตลอดเวลา ทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศและโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เกิดจากการบริหารของการมีอิทธิพล เชิงอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญาและการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับฉวีวรรณ จันทร์เม่ง (2552 : 11 – 12) ที่ได้ศึกษาทฤษฎีเชิงระบบ (system approach) ตามแนวคิดของ แคทซ์ (Katz) และคาน (Kahn) มาเป็นขอบข่ายเชิงทฤษฎีของ การวิจัยที่กล่าวว่า องค์การ เป็นระบบ ๆ หนึ่งภายในองค์การซึ่งประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดมิได้ และจะทำงานร่วมกันเป็นวงจร หากส่วนหนึ่งส่วนใดมีปัญหาก็จะมีผลกระทบให้ส่วนอื่นมีปัญหาไปด้วย โดยธรรมชาติของระบบจะต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feed back) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ระบบดำรงอยู่ไปได้ นอกจากนี้ระบบยังมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม (context) ทั้งภายในและภายนอกขององค์กร โดยระบบจะได้รับตัวป้อนจากสภาพแวดล้อม และระบบจะสร้างผลผลิตให้กับสภาพแวดล้อม สถานศึกษาเป็นองค์กรที่มีลักษณะเปิดมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวป้อนที่เป็นปัจจัยนำเข้าในระบบการศึกษาของสถานศึกษา ได้แก่ บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ นโยบายและการจัดการ ซึ่งจะดำเนินการผ่านกระบวนการ การบริหารที่ประกอบด้วยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แนวคิดของการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ผู้บริหารสามารถชักนำให้สมาชิกในองค์กรปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ทิชชี่ และควานา (Tichy and Devanna) ได้อธิบายถึงคุณลักษณะของผู้นำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไว้ ดังนี้ 1) เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change apent) กล้านำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ดีกว่า 2) เป็นคนกล้าและเปิดเผยมีความสุขุม มีจุดยืนเป็นของตนเอง 3) เชื่อมั่นในคนอื่น ทำงานโดยมอบอำนาจให้คนอื่นทำโดยเชื่อว่าคนอื่นก็มีความสามารถ 4) ใช้คุณค่าของเป้าหมายเป็นแรงผลักดัน 5) เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learner) 6) มีความสามารถที่จะเผชิญกับความสลับซับซ้อน 7) เป็นผู้มองการณ์ไกลสามารถ ที่จะทำความหวังเป็นจริง แฮริส (Harris) กล่าวถึง พฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้ 5 ประการ คือ 1) ให้ผู้ตามมีอิสระในการทำงานและส่งเสริมให้ผู้ตามได้มีการพัฒนาตนเอง 2) มีความเป็นมิตรกับผู้ตาม 3) มีความซื่อสัตย์ยุติธรรม และมีมาตรฐานสูงในการปฏิบัติงาน 4) ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือสนับสนุนยกย่อง เปิดใจกว้าง ขณะเดียวกันก็แลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญกับผู้ใต้บังคับบัญชา 5) มีความเชื่อมั่นกระตือรือร้น ตระหนักในศักดิ์ศรีของบุคลากร และมีความภักดีต่อองค์กร บาสและอโวลิโอ (Bass & Avolio) กล่าวถึงพฤติกรรม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ คือ 1) การสร้างบารมีอย่างมีอุดมการณ์ 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) การกระตุ้นการใช้ปัญญา 4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ดำเนินการจัดการเรียนการสอนการนิเทศซึ่งจะทำให้ผลผลิตขององค์กร คือ นักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเป็นไปตามาตรฐานด้านผู้เรียน ในมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. ผลการวิเคราะห์การบริหารภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร

ปีการศึกษา 2561

ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของ

ครูต่อการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 S.D.= 0.23) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารวิชาการ ด้านบริหารงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคคล แสดงว่า ครูมีความคิดเห็นต่อการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร

ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก การบริหารสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ผู้บริหารสามารถปฏิบัติตนและปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมกิจกรรมการบริหารสถานศึกษาตามขอบข่ายของ 4 ด้าน ภายในโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ผู้บริหารพัฒนากระบวนการโดยใช้รูปแบบผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนภารกิจของงานตามหน้าที่และภารกิจตามนโยบายสถานศึกษาพอเพียง ในการนำโรงเรียนก้าวไปสู่ความสำเร็จตามยุทธศาสตร์และพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนได้กำหนดไว้ โดยทั้งนี้มีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารสถานศึกษาทำให้โรงเรียนประสบผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องผู้มีส่วนได้เสียร่วมมือกันดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมนำครูบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมในทุกๆด้าน ได้แก่ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความพึงพอใจ เพื่อให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน เป็นคนดีของครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติให้เป็นที่ยอมรับของสังคมไทยและสังคมโลกเป็นที่ยอมรับของกระบวนการต่างๆทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ซึ่งกระบวนการบริหารได้แก่ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป เพื่อการพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนและผลผลิตที่เป็นผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของเพ็ญนภา ธีรทองดี (2552 : บทคัดย่อ) เรื่อง การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาราชบุรี เขต 2 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความคิดเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งและประเภทของสถานศึกษา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและรายด้านผลการศึกษาปัญหาอุปสรรค และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยการจัดสนทนากลุ่ม พบว่า ในด้านการบริหารงานทั่วไปยังขาดแคลนงบประมาณและขาดวิธีการในการประเมินโครงการ ด้านวิชาการพบปัญหาในการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล ส่วนด้านบุคลากรนั้นยังขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสถานศึกษายังไม่ให้ความสำคัญในการดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และสอดคล้องกับมงคล อินทรโชติ (2552 : (บทคัดย่อ) ก็ได้ศึกษาเปรียบเทียบระดับความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ในภาพรวม พบว่า การบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงาน 4 ด้าน คือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณการบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป มีความสำเร็จอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อเปรียบเทียบ ระดับความสำเร็จในการบริหารจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการให้ชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ศึกษา พบว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมุ่งเน้นการอยู่อย่างมีความสุขภายใต้ขีดความสามารถของบุคคลมีความเข้มแข็ง สมานฉันท์ มีพลังความเข้มแข็ง มีพลังความสามัคคี มีพลังโลกาภิวัตน์ ซึ่งหลักในการพัฒนานั้นจุดเน้นที่สำคัญ คือ พัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ ความรอบคอบ ความรู้เท่าทัน ทั้งนี้การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ นั้น ผู้นำไปประยุกต์ใช้ต้องมีความรู้ มีความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย มีความโปร่งใสในการบริการจัดการ มีความรับผิดชอบ มีความประหยัด ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความโลภ ส่วนการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษานั้นมีวัตถุประสงค์ โดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักพึ่งตนเอง ขยัน อดทน สามัคคี มีการทำงานเป็นหมู่คณะ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ในการนำไปใช้นั้น ต้องมีปัจจัยที่สำคัญที่สนับสนุนเกื้อกูลกัน คือ ความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านชุมชน ท้องถิ่นและผู้ปกครอง การยอมรับ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของตัวนักเรียนเอง

3. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร

ปีการศึกษา 2561

ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการวิจัย ( = 4.27 = 4.91) มีระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูเพิ่มมากขึ้นทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านความประพฤติในการรักษาวินัย และด้านผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ แสดงว่า ครูได้สะท้อนความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของครูจากปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีลักษณะการส่งเสริมความพอใจ ความยินดีสนับสนุน และความเต็มใจปฏิบัติงาน และเมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้t – test พบว่าในการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 หลังการวิจัย ครูมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3 ทั้งนี้อันเนื่องมาจากครูมีความรู้ เข้าถึง เข้าใจ และพร้อมพัฒนาทำให้ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงเกิดผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกันขับเคลื่อนดำเนินงานให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ายึดหลักการมีเหตุผล มีความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันที่ดี และทุ่มเท ศรัทธา มีแรงบันดาลใจจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของการศึกษาภายใต้ความประพฤติในการรักษาวินัยการมีคุณธรรมจริยธรรม ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพของครู ซึ่งในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง มีรายละเอียดตามปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านผลการปฏิบัติงาน หมายถึง การประเมินค่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนมีความสามารถปฏิบัติงานได้เพียงใด โดยพิจารณาจากปริมาณและคุณภาพของงานที่ผู้บังคับบัญชาได้บันทึกไว้ หรือจากการสังเกต และวินิจฉัยตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อเป็นเครื่องประกอบการพิจารณาในผลลัพธ์ภาพความสำเร็จ ของสถานศึกษาพอเพียงความดีความชอบแก่ผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ ที่เกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการวิชาที่สอน มีสื่อ มีกิจกรรมที่สะท้อนผลลัพธ์ภาพความสำเร็จ 2) ด้านความประพฤติในการรักษาวินัย หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่กำหนดให้ข้าราชการควบคุมตนเอง และควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ประพฤติดีปฏิบัติดี ละเว้นการประพฤติในทางไม่ชอบไม่ควรมีพฤติกรรมที่ตั้งอยู่บทเหตุผล ความพอประมาณและมีภูมิคุ้มกันที่ดี ดำเนินชีวิตอย่างมีรากฐานทางวัฒนธรรม และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 3) ด้านคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และเป็นสุภาพชน เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึกรับผิดชอบชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว โดยประการต่าง ๆ เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้วจะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติดี การกระทำดี ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจ ปรากฏเป็นความดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อความดีงาม มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ และเป็นสุภาพชน เป็นต้น ถูกแสดงออกทางจรรยามารยาทการประพฤติปฏิบัติ และการกระทำที่ดี ตามคุณธรรมที่มีในจิตใจนั้น เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน และ4) ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง ประมวลความประพฤติ ข้อบังคับ มารยาทที่ผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง ฐานะของสมาชิกความดีงามรวมทั้งก่อให้เกิดความสงบสุขและความเจริญในตัวคน วิชาชีพ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ในระบบคุณธรรมนำความสามัคคีในหมู่คณะและสังคม อยู่อย่างพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของภิญโญ คชศิลา (2549, หน้า 75)ได้ศึกษา เรื่องภาวะผู้นำของศึกษาธิการอำเภอที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ประสิทธิผลของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับงานวิจัยของภิรมย์ โชติแดง (2549,หน้า 123) ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติเขตการศึกษา 5 ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับสูง

4. ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561

ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.89 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.19 แสดงว่า ผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4 ทั้งนี้อันเนื่องมาจากผู้วิจัย มีเทคนิคการบริหารและรูปแบบการบริหารได้นำมาใช้แก้ไขปัญหาและพัฒนา ทำให้เกิดคุณค่าของความสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยการบริหารการปฏิบัติงานของครูทำให้เกิดระบบการทำงานที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์ ได้แก่ 1) มีกิจกรรมแนะแนวเพื่อสนับสนุนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) จัดกิจกรรมแนะแนวให้นักเรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) นักเรียนได้รับดูแลช่วยเหลือให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ครูให้ความใส่ใจดูแลในการช่วยเหลือนักเรียนให้เข้าถึงเข้าใจพัฒนาตนเองให้ยืนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) นักเรียนได้รับการส่งเสริมกิจกรรม ทำให้นักเรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าการดำรงอยู่อย่างพอเพียง 6) นักเรียนได้เข้าร่วมการจัดตั้งชุมนุม/ชมรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 7) ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนาในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำให้นักเรียนเข้าใจหลักของเหตุผล ความพอประมาณและภูมิคุ้มกันของการใช้ชีวิตทางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม 8) นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 9) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา/พัฒนา สถานศึกษา/ชุมชนด้านเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 10) นักเรียนเห็นคุณค่าของการศึกษาทำให้นักเรียนนำไปใช้ในการพัฒนา

ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพผู้เรียนด้านอื่น ๆ บรรลุเป้าหมายคุณภาพการศึกษา

ที่ตั้งไว้ ครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (ครู) ด้านผลลัพธ์ภาพความสำเร็จอย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดกาญจนา กาบทอง (2552 : 70) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชอบไม่ชอบสิ่งนั้น ความรู้สึกของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ถ้าบุคคลนั้นมีความชอบและเต็มใจร่วมกิจกรรม กิจกรรมนั้นจะประสบผลสำเร็จตามที่หวังไว้ และสอดคล้องกับปริญดา หอมสวัสดิ์ (2555 : 51) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความพึงพอใจไว้ว่า ผู้ปกครองมีความต้องการให้โรงเรียนมีการพัฒนาในด้านวิชาการ หลักสูตร ด้านบุคลากร คุณภาพ ในการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริการนักเรียน ด้านการจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและผู้ปกครองนักเรียนเพื่อที่เด็ก จะได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถ มีการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญาตลอดจนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตลอดไป ซึ่งสอดคล้องกับ สมุทร ชำนาญ (2556 : 268-294) กล่าวถึง กลุ่มทฤษฏีที่เน้นการศึกษาเนื้อหา (Contents theories) เป็นกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ จึงมีการเรียกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีที่เน้นความต้องการ (Need theories of work motivation) เป็นทฤษฎีที่มุ่งศึกษาเพื่อหาคำตอบของมนุษย์แต่ละคนมีความต้องการอะไร ตลอดจนมีความต้องการอยู่ในระดับใด ทฤษฎี ที่เน้น การตอบสนองความต้องการของมนุษย์มีการนำเสนอไว้หลากหลาย ส่วนทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน มีดังนี้ 1) ทฤษฎีความต้องการของ มาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of need) มาสโลว์ มีหลักที่สำคัญเกี่ยวกับแรงจูงใจ โดยเน้นในเรื่องลำดับขั้นความต้องการ เขามีความเชื่อว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการพฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ (Maslow) แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 1.1) ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการปัจจัย 4 เช่น ต้องการอาหารให้อิ่มท้อง เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความร้อน หนาวและอุจจาดตา ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันแดด ฝน ลม อากาศหนาวและสัตว์ร้าย ความต้องการเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน ต้องบรรลุให้ได้ก่อน 1.2) ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) หลังจากที่มนุษย์บรรลุ ความต้องการด้านร่างกาย ทำให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ในขั้นแรกแล้วจะมีความต้องการด้าน ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตนเองเพิ่มขึ้นต่อไป เช่น หลังมนุษย์มีอาหารรับประทานจนอิ่มท้องแล้วได้เริ่มหันมาคำนึงถึงความปลอดภัยของอาหารหรือสุขภาพโดยหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องสารพิษที่ติดมากับอาหาร ซึ่งสารพิษเหล่านี้อาจสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับชีวิตของเขา เป็นต้น 1.3) ความต้องการความรักและการเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นหลังจากการที่มีชีวิตอยู่รอดแล้ว มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว มนุษย์จะเริ่มมองหาความรักจากผู้อื่น ต้องการที่จะเป็นเจ้าของสิ่ง ต่าง ๆ ที่ตนเองครอบครองอยู่ตลอดไป เช่น ต้องการให้พ่อแม่ พี่น้อง คนรัก รักเราและต้องการให้เขาเหล่านั้นรักเราคนเดียว ไม่ต้องการให้เขาเหล่านั้นไปรักคนอื่นโดยการแสดงความเป็นเจ้าของ เป็นต้น 1.4) ความต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น (Esteem needs) เป็นความต้องการ อีกขั้นหนึ่งหลังจากได้รับความต้องการทางร่างกาย ความปลอดภัย ความรักและเป็นเจ้าของแล้ว

จะต้องการการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ต้องการได้รับเกียรติจากผู้อื่น เช่น ต้องการการเรียกขานจากบุคคลทั่วไปอย่างสุภาพให้ความเคารพนับถือตามควรไม่ต้องการการกดขี่ข่มเหงจากผู้อื่นเนื่องจากทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน 1.5) ความต้องการความเป็นตัวตนอันแท้จริงของตนเอง (Self-actualization needs) เป็นความต้องการขั้นสุดท้าย หลังจากที่ผ่านความต้องการความเป็นส่วนตัวเป็นความต้องการที่แท้จริงของตนเอง ลดความต้องการภายนอกลง หันมาต้องการสิ่งที่ตนเองมีและเป็นอยู่ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ แต่ความต้องการในขั้นนี้มักเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องผ่านความต้องการในขั้นอื่น ๆ มาก่อนและจะต้องมีความเข้าใจในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

ผลการวิจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ปีการศึกษา 2561 ส่งผลให้ข้าราชการครูได้รับรับรางวัลครูดีศรีเมืองเกษ จำนวน 2 คน ได้แก่ นายชัยสิทธิ์ แก้วสถียร และนายวิชัย ไข่สังข์ นอกจากนี้นักเรียนยังได้เป็นตัวแทนของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 (ศูนย์เมืองเกษ) เข้าประกวดโครงงานอาชีพนักเรียน ระดับ ชั้นประถมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ในชื่อโครงงานปลาส้มสมุนไพร และมีผลงานทักษะทางวิชาการ จำนวน 36 รายการ ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้เกี่ยวข้อง กับการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร อย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มงคล อินทรโชติ. (2552). การบริหารโรงเรียน

โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

กรุงเทพมหานครเขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สัญญา จารุจินดา. (2551). แนวทางการบริหาร

จัดการในการนอมนำแนวคิดเศรษฐกิจ

พอเพียง สูการปฏิบัติในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธครุศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ระพีพรรณ คณาฤทธิ์. (2554). การบริหาร

สถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปัทมวัลย์ บุญถนอม. (2560). ภาวะผู้นำการ

เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความ คิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. มหาบัณฑิตศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการ

ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.

กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค

โพสต์โดย nakpolalai : [24 ก.พ. 2563 เวลา 07:53 น.]
อ่าน [3910] ไอพี : 183.88.231.3
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,163 ครั้ง
12 วิธีอยู่อย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
12 วิธีอยู่อย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง

เปิดอ่าน 9,719 ครั้ง
วิลล่า เมดิคา พาอัพเดท ดูแลสุขภาพแนวใหม่
วิลล่า เมดิคา พาอัพเดท ดูแลสุขภาพแนวใหม่

เปิดอ่าน 13,340 ครั้ง
เคล็ดลับคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก
เคล็ดลับคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก

เปิดอ่าน 23,447 ครั้ง
ลายมือคนสันโดษ
ลายมือคนสันโดษ

เปิดอ่าน 9,851 ครั้ง
เคล็ดลับเพื่อผิวสวยใสของสาววัย 20+
เคล็ดลับเพื่อผิวสวยใสของสาววัย 20+

เปิดอ่าน 31,561 ครั้ง
กลยุทธ์การสอนในศตวรรษที่ 21 ของสิงคโปร์
กลยุทธ์การสอนในศตวรรษที่ 21 ของสิงคโปร์

เปิดอ่าน 8,112 ครั้ง
กูเกิลทำแว่นวิเศษ
กูเกิลทำแว่นวิเศษ

เปิดอ่าน 21,877 ครั้ง
ไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ ลูกครึ่งไทย-จีน..ทนหวัดนก
ไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ ลูกครึ่งไทย-จีน..ทนหวัดนก

เปิดอ่าน 9,812 ครั้ง
อากาศแบบนี้จะปกป้องผิวหน้าอย่างไรดี?
อากาศแบบนี้จะปกป้องผิวหน้าอย่างไรดี?

เปิดอ่าน 12,129 ครั้ง
กรมสุขภาพจิตเตือน! คนไทยระวังเป็นโรค “ขาดมือถือไม่ได้”
กรมสุขภาพจิตเตือน! คนไทยระวังเป็นโรค “ขาดมือถือไม่ได้”

เปิดอ่าน 14,701 ครั้ง
Flash Drive ปัญหาไวรัสเรื่องใหญ่
Flash Drive ปัญหาไวรัสเรื่องใหญ่

เปิดอ่าน 17,157 ครั้ง
โครงการหลวง 40 ชูไฮไลต์ พืช-ผลไม้ เพื่อสุขภาพ
โครงการหลวง 40 ชูไฮไลต์ พืช-ผลไม้ เพื่อสุขภาพ

เปิดอ่าน 11,744 ครั้ง
ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ฮีโร่เหรียญทองปักกิ่งเกมส์
ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ฮีโร่เหรียญทองปักกิ่งเกมส์

เปิดอ่าน 8,747 ครั้ง
รู้จักเลือก...รู้จักเลี่ยง ไม่เสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง
รู้จักเลือก...รู้จักเลี่ยง ไม่เสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง

เปิดอ่าน 9,013 ครั้ง
เชื้อ "ดื้อยา" อันตรายใกล้ตัว
เชื้อ "ดื้อยา" อันตรายใกล้ตัว

เปิดอ่าน 52,057 ครั้ง
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย
เปิดอ่าน 9,987 ครั้ง
มารู้จัก ทุน"เสมาพัฒนาชีวิต"กันเถอะ
มารู้จัก ทุน"เสมาพัฒนาชีวิต"กันเถอะ
เปิดอ่าน 10,621 ครั้ง
8 วิธีกำจัดขาโต๊ะสนุ้ก
8 วิธีกำจัดขาโต๊ะสนุ้ก
เปิดอ่าน 14,734 ครั้ง
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์
เปิดอ่าน 294,872 ครั้ง
Nouns เอกพจน์/พหูพจน์ (Singular/Plural)
Nouns เอกพจน์/พหูพจน์ (Singular/Plural)

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ