ชื่อเรื่อง การพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ที่เน้นการเรียนรู้ แบบ Active Learning
เรื่อง สุขภาพดีไม่มีขาย แต่สร้างได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางปิยรัตน์ เรืองวงศ์วิทยา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดสื่อสร้างสรรค์ เรื่อง สุขภาพดีไม่มีขาย แต่สร้างได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดสื่อสร้างสรรค์ เรื่อง สุขภาพดีไม่มีขาย แต่สร้างได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง สุขภาพดีไม่มีขายแต่สร้างได้ ให้สูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
(4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครูหลังการใช้สื่อสร้างสรรค์ (5) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดสื่อสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี โดยปีการ
ศึกษา 2562 มีนักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน และชุดสื่อสร้างสรรค์ จำนวน 15 ชุด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการสอนของครู ได้แก่ แบบบันทึกเหตุการณ์ขณะทำการสอนของครู แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน และแบบทดสอบย่อยหลังจากเรียนโดยใช้ชุดสื่อสร้างสรรค์ แต่ละเรื่องและแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของชุดสื่อสร้างสรรค์ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการวิจัยทั้งหมด 3 วงจร ดังนี้ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 5 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 10 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบไปด้วย แผนการเรียนรู้ที่ 11 15 และเมื่อสิ้นสุดในแต่ละวงจรผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสะท้อนผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงชุดสื่อสร้างสรรค์ ในวงจรปฏิบัติการต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบที (ttest) Dependent Samples คำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดสื่อสร้างสรรค์ เรื่อง สุขภาพดีไม่มีขายแต่สร้างได้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.66/88.86 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ชุดสื่อสร้างสรรค์ เรื่อง สุขภาพดีไม่มีขาย แต่สร้างได้ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7357 แสดงว่า ชุดสื่อสร้างสรรค์ ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 73.57
3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดสื่อสร้างสรรค์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
สูงกว่าเกณฑ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดที่โรงเรียนกำหนด โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกคนเฉลี่ย
ร้อยละ 88.86
4. ครูที่ได้ใช้สื่อสร้างสรรค์มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
5. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดสื่อสร้างสรรค์ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด