ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการธนาคารขยะ โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์
สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี
ผู้ศึกษา นางสาวชนม์ณกานต์ แก้วสุริยาภรณ์
ปีที่พิมพ์ 2562
ประเมินโครงการธนาคารขยะ โรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม เกี่ยวกับความเหมาะสม ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยป้อน เกี่ยวกับความเหมาะสมงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร และวิธีดำเนินการตามโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการที่ปฏิบัติจริง 4) เพื่อประเมินผลสำเร็จหรือผลงาน เกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการดำเนินงานโครงการกับวัตถุประสงค์ของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการธนาคารขยะ จำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6จำนวน 509 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 509 คน รวมทั้งสิ้น 1,057 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้สร้างแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ เป็นการประเมินสภาพแวดล้อม การประเมินปัจจัยป้อน การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับความเหมาะสมและสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยป้อน โดยภาพรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานโครงการธนาคารขยะโรงเรียนเทศบาล 4 หนองแคอนุสรณ์ สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และนักเรียน พบว่า บุคลากรร่วมมือกันในการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง มีงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์เพียงพอกับความต้องการของสถานศึกษา จึงทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งมีเอกสาร คู่มือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ แต่ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่มีเวลาในการร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง