ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำ

ชื่อผลงาน รายงานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อผู้รายงาน จักร พิชัย

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

รายงานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสอบถามกระบวนการดำเนินงาน แบบประเมินผลการดำเนินงาน แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากร แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า

1. กระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิม พระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอ แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน (Do) รองลงมาคือ ด้านการวางแผน (Plan) ด้านการนิเทศและติดตามผล (Check) และด้านการปรับปรุงและพัฒนา (Act) ซึ่งมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน (Plan) โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และพบว่า มีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชุดการจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง มอบหมายงานครูผู้สอนให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ เตรียมสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์สนับสนุนการจัด การเรียนรู้ และเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนด้านการดำเนินโครงการ (Do) โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และผลการศึกษาพบว่า มีกิจกรรมสำคัญ 8 กิจกรรม โดยกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ พัฒนาครูและบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา จัดประชุมผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาหลักและแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ จัดทำสื่อการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา วัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ จัดทำโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ และกิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา โดยทุกกิจกรรมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก สำหรับด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล (Check) พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และพบว่า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล ดำเนินการนิเทศและติดตามผล จัดทำเครื่องมือนิเทศและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และประเมินผลการดำเนินงานจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 สำหรับด้านการปรับปรุงและพัฒนา (Act) โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีการวิเคราะห์รายงานผลการดำเนินงานโครงการ และนำผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลมาใช้วางแผนปรับรุงและพัฒนาการดำเนินงาน จัดประชุมเพื่อปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่า นักเรียนเป็นชาวไทยภูเขาทำให้มีปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนขาดความรู้และทักษะในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และผู้บริหารขาดการนิเทศการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2. ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา ครูจัดทำสื่อในการจัดการเรียนรู้ ครูสามารถจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านขุนแม่หยอดสูงขึ้น

3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด พบว่า ในภาพรวมมีอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ การจัด การเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา นักเรียนมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

4. ข้อเสนอแนะ

4.1 ผู้บริหารสถานศึกษาควรนิเทศและติดตามผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาอย่างต่อเนื่อง

4.2 ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการจัดทำโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา

4.3 ควรจัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัด การเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีอย่างมีประสิทธิภาพ

4.4 ควรพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ และทักษะในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

4.5 ควรนำข้อมูลสารสนเทศและผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพ

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบัที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ระบุถึงความมุ่งหมายและหลักการการจัดการศึกษาในมาตรา 6 การจัด การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และกล่าวถึงกระบวนการในการจัดเรียนรู้ในมาตรา 7 ว่าในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ เคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากล รู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเองได้ มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และกำหนดแนวการจัดการศึกษาไว้ใน มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติเพื่อให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ และจัดการเรียนรู้ให้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553 : 3-6)

แผนพัฒนาเด็กและเยวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 เป็นแผนระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2560–2569) เพื่อเชื่อมต่องานพัฒนาใน ช่วงที่ผ่านมาเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจบัน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่ไทยแลนด ์4.0 การเข้าเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซี่ยน การก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และสังคมดิจิทัล เพื่อให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ได้รับการเตรียมพร้อมให้มีสามารถเพื่อก้าวไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฉบับนี้จึงได้จัดทำให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักที่สำคัญของ การพัฒนาประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ที่ได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างสมดุลทั้งในด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เน้น การปฏิบัติ มีความรัก และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ เพี่อขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชมชนซึ่งจะส่งผลทำให้ชุมชนมี ความเข้มแข็ง และพี่งตนเองได้ ครอบครัวและชุมชนเกิดการพัฒนา ทำให้สามารถช่วยเหลือ สนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชน และโรงเรียนไปพร้อมๆ กัน และเพื่อผลักดันให้สถานศึกษาพัฒนาเป็นศูนย์บริการความรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาให้กับผู้ปกครอง ชุมชนและสถานศึกษา หรือองค์กรอื่น ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละที่ สร้างความร่วมมือและเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศ (สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2560 : 1-2)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา พระองค์ได้ทรงดําเนินโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมาเป็นเวลากว่า 30 ปี จนถึงปัจจุบันปันในปีการศึกษา 2562 มีสถานศึกษาเป้าหมายในโครงการตามพระราชดําริที่อยู่ในแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามสังกัดต่างๆ จำนวน 800 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ รวม 50 จังหวัด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ปัจจุบันสภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กต้องเผชิญกับความยากลําบากหลายประการ อาทิเช่น นักเรียนขาดเป้าหมายทางการเรียน ครูมีไม่ครบชั้นและโอนย้ายสูง ครูมีภาระงานด้านการสอนและด้านอื่นๆ มาก ทําให้ไม่มีเวลาเตรียมการสอน ครูบางส่วนขาดประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนมีไม่เพียงพอ” ซึ่งส่งผลให้ การจัดการเรียนรู้ของนักเรียนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำจํานวนมาก รวมทั้งปรากฏให้เห็นว่านักเรียนมีแนวโน้มอ่านไม่ออก เขียนและคิดคํานวณไม่ได้เพิ่มขึ้น มีการออกกลางคันแต่ละปีการศึกษาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีแนวพระราชดําริให้พัฒนาชุดการจัดการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองตอบต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2558 : 1) และทรงมีพระราชดำรัสในวันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พุทธศักราช 2559 แก่ครูและตำรวจตะเวนชายแดนที่ถวายงานความว่า“... เรื่องการศึกษาปรากฏว่าเดิมตั้งแต่ 30 กว่าปีนั้น ได้ตั้งเป้าหมายที่ดีคือให้ประชาชนทุกคนมีความรู้ อ่านออก เขียนได้ ต่อมาการเรียนจบภาคบังคับ ต่อมาก็หวังว่าทุกคนควรจะมีโอกาสได้เรียนในระดับสูงขึ้นไปตามสติปัญญาของตัว หลายคนจบปริญญาตรี ปริญญาโท ต่อไปเห็นหลายคนมีแผนจะศีกษาต่อในระดับปริญญาเอก แล้วออกมาประกอบอาชีพต่าง ๆ ในเวลานี้นอกจากได้เรียนทุกคนแล้วเราต้องเน้นเรื่องคุณภาพการศึกษาอย่างที่เห็นว่าพยายามเน้นทั้งด้านภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิชาทางด้านคณิตศาสตร วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา หรืออื่น ๆ นอกจากนักเรียนแล้วผู้ที่ให้การศึกษาคือครูนั้นก็ต้องปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่าถือว่าเราเป็นครูแล้วมีความรู้ ความสามารถดีกว่า คนอื่น บางเรื่องก็ควรจะศึกษาไปด้วยกัน อย่างปัจจุบันนี้หลาย ๆ แห่งมีสื่อการสอน เช่น มีหนังสือก็ ควรที่จะอ่านศึกษาหาความรู้ หรือมีคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ การเรียนทางไกลอย่างนี้ เป็นต้น ถ้าเรารู้จักค้นหาความรู้ในนั้นไม่ว่าสาขาวิชาใด ก็สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ แล้วก็ต้องฝึกฝนตนเองให้ได้ให้ดีไปพร้อม ๆ กัน ทุกวันนี้หลาย ๆ เรื่องหลาย ๆ วิชานั้นต้องเชื่อมโยงกันให้ได้ อย่างที่ไปเห็นวันหนึ่งคุณครูสาธิตการสอนเรื่องไฟฟ้า ดูแล้วเห็นว่าสอนได้ดีน่าจะเชื่อมโยงได้กับการฝึกอบรมเรื่องปัญหาจากไฟฟ้าที่เราได้รับการอบรมในการอบรมครู อาจจะเชื่อมโยงต่อการฝึกวิชาชีพ เช่น วิชาชีพทางไฟฟ้า ด้านการเรียน ในห้องเรียนหรือการปฏิบัติที่เราปฏิบัติ เช่น เรียนวิชาทางชีววิทยาหริอแม้แต่คณิตศาสตร์ก็อาจจะเชื่อมโยงกับแปลงเกษตรนอกจากที่แปลงเฉย ๆ เราได้ทำเรื่องสหกรณ์ คิดเลขอะไรต่าง ๆ เป็นวิชาความรู้ ทุกอย่างที่จะเชื่อมโยงกันได้...”(สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2560 : 37-38)

โครงการจัดทําสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดทําสื่อที่จะช่วยอํานวยความสะดวกแก่ครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่ประสบปัญหาครูไม่ครบชั้น ครูไม่เพียงพอ หรือครูใหม่ที่มีประสบการณ์ในการสอนน้อย ทั้งนี้เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ การเรียนรู้ของนักเรียน โดยชุดการจัดการเรียนรู้ได้ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดสําคัญ คือ การน้อมนําแนวพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการให้ความช่วยเหลือครูในโรงเรียนที่กําลังประสบปัญหาขาดแคลนครู เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติโดยมีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานการใช้สื่อ และการจัดการเรียนการสอนลักษณะต่างๆ ได้แก่ การใช้สื่อ RIT (Reduced Instruction Time) วิธีการสอนพื้นฐานการอ่าน การเขียน และคัดลายมือ วิธีการสอนโดยการคิดเลขเร็ว และการท่องจํา การพัฒนาชุดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น ซึ่งออกแบบกิจกรรมในลักษณะที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ และพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพสมวัย การพัฒนาชุดการจัดการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นสื่อพื้นฐาน มีความสะดวกสําหรับให้ครูผู้สอนนําไปใช้ในบริบทโรงเรียนของตนเอง โดยชุดการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยโครงสร้างหลักสูตรโครงสร้างของชุดการเรียนรู้ แนวทางการจัดหน่วยการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบบันทึกกิจกรรม แบบฝึกหัด หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียนการสอน สําหรับหน่วยการเรียนรู้นั้นมีการสรุปรายละเอียดตัวชี้วัด การนําเสนอโครงสร้างแผนการจัดหน่วยการเรียนรู้จะอธิบายขอบเขตเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ แนวทางการจัดกิจกรรม แบบบันทึกกิจกรรมและแบบฝึกหัดที่ใช้ โดยจัดเป็นแผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ/เรื่อง ลักษณะเป็นแผนย่อๆ มีหน้าเดียวหรือมากกว่าหนึ่งหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาระการเรียนรู้ที่สอน เพื่ออํานวยความสะดวกให้ครูหรือบุคลากรได้ศึกษาองค์ประกอบของแผนการสอน และสามารถปรับใช้แผนได้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ในชุดการจัดการเรียนรู้ ยังรวบรวมสื่อการเรียนการสอนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่มีรายละเอียดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไว้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถเลือกใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องตามบริบทของตนเองได้อย่างเหมาะสม มีการจัดทําคู่มือการใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ที่นําเสนอข้อมูลภาพรวม แนวคิดหลักการและแนวทางการดําเนินการที่สําคัญมุ่งเน้นการนํากิจกรรมการเรียนรู้ไปปฏิบัติ ให้เกิดผลกับนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนที่ประสบปัญหาขาดแคลนครู ได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ดังนั้นในการใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความคล่องตัวในการใช้งานในระดับชั้นเรียน ครูสามารถศึกษาคู่มือครูและเอกสารประกอบต่างๆ ที่อยู่ในชุดการจัดการเรียนรู้โดยไม่จําเป็นต้องที่จะเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามแนวทางการใช้ชุดการจัดการเรียนรู้จะไม่เน้นการอบรมครู แต่กระบวนการนําชุดการจัดการเรียนรู้ ไปใช้จะได้ผลดี และเกิดประโยชน์กับเด็กนักเรียนมากที่สุดได้นั้นจําเป็นต้องอาศัยระบบการสนับสนุนและการนิเทศติดตามผลจากผู้บริหารสถานศึกษาอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา (สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2558 : 4)

การนำสื่อและชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ "โครงการจัดทำสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี" เพื่อมาใช้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้วางแนวทางในการขยายผลโครงการจัดทำสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ไปยังโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ โดยองค์การค้าของ สกสค. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานในการผลิตหนังสือแบบเรียนและสื่อการเรียนการสอนให้กับกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการตามโครงการจัดทำสื่อ 60 พรรษา คู่มือการสอนสำหรับครู และจัดทำแบบฝึกหัดสำหรับเด็ก ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม 8 กลุ่มสาระ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชาจะมุ่งเน้นในการส่งเสริมการคิดและวิเคราะห์ให้แก่เด็ก สามารถนำสื่อเหล่านี้ไปใช้ และผลิตสื่อเสริมเพื่อการเรียนการสอนได้ในอนาคตเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สอดคล้องกับความต้องการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ครูผู้สอน และโรงเรียนขนาดเล็กให้สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และยังส่งผลถึงคุณภาพทางการศึกษาของเด็กไทย โดยโครงการจัดทำสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันส่งเสริมการสอนวืทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำชุดการจัด การเรียนรู้ จำนวน 5 ชุด คือ ชุดการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชุดการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชุดการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และชุดการจัดการเรียนรู้บูรณาการ โดยชุดการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยแต่ละชุดการจัดการเรียนรู้กำหนดเนื้อหาเป็นหัวข้อ หรือแก่นเรื่องครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีปัญหาครูไม่ครบชั้นหรือครูขาดประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และมีปัญกาด้านคิดคํานวณ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2558 : คำนำ)

โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียนใน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 121 คนที่ตั้งของโรงเรียนเป็นที่ลาดชันและอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ลักษณะทางกายภาพเป็นภูเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี การคมนาคมขนส่งส่วนใหญ่เป็นเส้นทางค่อนข้างยากลำบากโดยเฉพาะฤดูฝน มีเขตบริการครอบคลุม 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 9 บ้านขุนแม่หยอด บ้านป่ากล้วย บ้านแม่ราจี และหมู่ที่ 17 บ้านน้ำตก บ้านยอดไผ่ บ้านห้วยขี้เปอะ สภาพหมู่บ้านและหย่อมบ้านในเขตบริการเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อความหมาย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกข้าว และพืชไร่เป็นหลัก คือ ปลูกข้าวไร่และพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน มีการปลูกพืชไร่อื่น เช่น กะหล่ำปลีและหอมแดง เพื่อขายเป็นรายได้เสริม ทำให้มีฐานะยากจน ไม่สามารถดูแลบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ได้ นักเรียนบางส่วนต้องไปช่วยผู้ปกครองในการประกอบอาชีพ ทำให้มีเวลาในการเรียนไม่เต็มตามเวลา (โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด, 2562 : 8)

จากการศึกษาผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด ในปีการศึกษา2561 พบว่า ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) พบว่า มีค่าเฉลี่ยร้อยละ44.46 มีผลการประเมินในระดับปรับปรุงร้อยละ 12.50 ส่วนผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.32 ซึ่งมีผลการประเมินอยู่ในระดับปรับปรุงร้อยละ 38.88 และผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.69 โดยวิชาภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.46 วิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.58 วิชาคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 33.75 วิชาภาษาอังกฤษมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 28.96 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 29.93 โดยในวิชาภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.70 วิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 28.20 วิชาภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 26.40 และวิชาคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 24.40 โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกวิชา สอดคล้องกับงานวิจัยของ วิทยากร เชียงกูล, 2549 : 89-91) ที่ศึกษาพบว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกวิชา ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ระบุถึงหลักการจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดในการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยจัดเนื้อหาสาระ กิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ ให้เป็นคนคิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น มีนิสัยรักการอ่าน เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553 : 9)

จากความสำคัญและปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาในฐานะเป็นผู้บริหารสถานศึกษาที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานของสถานศึกษาด้านผู้เรียน ที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถทางวิชาการ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถทางวิชาการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุง 2560 มีความสามารถทางวิชาการ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยเฉลี่ยให้สูงขึ้น ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษากระบวนการดำเนินงาน ศึกษาผลการดำเนินงาน และศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการศึกษาทำให้ทราบผการดำเนินงานโครงการ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานโครงการกให้มีประสิทธิภาพ นักเรียนทุกคนให้ได้มีโอกาสได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ มีความสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

2. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัด การเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ขอบเขตของการศึกษา

1. ขอบเขตด้านประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด ในปีการศึกษา 2562 รวมจำนวน 101 คน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1 ครูผู้สอน จำนวน 15 คน

1.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ใช่ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 7 คน

1.3 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 101 คน

1.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 101 คน

2. ขอบเขตด้านเนื้อหา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มุ่งศึกษาผลใน การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยรายละเอียด ดังนี้

2.1 กระบวนการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ กระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพของเดรมมิ่ง ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่

2.1.1การวางแผน (Plan)

2.1.2การดำเนินงาน (Do)

2.1.3การตรวจสอบ (Check)

2.1.4การปรับปรุงและพัฒนา (ACT)

2.2ผลการดำเนินงานโครงการ ได้แก่

2.2.1ผลการดำเนินงาน/กิจกรรมในโครงการ

2.2.2 ผลสำเร็จในการดำเนินงานโครงการ

2.3 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวของ ได้แก่

2.3.1 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ

2.3.2 ความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการ

นิยามศัพท์เฉพาะ

โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ หมายถึง โครงการและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด ประกอบด้วย กิจกรรมสำคัญ 9 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมพัฒนาครูและบุคลากร กิจกรรมจัดประชุมผู้ปกครอง กิจกรรมจัดทำโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาหลัก กิจกรรมจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กิจกรรมออกแบบและจัดทำสื่อการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา กิจกรรมวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และกิจกรรมการนิเทศการจัดการเรียนการสอน

กระบวนการดำเนินงาน หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วย สื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้าน ขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพของเดรมมิ่งใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน (Plan) ด้านการดำเนินงาน (Do) ด้านการตรวจสอบ (Check) และด้านการปรับปรุงและพัฒนา (Act) ในการดำเนินงานโครงการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การวางแผน (Plan) หมายถึง การเตรียมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา ให้เข้าใจอย่างชัดเจน วางแผนการดําเนินงานและอํานวยความสะดวกการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง มอบหมายงานให้ครูผู้สอนอย่างเหมาะสม จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดทําสื่อการเรียนรู้สนับสนุนในการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา เตรียมสื่อ วัสดุและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้ เตรียมกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัด การเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา จัดทํากําหนดการสอนโดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ และวางแผนการจัด ชั้นเรียนให้เหมาะสมกับการใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ ด้วยสื่อ 60 พรรษา

การดำเนินงาน (Do) หมายถึง การดำเนินงาน/กิจกรรมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ การอบรมพัฒนาครูและบุคลากร จัดประชุมผู้ปกครอง จัดทำโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาหลัก จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การออกแบบและจัดทำสื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และการนิเทศการจัดการเรียนการสอน

การตรวจสอบ (Check) หมายถึง การตรวจสอบการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ วางแผนการนิเทศ ติดตามและประเมินผล จัดทำตารางการนิเทศ ติดตามและประเมินผล ดำเนินการนิเทศ ติดตามและประเมินผล และรายงานผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผล

การปรับปรุงและพัฒนา (Act) หมายถึง การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ จัดประชุมเพื่อพัฒนาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) การส่งเสริมให้ครูนำผลการนิเทศและผลการดำเนินงานโครงการไปใช้ในการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานโครงการ หมายถึง ผลสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ ผลการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา และการพัฒนาครูผู้สอนและพัฒนาผู้เรียนที่ร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษา โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ความพึงพอใจ หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ และความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ครูผู้สอน หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2562

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง องค์คณะบุคคลที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการศึกษาที่ไม่ใช่ผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

นักเรียน หมายถึง ผู้ที่กำลังเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2562

ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองและดูแลนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2562

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา

1. ได้ทราบกระบวนการดำเนินงานโ ครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด

2. ได้ทราบผลในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด

3. ได้ทราบความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัด การเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด

4. โรงเรียนบ้านขุนแม่หยอด ได้แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อ 60 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

5. ครูผู้สอนได้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน ได้สื่อการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

โพสต์โดย jug : [22 พ.ค. 2563 เวลา 20:02 น.]
อ่าน [3133] ไอพี : 49.237.22.60
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 50,546 ครั้ง
ประโยชน์ "คาเฟอีน" ในกาแฟ
ประโยชน์ "คาเฟอีน" ในกาแฟ

เปิดอ่าน 10,846 ครั้ง
ทำไมต้องตีเส้นซิกแซ็กก่อนถึงทางม้าลาย
ทำไมต้องตีเส้นซิกแซ็กก่อนถึงทางม้าลาย

เปิดอ่าน 41,685 ครั้ง
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

เปิดอ่าน 44,150 ครั้ง
Verb Tenses (Future Tenses )
Verb Tenses (Future Tenses )

เปิดอ่าน 10,491 ครั้ง
คลิปสะเทือนวงการข่าว! "เตเต้-ปันปัน" นร.ศรีสะเกษ สวมบทผู้ประกาศ เป๊ะ ปังมาก
คลิปสะเทือนวงการข่าว! "เตเต้-ปันปัน" นร.ศรีสะเกษ สวมบทผู้ประกาศ เป๊ะ ปังมาก

เปิดอ่าน 52,209 ครั้ง
อนาคตของนักเรียน: ทักษะแรงงาน รายได้จากการทำงาน และโอกาสจากหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
อนาคตของนักเรียน: ทักษะแรงงาน รายได้จากการทำงาน และโอกาสจากหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

เปิดอ่าน 12,501 ครั้ง
ไส้เดือนดิน
ไส้เดือนดิน

เปิดอ่าน 23,312 ครั้ง
เปิดความหมายคำว่า... พ่อ... กับเรื่องดีๆ ที่น่ารู้ในพยัญชนะตัว พ.ทั้ง 6
เปิดความหมายคำว่า... พ่อ... กับเรื่องดีๆ ที่น่ารู้ในพยัญชนะตัว พ.ทั้ง 6

เปิดอ่าน 584,308 ครั้ง
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์

เปิดอ่าน 15,898 ครั้ง
การรักษาโรคตาแห้ง
การรักษาโรคตาแห้ง

เปิดอ่าน 16,436 ครั้ง
จระเข้เขมือบครูฝึกทั้งเป็น ที่เป็นข่าว
จระเข้เขมือบครูฝึกทั้งเป็น ที่เป็นข่าว

เปิดอ่าน 21,798 ครั้ง
ลายมือเช่นไร คือคนที่จะได้ดีบั้นปลายของชีวิต
ลายมือเช่นไร คือคนที่จะได้ดีบั้นปลายของชีวิต

เปิดอ่าน 10,236 ครั้ง
ทานอาหารช่วยบำบัดความเครียด
ทานอาหารช่วยบำบัดความเครียด

เปิดอ่าน 8,832 ครั้ง
ปลุกพลังเยียวยาตัวเอง ด้วยเคล็ดลับจากแดนอาทิตย์อุทัย
ปลุกพลังเยียวยาตัวเอง ด้วยเคล็ดลับจากแดนอาทิตย์อุทัย

เปิดอ่าน 50,351 ครั้ง
จรรยาบรรณของวิชาชีพ 5 ด้าน 9 ข้อ ที่ครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องจำขึ้นใจ
จรรยาบรรณของวิชาชีพ 5 ด้าน 9 ข้อ ที่ครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องจำขึ้นใจ

เปิดอ่าน 12,866 ครั้ง
ฟังเพลงถูกใจเหมือนร่างกายได้ออกกำลังกาย
ฟังเพลงถูกใจเหมือนร่างกายได้ออกกำลังกาย
เปิดอ่าน 12,348 ครั้ง
วิธีฉีดน้ำหอมที่ถูกวิธี
วิธีฉีดน้ำหอมที่ถูกวิธี
เปิดอ่าน 14,990 ครั้ง
4 ท่าบริหาร เพื่อหน้าท้องเพรียวสวย
4 ท่าบริหาร เพื่อหน้าท้องเพรียวสวย
เปิดอ่าน 75,219 ครั้ง
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
เปิดอ่าน 31,818 ครั้ง
คำศัพท์คุ้นหูที่แปลว่า “ครู” เหมือนกัน แต่ใช้ไม่เหมือนกัน มาดูกันว่า…มีอะไรบ้าง
คำศัพท์คุ้นหูที่แปลว่า “ครู” เหมือนกัน แต่ใช้ไม่เหมือนกัน มาดูกันว่า…มีอะไรบ้าง

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ