ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมTechnology  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
ลองอ่าน"เมื่อเฟซบุ๊คเฉลยปริศนา เพราะอะไรเราจึงไม่มีปุ่มคลิก"dislike"(ไม่ชอบ) ให้พวกคุ
Technology 22 ต.ค. 2557 เวลา 14:01 น. เปิดอ่าน : 7,444 ครั้ง
ลองอ่าน"เมื่อเฟซบุ๊คเฉลยปริศนา เพราะอะไรเราจึงไม่มีปุ่มคลิก"dislike"(ไม่ชอบ) ให้พวกคุ

Advertisement

หากเอ่ยถึงเฟซบุ๊ค คงไม่ต้องตั้งคำถามถึงความนิยมใด ๆ ของเครือข่ายชุมชนออนไลน์แบรนด์นี้อีกต่อไปแล้ว หลังจากมันได้ผงาดเป็น"เครือข่ายทรงอิทธิพล"ของโลก ไปเรียบร้อย ด้วยจำนวนผู้ใช้ทั่วโลกในระดับหลัก 1,200 ล้านคน และเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากในอนาคตข้างหน้า



และสำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊คเป็นประจำ หรืออาจจะเรียกได้ว่า สาวกเฟซบุ๊ค ทั้งหลาย ต่างก็ใช้"สื่อออนไลน์"นี้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มเพื่อนของพวกเขา ในรูปลักษณะเหมือนกัน นั่นคือ โพสต์ข้อความ-คลิกชอบ-โหลดภาพ-แสดงอารมณ์ และแชร์ข้อความ มีเพียงอย่างเดียวที่ยังไม่มี นั่นคือ การคลิก"ไม่ชอบ" โดยที่ผ่านมา การ"ขาดหาย"ของสิ่งนี้ ได้ทำให้เกิดคำถามจากสาวกเฟซบุ๊ค แทบเรียกได้ว่า เกือบจะ 90 เปอร์เซนต์ หรือทั้งหมดด้วยซ้ำ ด้วยข้อสงสัยว่า ก็ในเมื่อเฟซบุ๊คยังมีปุ่ม"ไลค์"ได้ แล้ว"ทำไม"เฟซบุ๊ค ถึงไม่มี"ปุ่ม"dislike"( ไม่ชอบ)เล่า



ว่าไปแล้ว ถึงขณะนี้ ปุ่มไลค์(ชอบ) ได้กลายเป็นสัญญลักษณ์"ยอดนิยม"ของเฟซบุ๊คไปแล้ว ขณะที่ปุ่ม"dislike"ที่ไม่มี ก็กลายเป็นปริศนาทางอินเตอร์เนทมาตลอด ซึ่งช่วงที่ผ่านมา ถึงกับมีสาวกเฟซบุ๊คจำนวนหลายพันคนได้"เข้าชื่อ"เรียกร้องให้เฟซบุ๊ค เพิ่มปุ่มดังกล่าว หรือแม้แต่คิดไปไกลว่า เฟซบุ๊ค น่าจะมีปุ่ม"นิ้วกลาง"ด้วยซ้ำ (ขนาดนั้่นจริงๆ)



เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายเบรต เทย์เล่อร์ อดีตซีอีโอเฟซบุ๊ค ผู้สร้างปุ่ม"คลิกไลค์" ได้กล่าวเฉลยปริศนาเรื่องนี้ว่า ในขณะที่ปุ่มคลิกไลค์ หรือคลิก"ชอบ"เป็นเสมือนการ"ให้อำนาจ"ผู้ใช้เฟซบุ๊ค ได้แสดงออกถึงการเกี่ยวพันด้านต่าง ๆ กับเพื่อนๆ ของเขา ในอีกด้านหนึ่ง เฟซบุ๊ค เห็นว่า มันเป็นเรื่อง"ไม่เหมาะสม"ที่จะให้เฟซบุ๊ค มีปุ่ม"dislike"หรือปุ่ม"ไม่ชอบ"หลังจากที่ทีมงานเฟซบุ๊คได้เคยโต้เถียงกันมาแล้ว โดยทุกฝ่ายต่างล้วนสรุปเห็นพ้องว่า การมีปุ่มไม่ชอบ จะนำมาซึ่ง"ผลด้านลบที่รุนแรงมาก"



นายเบรต บอกว่า เหตุผลที่ทีมงานเฟซบุ๊ค ผลิตปุ่ม"like"ออกมา ก็เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนย่อมต้องการจะแสดงการยอมรับใน"บางสิ่ง" หรือ"บางคน"ที่พวกเขา ชอบ เป็นหลักอยู่แล้ว แต่สำหรับปุ่ม"ไม่ชอบ" ไม่สมควรยิ่งที่นำมาใช้ เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ หากนำมาใช้ มันจะก่อให้เกิดผลในเชิงลบอย่างมากมาย โดยเฉพาะการทำให้เฟซบุ๊คกลายเป็น"สนามรบแห่งการทะเลาะวิวาท"มากกว่า"สนามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน" และในทางปฎิบัติ หากนำปุ่มดังกล่าวมาใช้ มันจะ"ทำลายแนวโน้ม"การโพสต์ข้อความในเชิงสร้างสรรค์ ที่ผู้คนต้องการจะให้ผู้อื่นยอมรับเขาในด้านบวก ในเชิงจิตวิทยา



นอกจากนี้ อีกด้านหนึ่ง การใช้ปุ่ม"dislike"ย่อมจะทำให้ผู้คน มีความรู้สึกไม่ดี หรือเป็นศัตรูต่อกัน หากข้อความของเขาถูกคลิก"ไม่ชอบ"จากเพื่อน หรือบุคคลอื่น ๆ ดังนั้น การคงไว้ซึ่งปุ่ม"like"อย่างเดียว ในเชิงจิตวิทยา รวมทั้งในทางปฎิบัติ จะเป็นการ"บังคับให้ผู้คน แสดงความเห็น หรือความรู้สึกของพวกเขา ออกมาในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ

นายเบรต กล่าวว่า ถ้าเฟซบุ๊คเกิดมีปุ่ม"ไม่ชอบ"นั่นจะทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊คเพิ่มทัศนคติในแง่ลบต่อกัน เพราะผู้คนย่อมรู้สึกไม่ดี เมื่อทัศนะของเขาถูก"ปฎิเสธ"หรือถูก"รังเกียจ"จากการถูกคลิก"ไม่ชอบ"และสุดท้าย บทสนทนาในโพสต์ต่าง ๆ ในเฟซบุ๊ค จะจบลงด้วยการเป็นศัตรูมากกว่าความเป็นมิตร ซึ่งนี่เป็นสิ่งสำคัญที่เราตระหนักว่า อำนาจของปุ่ม"ไม่ชอบ"นั้น มีพลานุภาพด้านลบที่ส่งผลได้อย่างร้ายแรงและรุนแรงมาก ๆ หากเรานำเอามาใช้จริง ๆ



และแม้ว่า ปุ่มคลิก"ชอบ"จะไม่ใช่ปุ่มที่"สมบูรณ์แบบ"เพราะบางครั้งมันไม่ได้แสดงออกถึงอารมณ์แท้จริงของบุคคล แต่การมีปุ่มดังกล่าว ก็มีไว้โดยคำนึงถึง"หลักแห่งมารยาทในเชิงสังคม"บนถนนสื่อสารนาม"เฟซบุ๊ค" เพราะที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า เฟซบุ๊ค ได้กลายเป็นสื่อหรือช่องทางสื่อสารที่ทรงอิทธิพลอยู่ได้ เพราะการวางกลยุทธ์ที่แยบคาย หรือกุศโลบายแห่ง"การกำกับ"การสื่อสารของผู้คน ภายในเครือข่ายชุมชนออนไลน์



โดยเฟซบุ๊คเลือกที่จะ"ลด"และ"สกัด"สารที่จะสร้างบรรยากาศเลวร้ายภายในสังคมเฟซบุ๊ค และต่อตัวผู้ใช้ นั่นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่า ในแง่หนึ่ง เฟซบุ๊คได้ดำเนินบทบาท ในฐานะผู้กำกับบทว่า บทสนทนาใดสมควรมี และบทสนทนาใด ไม่สมควรจะใส่ลงไป!



ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า เฟซบุ๊ค มีหลักการง่าย ๆ ว่า "ถ้าคุณไม่อยากพูดอะไรดี ๆ ก็ไม่ต้องพูดเลยซะดีกว่า"เพราะแน่นอนว่า การพูดเรื่องไม่ดี ย่อมไม่สร้างสรรค์ และนั่นจะทำให้เฟซบุ๊ค กลายเป็น"สังเวียนปะทะคารม"ระหว่างผู้ใช้ มากกว่าสถานที่พูดคุยอย่างผ่อนคลาย สบาย สร้างสรรค์ และก่อให้เกิด"ผลดี"มากกว่า"ผลเสีย" นายเบรตสรุปทิ้งท้าย



ฉะนั้น ถึงประโยคนี้ เราคงจะเข้าใจดีแล้วถึงปริศนาการไร้ปุ่ม"ไม่ชอบ"ของเฟซบุ๊ค และคงไม่มีคนเรียกร้องให้มีปุ่มนี้อีกต่อไป เมื่อเฟซบุ๊ค ได้ตอบอย่าง"ชัดเจน"ขนาดนี้แล้ว จริงหรือไม่ ?

 

ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ตาดีดี ลองดูซิ "กูเกิ้ล" ปรับโลโก้ใหม่ตรงไหน เขาบอกว่ามีการเขยื้อนองศา เพื่อให้สมดุลย์ ?ตาดีดี ลองดูซิ "กูเกิ้ล" ปรับโลโก้ใหม่ตรงไหน เขาบอกว่ามีการเขยื้อนองศา เพื่อให้สมดุลย์ ?
เปิดอ่าน 8,390 ครั้ง

วัฏจักรของเทคโนโลยีวัฏจักรของเทคโนโลยี
เปิดอ่าน 29,642 ครั้ง

สื่ออังกฤษเผย 11 สิ่งที่คุณควรลบออกจากเฟซบุ๊กสื่ออังกฤษเผย 11 สิ่งที่คุณควรลบออกจากเฟซบุ๊ก
เปิดอ่าน 21,533 ครั้ง

นอร์แมน โจเซฟ วู้ดแลนด์ ผู้ร่วมคิดค้น"บาร์โค้ด" เสียชีวิตแล้ว วัย 91 ปีนอร์แมน โจเซฟ วู้ดแลนด์ ผู้ร่วมคิดค้น"บาร์โค้ด" เสียชีวิตแล้ว วัย 91 ปี
เปิดอ่าน 11,859 ครั้ง

ADSL2/2+ADSL2/2+
เปิดอ่าน 14,080 ครั้ง

จับตาอนาคตทีวีไทย กับการเปลี่ยนแปลงจากระบบอนาล็อกสู่ดิจิตอลจับตาอนาคตทีวีไทย กับการเปลี่ยนแปลงจากระบบอนาล็อกสู่ดิจิตอล
เปิดอ่าน 10,162 ครั้ง

กว่าจะมาเป็น "ไอโฟน" จุดกำเนิดและความบังเอิญกว่าจะมาเป็น "ไอโฟน" จุดกำเนิดและความบังเอิญ
เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง

มติ ครม. เห็นชอบลงทะเบียนซิมเติมเงิน-ฟรี Wi-Fi เป็นวาระแห่งชาติมติ ครม. เห็นชอบลงทะเบียนซิมเติมเงิน-ฟรี Wi-Fi เป็นวาระแห่งชาติ
เปิดอ่าน 8,785 ครั้ง

สตอเรจแก้วเก็บข้อมูลได้หลายร้อยล้านปีสตอเรจแก้วเก็บข้อมูลได้หลายร้อยล้านปี
เปิดอ่าน 9,780 ครั้ง

อะโดบีเผยเอเชีย-แปซิฟิกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตสูงสุดในโลกอะโดบีเผยเอเชีย-แปซิฟิกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตสูงสุดในโลก
เปิดอ่าน 8,304 ครั้ง

กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2012กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2012
เปิดอ่าน 10,918 ครั้ง

"กูเกิล"เผยสุดยอดคำค้นปี 2558 "เชือกวิเศษ" "รักนะเป็ดโง่" ติดอันดับดาวรุ่งพุ่งแรง"กูเกิล"เผยสุดยอดคำค้นปี 2558 "เชือกวิเศษ" "รักนะเป็ดโง่" ติดอันดับดาวรุ่งพุ่งแรง
เปิดอ่าน 9,342 ครั้ง

การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งในย่าน UHF การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งในย่าน UHF
เปิดอ่าน 17,049 ครั้ง

ผลวิจัยใหม่พบ "ไวไฟ" อันตรายต่อเด็กกว่าผู้ใหญ่ผลวิจัยใหม่พบ "ไวไฟ" อันตรายต่อเด็กกว่าผู้ใหญ่
เปิดอ่าน 8,314 ครั้ง

กูเกิลบริการแปลภาษาไม่ง้อเน็ตกูเกิลบริการแปลภาษาไม่ง้อเน็ต
เปิดอ่าน 10,462 ครั้ง

ระบบโทรทัศน์ระบบโทรทัศน์
เปิดอ่าน 75,963 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

กูเกิลบริการแปลภาษาไม่ง้อเน็ต
กูเกิลบริการแปลภาษาไม่ง้อเน็ต
เปิดอ่าน 10,462 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ตาดีดี ลองดูซิ "กูเกิ้ล" ปรับโลโก้ใหม่ตรงไหน เขาบอกว่ามีการเขยื้อนองศา เพื่อให้สมดุลย์ ?
ตาดีดี ลองดูซิ "กูเกิ้ล" ปรับโลโก้ใหม่ตรงไหน เขาบอกว่ามีการเขยื้อนองศา เพื่อให้สมดุลย์ ?
เปิดอ่าน 8,390 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
เปิดอ่าน 172,539 ☕ คลิกอ่านเลย

ระวังนะ "ความร้อน" สามารถทำลายข้อมูลใน SSD ได้
ระวังนะ "ความร้อน" สามารถทำลายข้อมูลใน SSD ได้
เปิดอ่าน 11,274 ☕ คลิกอ่านเลย

ADSL ทำงานอย่างไร?
ADSL ทำงานอย่างไร?
เปิดอ่าน 13,817 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีแก้ the dependency service or group failed to start ใน Win7
วิธีแก้ the dependency service or group failed to start ใน Win7
เปิดอ่าน 43,745 ☕ คลิกอ่านเลย

สุดยอด "สุวรรณภูมิ-พารากอน" คว้าแชมป์สถานที่ที่มีคนแชร์รูปผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในปี 2012
สุดยอด "สุวรรณภูมิ-พารากอน" คว้าแชมป์สถานที่ที่มีคนแชร์รูปผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในปี 2012
เปิดอ่าน 10,379 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ลายมือนักบริหาร ต้องมีเส้นอิทธิพล
ลายมือนักบริหาร ต้องมีเส้นอิทธิพล
เปิดอ่าน 29,707 ครั้ง

ต้นสาคู
ต้นสาคู
เปิดอ่าน 48,747 ครั้ง

พลิกโฉม"แผนการศึกษาแห่งชาติ"แผนงานชัด-อ่านง่าย-ใช้ได้จริง
พลิกโฉม"แผนการศึกษาแห่งชาติ"แผนงานชัด-อ่านง่าย-ใช้ได้จริง
เปิดอ่าน 10,450 ครั้ง

แนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางการเรียน ด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย
แนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบภาวะถดถอยทางการเรียน ด้านการอ่านการเขียนภาษาไทย
เปิดอ่าน 5,954 ครั้ง

กินแก้โรค ข้าวสมุนไพรหลากสี
กินแก้โรค ข้าวสมุนไพรหลากสี
เปิดอ่าน 18,581 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ