ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถม

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

นางสาวศิริกมล พุมมา

ครูค.ศ.๑ โรงเรียนบ้านช้างเผือก

โรงเรียนบ้านช้างเผือก

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

บทที่๑

บทนำ

ปัญหาและขอบเขตของปัญหา

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำหนดเหตุผลที่ต้องเรียนวิทยาศาสตร์ว่า วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (K knowledge-based society) ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 1)

การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ทักษะสำคัญในการค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 1)

ในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูผู้สอน พบว่าหากมีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการบรรยาย และเรียนรู้จากตำราที่กำหนดให้เพียงอย่างเดียวจะทำให้นักเรียนขาดความสนใจเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดปรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ เพื่อนำใช้พัฒนาการจัดกิจกรรการเรียนรู้ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างเป็นระบบ และเสนอสิ่งที่ศึกษาด้วยข้อมูลที่ได้จากการทำงานทางวิทยาศาสตร์(สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ๒๕๕๖ : ๑๓ก) การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นการสอนที่ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม เกิดความคิด และลงมือเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อนำมาประมวลหาคำตอบหรือข้อสรุปด้วยตนเอง (ทิศนา แขมมณี, ๒๕๕๗ : ๑๔๑) ดังเช่นงานวิจัยของ สัญญา ศรีคงรักษ์(25๕๘ : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี ที่4 พบว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการรวบรวมและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยคาดหวังว่าผลการดำเนินการครั้งนี้ จะสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และยังเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก ปีการศึกษา 2562สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

ขอบเขตของการวิจัย

1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ปีการศึกษา 256๒ โรงเรียนบ้านช้างเผือก จำนวน ๓๙ คน

2 ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ตัวแปรตาม ได้แก่

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

2. ความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

3 เวลาที่ใช้ในการวิจัย

ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยทดลองสอนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 25๖๒ จำนวน ๓ ชั่วโมง ตามขั้นตอนดังนี้

1. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑0 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๓๙ คน จากนั้นตรวจให้คะแนน แล้วเก็บรวบรวมไว้เป็นคะแนนก่อนเรียน

2. ดำเนินการสอนนักเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ที่จัดทำไว้

3. หลังจากสอนตามแผนที่จัดเตรียมไว้แล้วนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑0 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียน จากนั้นจึงตรวจให้คะแนนแล้วรวบรวมคะแนนไว้เป็นคะแนนหลังเรียน

4. นำแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ จำนวน 10 ข้อ ไปสอบถามนักเรียนแล้วนำมาสรุปผล

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารจากหนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นแนวทางใน การวิจัย ดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

1.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

1.2 รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

2. แรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

2.1 ความหมายแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3.2 ความหมายของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

3.3 หลักการสร้างแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

โดยมีรายละเอียดแต่ละหัวข้อดังนี้

๑. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

1.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

นักวิชาการศึกษาเรียกวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในคำที่ แตกต่างกันไป เช่น การสอนแบบสืบสวนสอบสวน การสอนแบบสอบสวน การสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ การสอนแบบสืบเสาะ การสอนแบบสืบค้น การสอนแบบสืบสอบ เป็นต้น ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้คำว่า “สืบเสาะหาความรู้” ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ดังนี้

ทิศนา แขมมณี (2545: 7) ได้ให้นิยามการจัดการเรียนการสอนโดยเน้น กระบวนการสืบสอบ หมายถึง การดำเนินการเรียนการสอนโดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม เกิดความคิดและลงมือเสาะหาความรู้ เพื่อนมาประมวลหาคำตอบหรือข้อสรุปด้วยตนเอง โดยที่ ผู้สอนช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท. 2546: 34) ได้ กล่าวว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างการใช้ กระบวนการคิดและทักษะต่าง ๆ เพื่อที่จะแก้ปัญหาและคำตอบ ทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ได้

Good (1973: 303) ให้ความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็น เทคนิคหรือกลวิธีเฉพาะประการหนึ่งในการจัดให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างของวิชาวิทยาศาสตร์ โดยกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็นและแสวงหาความรู้โดยการใช้คำถาม และพยายาม ค้นหาคำตอบให้พบด้วยตนเอง เป็นวิธีการเรียนโดยการแก้ปัญหาในกิจกรรมการเรียนที่เกิดขึ้น (Problem-Solving) ซึ่งปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่นักเรียนเผชิญในแต่ละครั้งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการ คิดด้วยการสังเกตอย่างถี่ถ้วนเป็นระบบ ออกแบบการวัดที่ต้องการแยกแยะสิ่งที่สังเกตกับสิ่งที่สรุป ประดิษฐ์คิดค้นตีความหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด การใช้วิธีการอย่างฉลาดสามารถ ทดสอบได้และการสรุปอย่างมีเหตุผล

Simpson and Anderson (1981: 177) ให้ความความของการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ ว่าเป็นวิธีการที่ครูและนักเรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยนักเรียนเป็นผู้ค้นหา ความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็นเพียงผู้แนะนำ ผู้อำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมาย และเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ จากความหมายของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้สรุปได้ว่าการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยครู ต้องเตรียมสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยคอยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้กับนักเรียน

1.2 รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหำความรู้ (5Es)

นักการศึกษาหลายท่านได้กำหนดรูปแบบหรือขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้แตกต่างกัน ดังนี้

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2546: 219-220) ได้แบ่งขั้นตอนในการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ไว้ดังนี้

1. การสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นขั้นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่ สนใจซึ่งเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนหรือเกิดจากอภิปราย ในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจจะมาจากเหตุการณ์ในข่วงนั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่ง เรียนมาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อ ต่าง ๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน

2. การสำรวจและค้นหา (Exploration) เป็นขั้นที่มีการวางแผนกำหนดแนวทาง ในการสำรวจ ตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้หลายวิธี เช่น ท าการทดลอง ท า กิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการสร้างสถานการณ์จำลอง การศึกษาหาข้อมูล จากเอกสารอ้างอิง หรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3. การอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นขั้นการน าข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บรรยาย สร้างแบบจำลองหรือรูปวาด สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้เป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับ 14 สมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ตั้งไว้แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

4. การขยายความรู้ (Elaboration) เป็นขั้นการน าความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยง กับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือน าแบบจ าลอง หรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบาย สถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องอื่นได้มากก็แสดงว่าข้อจ ากัดน้อย ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยง กับเรื่องต่าง ๆ และท าให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

5. การประเมิน (Evaluation) เป็นขั้นการประเมินความรู้ทักษะกระบวนการที่ นักเรียนได้รับและการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท. 2546: 34-36) ได้ กำหนดรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่ สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสนใจหรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจาก การอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้นหรือเป็น เรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนด ประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นที่น่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่าง ๆ หรือเป็นผู้ กระตุ้นด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครู กำลังสนในเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจและนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความ ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้จากประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะ ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจ ตรวจสอบอย่างหลากหลาย

2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือ คำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือ 15 ปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลากหลายวิธี เช่น การท าการทดลอง การทำกิจกรรม ภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจาก เอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการ สำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูลหรือข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บรรยาย สรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ รูปวาด หรือสร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิด การเรียนรู้ได้

4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการน าความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับ ความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อมูลที่สรุปได้ไปใช้อธิบาย สถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อยซึ่งก็จะช่วยให้ เชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้มีความรู้กว้างขวางขึ้น

5. ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ ต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของสถานบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการดำเนินกิจกรรมเป็นวงจรที่ต่อเนื่อง ดังแสดงใน ภาพประกอบ 2 ภาพประกอบ 2 แสดงการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) การสร้างความสนใจ (Engagement) การสำรวจและค้นหา (Exploration) การอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) การขยายความรู้ (Elaboration) การประเมิน (Evaluation)

2.แรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

2.1 ความหมายแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

แรงเสียดทาน (Friction) คือแรงต้านการเคลื่อนที่บนผิวสัมผัสที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ หรือแรงที่ต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุไปบนพื้นผิวสัมผัส ซึ่งส่งผลให้วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่งไปในท้ายที่สุด ดังนั้น แรงเสียดทานจึงมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และมีขนาดขึ้นอยู่กับ ลักษณะของพื้นผิวสัมผัส และ แรงหรือน้ำหนัก ที่กระทำในลักษณะตั้งฉากต่อพื้นผิวดังกล่าว หากแรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัสมีขนาดมากเท่าใดย่อมส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานมากขึ้นเท่านั้น

ประเภทของแรงเสียดทาน จำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

2.1.1 แรงเสียดทานชนิดแห้ง (Dry Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสกัน

ของวัตถุที่มีสถานะเป็นของแข็ง โดยแรงเสียดทานชนิดแห้งสามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ

2.1.2 แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของ

วัตถุ ในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วหยุดนิ่งอยู่กับที่

2.1.3 แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของ

วัตถุ ในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่

ประโยชน์ของแรงเสียดทาน

แรงเสียดทานมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์มายาวนาน ตั้งแต่ยุคสมัยของการริเริ่มจุดไฟ การนำหินมากระทบกัน หรือการนำกิ่งไม้แห้งมาขัดสีเพื่อสร้างประกายไฟ ต่างเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์ของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ ทำให้พลังงานการเคลื่อนที่บางส่วนถูกแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ปัจจุบัน แรงเสียดทานยังคงเป็นตัวแปรสำคัญในการประดิษฐ์และสร้างสรรค์สิ่งของมากมายโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์หรือยานพาหนะต่างๆ ในอดีต มนุษย์มีการนำท่อนไม้ทรงกลมมาใช้แทนล้อหรือการนำท่อนไม้มาประดิษฐ์เป็นล้อเกวียน จนกระทั่งสามารถประดิษฐ์ล้อรถยนต์ในท้ายที่สุด วัตถุทรงกลมเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นผิวและยังใช้แรงเสียดทานให้เป็นประโยชน์ในการหมุนวงล้อไปข้างหน้า เช่นเดียวกับความสามารถในการยึดเกาะบนพื้นผิวสัมผัสที่ทำให้เราบังคับทั้งทิศทางและการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ตามต้องการ ดังนั้น หากโลกของเราปราศจากแรงเสียดทาน สสารและวัตถุต่างๆ รวมไปถึงสิ่งมีชีวิต จะไม่สามารถเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่งลงตามที่ต้องการได้เลย (เอกรินทร์ 2551 : 133 )

3.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถทางสมองด้านต่างๆ ที่นักเรียนได้รับ ประสบการณ์ทั้ง

ทางตรงและทางอ้อมจากการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีนักวัดผลการศึกษาหลายท่านได้ให้ ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้

ทิศนา แขมมณี (2550: 10) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง การ เข้าถึงความรู้ การพัฒนาทักษะในการเรียน อาจพิจารณาได้จากคะแนนสอบที่กำหนดให้ คะแนนที่ได้ จากงานที่ครูมอบหมายหรือทั้งสองอย่าง ศิริชัย กาญจนวาสี (2556: 165) กล่าวว่า ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณ หรือคุณภาพของความรู้ความสามารถ พฤติกรรม หรือลักษณะทางจิตใจ ไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์การเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดขึ้น

3.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดสมรรถภาพทางสมอง ระดับความรู้ ความสามารถและทักษะทางวิชาการของผู้สอบจากการเรียนรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะได้ทราบว่า ผู้สอบมีความรู้อะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด เมื่อผ่านการเรียนไปแล้ว

(อัมพวา รักบิดา, 2549: 28) มีผู้รู้ หลายท่านได้กล่าวถึง ความหมายของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ ดังนี้

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2549: 96) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะและความสามารถทางวิชาการที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว ว่าบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงใด

ศิริชัย กาญจนวาสี (2556: 165) กล่าวว่า แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็น เครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับการวัด และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามเป้าหมายที่ กำหนดไว้ ทำให้ผู้สอนทราบว่า ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ถึงระดับ มาตรฐานที่ผู้สอน กำหนดไว้หรือยัง หรือมีความรู้ความสามารถถึงระดับใด หรือมีความรู้ ความสามารถดีเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนที่เรียนด้วยกัน

3.3 หลักการสร้างแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การสร้างแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้าง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีหลักในการวางแผนออกข้อสอบดังนี้

Ebel and Frisbie (1965: 57- 80 อ้างถึงใน สุดารัตน์ อะหลีแอ, 2558: 39-40)

1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอบ ในการเรียนการสอนอาจมีการสอบหลายครั้ง เช่น ทดสอบย่อยระหว่างเรียน ทดสอบรวมปลายภาคเรียน ทดสอบเพื่อวินิจฉัย ทดสอบเพื่อคัดเลือก เป็นต้น ครูจะต้องกำหนดว่าจะใช้แบบสอบเพี่อจุดมุ่งหมายใด เมื่อไร เพื่อจะได้ออกข้อสอบที่ เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ

2. กำหนดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการเน้น ในการสอบแต่ละครั้งครูจะต้อง กำหนดว่าจะวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยหรือทักษะพิสัย การทดสอบความสัมพันธ์กับ จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน จำนวนข้อสอบในเนื้อหาสาระแต่ละตอนจะต้องสัมพันธ์กับน้ำหนัก ความสำคัญ และเนื้อหาในตอนนั้น ๆ วิธีการที่จะช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายนี้คือ การจัดทำตาราง วิเคราะห์หลักสูตร

3. เลือกรูปแบบข้อสอบ ประเภทของข้อสอบที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของ การสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เช่น พฤติกรรมที่ต้องการวัด ลักษณะเนื้อหาวิชา ธรรมชาติของผู้สอบ เป็นต้น ข้อสอบแต่ละแบบจะมีลักษณะเด่นและลักษณะด้อยแตกต่างกันไป

4. เวลาทีใช้ในการสอบ เวลาที่ใช้ในการสอบขึ้นอยู่กับจุดมุ่งมายในการสอบ เช่น ทดสอบย่อยหรือทดสอบรวม ระดับชั้นของผู้เรียน ธรรมชาติของวิชา โดยทั่วไปเวลาสอบที่มีความ ยาวจะมีค่าความเที่ยงของคะแนนสูงขึ้น

5. กำหนดจุดประสงค์ในการเรียนการสอนที่จะออกข้อสอบ ข้อสอบควรเป็น ตัวแทนของสิ่งที่ได้สอบไปแล้ว แต่ในการสอบบางครั้งนั้น ไม่สามารถที่จะวัดได้ครบทุกจุดประสงค์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกจุดประสงค์ที่สำคัญมาเป็นตัวแทนของสิ่งที่สอนไปแล้วมาสอบวัด

6. ตัดสินใจว่าข้อสอบควรมีความยากง่ายระดับใด ข้อสอบจะมีความยากง่าย ระดับใด ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการใช้แบบสอบ ถ้าต้องการใช้แบบสอบเพี่อวินิจฉัยความบกพร่อง ของนักเรียน หรือถ้าเป็นแบบสอบที่ต้องการใช้ประเมินผลการเรียน ข้อสอบควรมีความยากง่ายปาน กลาง เพื่อให้นักเรียนประมาณครึ่งหนึ่งตอบถูก และนักเรียนอีกครึ่งหนึ่งตอบผิด ทำให้ข้อสอบมี อำนาจจำแนกสูง

7. กำหนดวิธีการตอบแบบสอบของนักเรียน ในบางครั้งแบบสอบจะมีข้อสอบ หลาย ๆ รูปแบบ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ ข้อสอบแบบเติม ข้อสอบแบบถูกผิด ข้อสอบแบบจับคู่ ข้อสอบแบบลงมือปฏิบัติหรือข้อสอบอัตนัย ครูจะต้องกำหนดลักษณะการตอบข้อสอบแต่ละแบบให้

ชัดเจน เช่น ให้ให้ทำในตัวข้อสอบหรือให้ตอบในกระดาษคำตอบ โดยแยกเป็นตอน ไม่ปะปนกัน ทั้งนี้ ครูต้องกำหนดวิธีการตรวจข้อสอบไปพร้อม ๆ กันด้วย เช่น ตรวจด้วยมือหรือตรวจด้วยเครื่อง

8. กำหนดวิธีการจำแนกผลการทดสอบ เมื่อตรวจให้คะแนนเรียบร้อยแล้วจะ แจกแจง และแปรความหมายคะแนนอย่างไร ใช้ระบบอิงเกณฑ์หรืออิงกลุ่ม เป็นต้น

บทที่ 3

วิธีการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยผู้วิจัยได้นำเสนอตามลำดับ ดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

3. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย

4. ขั้นตอนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ปีการศึกษา 256๒ โรงเรียนบ้านช้างเผือก จำนวน ๓๙ คน

3.2 ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ตัวแปรตาม ได้แก่

3.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

3.2.2 ความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.3.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

3.3.2 แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

3.4 ขั้นตอนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยทดลองสอนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 25๖๒ จำนวน ๓ ชั่วโมง ตามขั้นตอนดังนี้

3.4.1 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑0 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๓๙ คน จากนั้นตรวจให้คะแนน แล้วเก็บรวบรวมไว้เป็นคะแนนก่อนเรียน

3.4.2 ดำเนินการสอนนักเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ที่จัดทำไว้

3.4.3 หลังจากสอนตามแผนที่จัดเตรียมไว้แล้วนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑0 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียน จากนั้นจึงตรวจให้คะแนนแล้วรวบรวมคะแนนไว้เป็นคะแนนหลังเรียน

3.4.4 นำแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ จำนวน 10 ข้อ ไปสอบถามนักเรียนแล้วนำมาสรุปผล

3.5 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิเคราะห์ข้อมูลคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้

3.5.1 วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

3.5.2 วิเคราะห์ความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยร้อยละของคะแนนความก้าวหน้า ของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

สำหรับเกณฑ์ในการแปลความหมายของคะแนนความก้าวหน้าของนักเรียนคือ ตั้งแต่ร้อยละ 25 ของคะแนนเต็มถือว่าเป็นความก้าวหน้า ระดับที่น่าพอใจ

3.5.3 วิเคราะห์ความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

สำหรับเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยมีดังนี้

1.00 - 1.49 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด

1.50 - 2.49 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับน้อย

2.50 - 3.49 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับปานกลาง

3.50 - 4.49 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับมาก

4.50 - 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ผลการศึกษา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ผลการศึกษา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) แบบ 2 กลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

คะแนน จำนวนนักเรียน

(N) ("X" ̅)

S.D. ค่าเฉลี่ย

T-score t-test

ก่อนเรียน ๓๙ 3.49 1.22 40.90 32.08

หลังเรียน ๓๙ 8.49 0.96 59.10

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 แสดงไว้ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ "X" ̅ S.D. ระดับความพึงพอใจ อันดับที่

1. นักเรียนพอใจในขั้นการสร้างความสนใจ 4.62 0.67 มากที่สุด 3

2. นักเรียนพอใจในขั้นการสำรวจและค้นหา 4.79 0.41 มากที่สุด 1

3. นักเรียนพอใจในการออกแบบวิธีการทดลองเพื่อสำรวจและค้นหา 4.46 0.6๐ มาก 5

4. นักเรียนพอใจในการนำผลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ได้ 4.44 0.55 มาก 6

5. นักเรียนพอใจในการนำผลจากการวิเคราะห์มาอธิบายได้ 4.38 0.78 มาก 7

6. นักเรียนพอใจในการนำผลจากการสำรวจมาแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกันเพื่อขยายความรู้ 4.54 0.60 มากที่สุด 4

7. นักเรียนพอใจในขั้นการประเมินโดยสามารถสรุปและตรวจสอบความรู้ที่ได้ 4.69 0.57 มากที่สุด 2

8. นักเรียนพอใจที่การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทำให้สามารถตอบคำถามในแบบทดสอบได้ 4.33 0.62 มาก 8

9. นักเรียนพอใจในระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ 4.21 0.57 มาก 10

10. นักเรียนพอใจการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ 4.28 0.60

มาก 9

ความพึงพอใจโดยรวม 4.47 0.62 มาก

บทที่5

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยผู้วิจัยสามารถนำผลการวิจัยมาสรุปได้ ดังนี้

ตอนที่ 1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

จากผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในเรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องแรงเสียดทานและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ประโยชน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร (ฉบับ

ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

สํานักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพชุมนุม

สหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2548). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟ เคอร์

มีสท์

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญญา ศรีคงรักษ์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

สุดารัตน์ อะหลีแอ. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ

สิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึง พอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์มหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). หนังสือเรียนสาระการ

เรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อัมพวา รักบิดา. (2549). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ต่อ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่5. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี).

อับดุลเลาะ อูมาร์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) เรื่องสมดุลเคมี ที่มีต่อ

แบบจำลองทางความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเคชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต (การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) ปัตตานี:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Good, C. V. (1973). Dictionary of education (3 rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Simpson Ronald D. and Anderson Norman D. (1981). Science, Student, and School: A Guide

for the Middle and Secondary School Teacher. New York: John Wiley & Sons

โพสต์โดย ปุ๋ย : [18 ส.ค. 2563 เวลา 11:34 น.]
อ่าน [4402] ไอพี : 1.20.137.156
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 2,998 ครั้ง
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เปิดอ่าน 19,888 ครั้ง
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)

เปิดอ่าน 19,216 ครั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มรดกวัฒนธรรม
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มรดกวัฒนธรรม

เปิดอ่าน 14,174 ครั้ง
21 ตุลาคม วันรักต้นไม้แห่งชาติ
21 ตุลาคม วันรักต้นไม้แห่งชาติ

เปิดอ่าน 8,468 ครั้ง
รายการ "เดินหน้าประเทศไทย" 3 มกราคม 2559 แถลงผลงานกระทรวงศึกษาธิการ
รายการ "เดินหน้าประเทศไทย" 3 มกราคม 2559 แถลงผลงานกระทรวงศึกษาธิการ

เปิดอ่าน 25,042 ครั้ง
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ - Linux

เปิดอ่าน 21,584 ครั้ง
ทฤษฎี 3 องค์ประกอบ
ทฤษฎี 3 องค์ประกอบ

เปิดอ่าน 25,667 ครั้ง
การตัดแต่งต้นไม้
การตัดแต่งต้นไม้

เปิดอ่าน 18,469 ครั้ง
กาแล็กซี่ เกลียวทับทิม
กาแล็กซี่ เกลียวทับทิม

เปิดอ่าน 64,388 ครั้ง
โดเรมี : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
โดเรมี : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน

เปิดอ่าน 53,696 ครั้ง
เคยสงสัยไหมว่า เขาลักลอบตัด"ไม้พะยูง"ไปทำอะไรกัน??
เคยสงสัยไหมว่า เขาลักลอบตัด"ไม้พะยูง"ไปทำอะไรกัน??

เปิดอ่าน 337,861 ครั้ง
สุภาษิตพระร่วง
สุภาษิตพระร่วง

เปิดอ่าน 18,664 ครั้ง
วิธีการลดขนาดภาพ โดยลดขนาดความกว้างของภาพหลายภาพในครั้งเดียว
วิธีการลดขนาดภาพ โดยลดขนาดความกว้างของภาพหลายภาพในครั้งเดียว

เปิดอ่าน 9,219 ครั้ง
นักโภชนาการชี้ อย่าตระหนกกินเนื้อแดง-ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป ก่อมะเร็ง แนะหม่ำหลากหลาย
นักโภชนาการชี้ อย่าตระหนกกินเนื้อแดง-ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป ก่อมะเร็ง แนะหม่ำหลากหลาย

เปิดอ่าน 10,442 ครั้ง
ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!
ถึงเวลา"ยกเครื่อง" สทศ. เรียกศรัทธา...ระบบทดสอบชาติ!!

เปิดอ่าน 27,121 ครั้ง
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555
พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555
เปิดอ่าน 10,474 ครั้ง
กระหึ่มยูทูบ! เพลงต้นกล้าของพ่อ ร้องโดย นักกีฬาทีมชาติไทย
กระหึ่มยูทูบ! เพลงต้นกล้าของพ่อ ร้องโดย นักกีฬาทีมชาติไทย
เปิดอ่าน 15,034 ครั้ง
เคล็ดลับ!! เติมพลังใจคนวัยทำงาน
เคล็ดลับ!! เติมพลังใจคนวัยทำงาน
เปิดอ่าน 8,074 ครั้ง
พ่อแม่สามารถส่งความรู้สึกให้ลูกก่อนเกิดได้
พ่อแม่สามารถส่งความรู้สึกให้ลูกก่อนเกิดได้
เปิดอ่าน 12,177 ครั้ง
รู้ทันแก๊งบัตรเครดิต ขโมยง่ายกว่า ATM
รู้ทันแก๊งบัตรเครดิต ขโมยง่ายกว่า ATM

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ