ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
สภาพการดำเนินงานและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

สภาพการดำเนินงานและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา

จังหวัดอุตรดิตถ์

Operating conditions and educational institution management guidelines according to Sufficiency Economy Philosophy of non-formal education center Thapla District Uttaradit Province

ดรุณี กาบบัว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพการดำเนินงานและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีกรอบแนวคิดในการวิจัยคือ ตามกรอบการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ 1)การบริหารงานวิชาการ2) การบริหารงานงบประมาณ 3) การบริหารงานบุคคล 4) การบริหารทั่วไป

ผู้ให้ข้อมูลหลักในครั้งนี้คือ ครู บุคลากร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลาและ นักศึกษา กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2/2562 จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีผลการศึกษาพบว่า สภาพการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก และด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการจัดดำเนินงานดีที่สุดคือด้านการบริหารบุคลากร รองลงมาด้านการบริหารทั่วไป ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ

แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา คือ 1) สถานศึกษาพัฒนากิจกรรมการเรียนด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกันตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม 2) สถานศึกษาควรให้ครู และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3)สถานศึกษาจัดกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) สถานศึกษาควรประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและผลงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชน ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดี 5) ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และทันสมัย 6) สถานศึกษาควรเชิญวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาให้ความรู้แก่ครู และผู้เรียน และ 7) ส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสำคัญโดยให้ครูและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอย่างเต็มศักยภาพ

Abstract

This study aims to study Operating conditions and school management guidelines according to the philosophy of sufficiency economy of Non-formal and informal education center , Thapla District Uttaradit Province With a conceptual framework for research that is According to the educational institution administration framework in 4 areas: 1) Academic Management 2) Budget Management 3) Personnel Management 4) General Management

The main informants for this time were teachers, personnel, center of non-formal education and informal education, Thapla District, and non-formal education students at the basic education level, Thapla District, Uttaradit Province. The data were analyzed by the frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and the enrollment in semester 2/2563 The study found that Operating conditions according to the philosophy of sufficiency economy Of the Center for Non-formal and informal education, ThaPla District Uttaradit Province, all 4 areas are at a high level. And the area that the respondents commented that the educational institution has the best operating conditions is personnel management. Followed by general management The side with the least average is Budget management

Guidelines for management to the philosophy of sufficiency economy of the non-formal education center Thapla District were 1) Educational institutions developed learning activities on the philosophy of sufficiency economy for learners to think critically solve problems that arise with themselves, families, communities, society. 2) Educational institutions take part teacher and students in planning the learning activities based on the sufficiency economy philosophy. 3) Educational institutions organize study tours and work activities, learning resources, philosophy of sufficiency economy 4) Educational institutions should publicize Disseminate information, news and works of educational institutions to the public. This will give rise to knowledge, understanding, good attitude. 5) Improve and develop curriculum for learners to understanding and good attitude 6) Educational institutions should invite lecturers who are qualified in the philosophy of sufficiency economy to educate teachers and learners and 7) Encourage teachers and learners to create income and expenses accounts.

The researcher suggested that the school curriculum should be developed. And developing learning activities as a priority by allowing teachers and learners to participate in organizing activities to their full potential

บทนำ

ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบันความก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจรายได้ของประชาชนโดยรวมเฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบถึงการศึกษาสาธารณสุข และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของปะชาชนส่วนใหญ่ดีขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ,2540:1) แต่ในขณะเดียวกันความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศยังมีปัญหาอยู่หลายประการ เพราะสังคมไทยจะเปลี่ยนเป็นแบบสังคมเปิดมากยิ่งขึ้น รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาอย่างรวดเร็วและปรับเปลี่ยนจิตใจ ความเชื่อ ค่านิยม ดังเช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนจิตใจ ความเชื่อ ค่านิยม ดังเช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่ต้องการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่เยาวชนอย่างทั่วถึง เพราะการศึกษาจะเป็นเครื่องมือกล่อมเกลาจิตใจให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดี ตระหนักในความสำคัญและจำเป็นในการอยู่ร่วมกันเพื่อความสุขของครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ดังนั้น การจัดการศึกษาจึงเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวและบูรณาการกับชีวิตให้มากที่สุด เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้กับชีวิตประจำวันและสามารถแก้ปัญหาได้จริง สถานศึกษาจึงเป็นชุมชนหนึ่งซึ่งให้ความรู้ ด้านวิชาการ การบริหารและมีทรัพยากรต่าง ๆ โดยมีผู้บริหารซึ่งเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัวร่วมวางแผนดำเนินการให้สำเร็จลุล่วง

ในด้านเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เป็นต้นมา พบว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราสูงในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ 6 (พ.ศ.2504 - พ.ศ.2534) ก่อนที่จะเริ่มชะลอตัวในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 เมื่อการส่งออกและการลงทุนเริ่มชะลอตัว ก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ในปี 2540 และการวางแผนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศหลังจากที่ประเทศเผชิญกับภาวะวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรงในปี 2540 ต่อเนื่องถึงปี 2541 ประเทศไทยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางปฏิบัติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ต่อเนื่องมาจนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เพื่อให้ทุกภาคส่วนสร้างภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ประสบการณ์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในปี 2540 – 2541 ได้ส่งผลให้ภาครัฐและภาคเอกชนปรับตัวในการบริหารความเสี่ยงและสร้างภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ดีได้แก่ การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส รับผิด รับชอบ และตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบดีขึ้น มีการกำกับดูแลวินัยทางการเงินการคลังที่กำหนดกรอบของความยั่งยืนทางการคลัง เป็นแนวปฏิบัติที่ดีขึ้นและฐานะการคลังมีความมั่นคงมากขึ้น และฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง มีการปรับปรุงในเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ให้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น มีการสร้างความเป็นธรรมให้กับกลุ่มต่าง ๆ โดยสามารถคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชนจากการถูกเอารัดเอาเปรียบได้ดีขึ้น และสร้างบรรยากาศของการแข่งขันในตลาดและดำเนินมาตรการสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมีความสะดวกคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น และตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เป็นต้นมาประเทศไทยก็ให้ความสำคัญในการขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระบบโครงข่ายในเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนามากขึ้น มีการตั้งเป้าหมายในการเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาและจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้นตามลำดับ รวมทั้งการที่ทุกภาคส่วน ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาในทุกระดับเป็นวงกว้างมากขึ้นก็ได้ส่งผลให้ ประเทศสามารถผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ หลังจากนั้นได้ดีขึ้น

จากกระแสพระราชดำรัชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2517 มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะสร้างให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ จะทำให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน มิใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่ พอกิน มีความสงบเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเราสามารถพออยู่ พอกินอย่างนี้ได้เราก็จะยอดยิ่งได้” จนเกิดเป็นปรัชญาใหม่ของโลก คือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่พระราชทานแก่พสกนิกรให้มี “ภูมิคุ้มกัน” ในการดำรงชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน และได้พระราชทานพระราชกระแสนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปี จึงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์และในขณะเดียวกันถือว่าเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ให้มีสำนึกคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความพอเพียง มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับความสนใจจากหลายกลุ่มองค์กร (สุเมธ ตันติเวชกุล,2553: 2-3)

รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการมียุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ โดยน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางหลักและวาระสำคัญของชาติ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ที่ว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี รวมทั้งแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ได้กำหนดวิสัยทัศว่า คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุนี้ กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาเพื่อเยาวชน จึงได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา มีขอบข่ายการขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ซึ่งการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นนโยบายสำคัญในการประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนอกห้องเรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำหลักคิดหลักปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการในการบริหารจัดการการเรียนการสอน ตลอดจนประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดความตระหนักและฝังรากลึกภายในตนเองและผู้อื่นอย่างยั่งยืนตลอดไป (เกียงศักดิ์ เจริญวงค์,2550:315-340)

เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับระเทศ โดยเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกินและสามารถพึ่งพาตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อันจะสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และสงคม เช่นผู้คนในชุมชนดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เพราะทุกคนพออยู่พอกิน ตามสมควรแก่อัตภาพไม่อดอยากไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถช่วยเหลือตนเองและยังช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย สมาชิกในชุมชนเกิดความสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เศรษฐกิจชุมชนเกิดความเข้มแข็งเพราะประชาชนมีการประกอบอาชีพ มีรายได้ช่วยลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอก ก่อให้เกิดความสมดุลในทุกๆ ด้าน ทั้งในการดำรงชีวิตของสมาชิกในชุมชน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากภายนอก ก่อให้เกิดความสมดุลในทุกๆ ด้าน ทั้งในการดำรงชีวิตของสมาชิกในชุมชน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจความเจริญก้าวหน้าของสังคม และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ประเทศไทยรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงน้อมนำมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผลมีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิตที่มีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และยึดหลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำ และขับเคลื่อนการเจริญเติบโตจากการเพิ่มผลผลิตภาพการผลิตบนฐานรากการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2529:4) สำหรับการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 -2569) มุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปี ที่จะสามารถต่อยอดในระยะต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยยังคงยึด “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาคนในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ สร้างโอกาสและมีที่ยืนให้กับทุกคนในสังคม ได้ดำเนินชีวิตที่ดีมีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศก็เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพและมีเสถียรภาพ การกระจายความมั่นคง อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนวิถีชีวิต ค่านิยม ประเพณี และวัฒนธรรม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2560:4)

นโยบายและจุดเน้นปีงบประมาณ 2562 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้กําหนดการดําเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์คือ “คนไทยได้รับโอกาส การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จําเป็นในโลกศตวรรษที่ 21” โดยประกอบด้วย ส่วนที่ 1 คือ นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และส่วนที่ 2 ภารกิจต่อเนื่อง ได้แก่ 1) ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ 2) ด้านหลักสูตรสื่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้การวัด และประเมินผล งานบริการทางวิชาการ และการประกันคุณภาพการศึกษา 3) ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4) ด้านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริหรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ 5) ด้านการศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่บริเวณชายแดน 6) ด้านบุคลากรระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 สำนักงาน กศน.,2562:ก)

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมีบทบาทภารกิจในการขับเคลื่อนงานให้ตามนโยบายและจุดเน้นเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์”ซึ่งจะครอบคลุมการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้ง 5 ด้าน คือด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารงานต่าง ๆ โดยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล และเกิดภูมิคุ้มกันแก่องค์กรในการดำเนินชีวิตภายใต้เงื่อนไขความรู้คู่คุณธรรม

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

2. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

วิธีการดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1 ประชากร

ขอบเขตด้านประชากร ได้แก่ ครู บุคลากร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จำนวน 14 คน และ นักศึกษา กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอท่าปลา ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2/2562 จากทั้งหมด 7 ตำบล จำนวน 453 คน รวม 467 คน

2 กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู บุคลากร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลาและนักศึกษา กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2/2562 จำนวน 205 คน ตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ( Krejcie & Morgan อ้างถึงใน ไพศาล หวังพานิชฐ,2553,38) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ

แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 4 ระดับ โดยครอบคลุมการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการ ( Cheek List ) ซึ่งจะถามเกี่ยวกับ สถานะ เพศ อายุ ระดับการศึกษา

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพดำเนินงานของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามทัศนะคติของครู บุคลากร และนักศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้

5 หมายถึง สภาพการดำเนินงานด้านบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด

4 หมายถึง สภาพการดำเนินงานด้านบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก

3 หมายถึง สภาพการดำเนินงานด้านบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง

2 หมายถึง สภาพการดำเนินงานด้านบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับน้อย

1 หมายถึง สภาพการดำเนินงานด้านบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับน้อยที่สุด

ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด (Open Ended Questionnaire) เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะแนวการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามทัศนะคติของครู และนักศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์

2 การสร้างเครื่องมือ

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนดังนี้

1. ศึกษาเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลสร้างแบบสอบถาม

2. ศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการสร้างแบบสอบถาม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาประมวลเพื่อกำหนดเป็นโครงสร้างของแบบสอบถาม ครอบคลุมโครงสร้างตามเนื้อหาที่กำหนด

3. สร้างแบบสอบถามให้ครอบคลุมเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวัดตามนิยามศัพท์

4. ร่างแบบสอบถามเสนอที่ปรึกษาตรวจและนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง เหมาะสมและครอบคลุมเนื้อหาวัตถุประสงค์

5. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วตรวจสอบเพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (Index of Item Objective Congruity : IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางการพัฒนาบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2 ท่าน ดังรายนาม ดังนี้

5.1 นายนิรุจน์ นาสม ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

5.2 นายอำนาจ อินมั่นคง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ กศน.อำเภอลับแล

5.3 นายวินัย ปิ่นอินทร์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

กศน.อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

5.4 นายสมชาย ธรรมใจ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจพอเพียง

ของอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

5.5 นายดนัย อู่ทรัพย์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์ 1 อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

เพื่อพิจารณาความถูกต้องตรงตามเนื้อหาครอบคลุมตรงประเด็น จากนั้นเลือกคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 (Rovinelli and Hambleton.1997 อ้างถึงใน ภัทราพร เกษสังข์. 2548 : 138) มาเก็บรวบรวมข้อมูล

6. นำแบบสอบถามที่ได้ผ่านการปรับปรุงแก้ไขและผ่านการพิจารณาจากที่ปรึกษาแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม (Wording) แล้วนำมาหาค่า IOC (Index of Congruence) ของแต่ละข้อและโดยรวมปรากฏว่าแบบสอบถามที่สร้างขึ้นทั้งฉบับมีค่า IOC เท่ากับ 0.69 แสดงว่าคำถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

7. นำข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะไว้มาปรับปรุงแก้ไข แล้วที่ปรึกษาพิจารณาเพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีความสมบูรณ์มีคุณภาพเหมาะสม เชื่อถือได้ไปดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป

8. นำแบบสอบถามที่ผ่านการหาค่า IOC และปรับปรุงแก้ไข แล้วไปทดลองใช้กับครู และนักศึกษา ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทองแสนขัน จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ปรากฏว่าแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.89 แสดงว่าแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับสูง

9. นำแบบสอบถามมาปรับปรุงและนำมาใช้จริง

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยมีขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

3.1 ขอความร่วมมือจากครู บุคลากร และนักศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

3.2 ผู้วิจัยเก็บและรวบรวมแบบสอบถามคืน และตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ของแบบสอบถาม

3.3 นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

แล้วไปเก็บรวบรวมแบบสอบถาม ได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์กลับคืนมาจำนวน 205 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติดังนี้

1. แบบสอบถามตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ

2. แบบสอบถามตอนที่ 2 ข้อมูลสภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปซึ่งมีลักษณะคำถามเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า ( Rating Scale) วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นรายข้อ โดยใช้เกณฑ์แปลความหมายโดยเทียบกับเกณฑ์ของ เบสท์ (กฤติกา คูศริริรัตน์, 2545:28) และแปลความหมายของระดับค่าเฉลี่ย ตามเกณฑ์ ดังนี้ 5 หมายถึง มีการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุด

คะแนนเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง สภาพบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา อยู่ในระดับ ดีมาก

คะแนนเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง สภาพบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา อยู่ในระดับ ดี

คะแนนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง สภาพบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา อยู่ในระดับปานกลาง

คะแนนเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง สภาพบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา อยู่ระดับ น้อย

คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 1.50 หมายถึง สภาพบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา อยู่ในระดับน้อยที่สุด

3. แบบสอบถามตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ แนวการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามทัศนะคติของครู บุคลากร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลาและนักศึกษา กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นคำถามปลายปิด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัย

การวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา เพศหญิง อายุระหว่าง 15-39 ปี การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

2. ระดับความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก และด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการดำเนินงานดีที่สุดคือด้านการบริหารบุคลากร รองลงมาด้านการบริหารทั่วไป ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ

3. ระดับความคิดเห็นมีต่อสภาพการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ด้านการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการจัดกิจกรรมได้ดีที่สุดคือด้าน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือการพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการดำเนินการสำรวจการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานและความต้องการของผู้เรียนอย่างเหมาะสมเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด การจัดหาสื่อและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหา การจัดการเรียนรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ระดับความคิดเห็นมีต่อสภาพการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ด้านการบริหารงานงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดมา 3 อันดับแรกคือ สถานศึกษามีการบริหารงบประมาณตามความจำเป็นเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือสถานศึกษามีจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานด้านงบประมาณ สถานศึกษามีการสรุปและรายงานการใช้งบประมาณอย่างเป็นปัจจุบันและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรอื่น ๆ ด้วยความพอประมาณ

5. ระดับความคิดเห็นมต่อสภาพการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ด้านการบริหารบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดมา 3 อันดับ คือ สถานศึกษามีการวางแผนงานในการพัฒนาบุคลากรสู่การเรียนรู้ในให้มีความรู้เกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณ และมีคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือสถานศึกษาสร้างความตระหนักให้บุคลากรและผู้เรียนเล็งเห็นประโยชน์ของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักพอประมาณ หลักความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และเงื่อนไขคุณธรรม และ บุคลากรและผู้เรียนมีการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและภาคภูมิใจในตนเอง โดยการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด บุคลากรและผู้เรียนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้อื่นได้โดยยึดหลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีและมีคุณธรรม

6. ระดับความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านการบริหารทั่วไป โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดมา 3 อันดับ คือ สถานศึกษามีอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือสถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักความพอประมาณ สถานศึกษามีการบริหารจัดการอาคารสถานที่ได้อย่างคุ้มค่า และความพอประมาณ และสถานศึกษามีการประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

7. ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา ของ ครู บุคลากร และนักศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนี้ 1)สถานศึกษาพัฒนากิจกรรมการเรียนด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้เรียนรู้จัดคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกันตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม 2)สถานศึกษาควรให้ครู และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3)สถานศึกษาจัดกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4)สถานศึกษาควรประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและผลงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชน ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดี 5)ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และทันสมัย 6)สถานศึกษาควรเชิญวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาให้ความรู้แก่ครู และผู้เรียน และ 7)ส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย

5.7 อภิปรายผล

จากผลการวิจัยการศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา ประเด็นที่ควรนำมาอภิปราย ดังนี้

5.7.1 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการดำเนินงานด้านบริหารโดยภาพรวมอยู่ในอยู่ในระดับมาก และด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการดำเนินด้านการบริหารได้ดีที่สุดคือด้านการบริหารบุคลากร สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ปรียาดา สุขสวาง (2557) ได้ทำการวิจัย การบริหารจัดการการเรียนรู้ตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 พบว่า (1) การบริหารจัดการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับคุณภาพการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร รองลงมา คือ ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ส่วนด้านที่มีคุณภาพการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (2) ผลการเปรียบบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ที่มีต่อการบริหารจัดการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาครวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.7.2 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการดำเนินงานด้านบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมมีสภาพการบริหารงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยปรากฏผลเช่นนี้ สามารถอภิบายได้ดังนี้ สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างเป็นปัจจุบัน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียน ซึ่งหลักสูตรสถานศึกษาจะมีการสำรวจความต้องการของผู้เรียนว่าผู้เรียนต้องการพัฒนากิจกรรมด้านใด และเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เช่น หลักสูตรการปลูกมะม่วงหิมพานต์ หลักสูตรเกษตรธรรมชาติ หลักสูตรปลาซิวแก้ว โดยสอดแทรกความรู้เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงสามารถนำความรู้มาในการพัฒนาอาชีพของตนเองได้ โดยสถานศึกษาได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติให้นักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักศึกษาสามารถนำความรู้ในการปลูกพืชแบบเกษตรธรรมชาติไปปลูกผักจำหน่ายสร้างให้มีรายได้เสริมแก่ครอบครัวได้

5.7.3 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการการดำเนินงานด้านบริหารด้านงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือสถานศึกษามีการบริหารงบประมาณตามความจำเป็นเหมาะสม ผลการวิจัยปรากฏผลเช่นนี้ สามารถอภิบายได้ดังนี้

สถานศึกษามีการบริหารงบประมาณ สถานศึกษามีการวางแผนการใช้งบประมาณและใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับงานวิจัยของ สัญญา จารุจินดา (2551) วิจัยเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการในการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางบริหารจัดการในการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของโรงเรียนประถมศึกษา ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้ง 4 ด้าน คือด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปในสภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนาครูในการงานวิชาการคือ การจัดประชุมทางวิชาการทุกเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ด้านบริหารงบประมาณคือ ส่งเสริมให้ครูมีการวางแผนในการใช้งบประมาณให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง งานบริหารบุคลคือจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูในโรงเรียน ด้านบริหารทั่วไปคือ ส่งเสริมให้ครูทำงานร่มกับชุมชนและหน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง

5.7.4 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการบริหารด้านการบริหารบุคลากร ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีการวางแผนงานในการพัฒนาบุคลากรสู่การเรียนรู้ในให้มีความรู้เกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณ และมีคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือสถานศึกษาสร้างความตระหนักให้บุคลากรและผู้เรียนเล็งเห็นประโยชน์ของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักพอประมาณ หลักความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน และเงื่อนไขคุณธรรม และ บุคลากรและผู้เรียนมีการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและภาคภูมิใจในตนเอง โดยการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด บุคลากรและผู้เรียนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้อื่นได้โดยยึดหลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีและมีคุณธรรม สอดคล้องกับงานวิจัยของสันติอรวรรณา (2551) ได้ศึกษาเรื่อง บทบาทของผู้บริหาร ในการพัฒนาครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายผู้บริหารจัดทำแผนและส่งเสริมสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร ให้บุคลากรมีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของปรียาดา สุขสวาง (2557) ได้ศึกษาเรื่องการบริหารจัดการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีคุณภาพการปฏิบัติสูงสุด คือด้านการพัฒนาบุคลากร รองลงมาคือด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ส่วนด้านที่มีระดับคุณภาพการปฏิบัติต่ำสุดคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

5.7.5 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษามีสภาพการบริหารด้านการบริหารทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่าสถานศึกษาคือ สถานศึกษามีอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีการดำเนินงานได้ดีมากที่สุด รองลงมาคือสถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักความพอประมาณ สถานศึกษามีการบริหารจัดการอาคารสถานที่ได้อย่างคุ้มค่า และความพอประมาณ และสถานศึกษามีการประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาและสภาพการดำเนินงานของสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปดังนี้

1. สถานศึกษาพัฒนากิจกรรมการเรียนด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกันตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม

2. สถานศึกษาควรให้ครู และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. สถานศึกษาจัดกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. สถานศึกษาควรประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและผลงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชน ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดี

5. ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และทันสมัย

6. สถานศึกษาควรเชิญวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาให้ความรู้แก่ครู และผู้เรียน

7. ส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรศึกษารูปแบบทางการบริหารสถานศึกษาตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในศตวรรษที่ 21

2. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ

3. ควรศึกษารูปแบบทางการบริหารสถานศึกษาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอที่ต่างขนาดกัน

บรรณานุกรม

เกียงศักดิ์ เจริญวงค์. (2550,มกราคม). หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาฯ ทำอย่างไร

ให้สัมฤทธิผล. การศึกษาวันนี้ รายสัปดาห์, 7:315-340.

นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

สำนักงาน กศน.2562. กรุงเทพฯ.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2543, มีนาคม-เมษายน). การดําเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนว พระราชดําริ.

ข้าราชการครู. 45(2). หน้า 2-3

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2548). แนวคิดของการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกจพอเพียง. กรงเทพฯ ุ: ธรรมสาร.

สุเมธ ตันติเวชกุญ. (2553). แนวคิดของการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ:ธรรมสาร.

ไพศาล หวังพานิช. (2546). การวัดผลการศึกษา.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560).แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ:สำนักนายกรัฐมนตรี

สํานักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ตุลาคม 2540). “กรอบแนวคิดความอยูดี มีสุข,” ่

จดหมายข่าวกองการประเมินผลการพัฒนา. 1 (1) : 1 - 12.

โพสต์โดย ดรุณี : [20 ม.ค. 2564 เวลา 17:30 น.]
อ่าน [3128] ไอพี : 171.6.107.98
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 30,445 ครั้ง
ตำนานเมืองสุรินทร์
ตำนานเมืองสุรินทร์

เปิดอ่าน 12,329 ครั้ง
สลัดผักดีกับสุขภาพจริง แต่ต้องกินให้ถูกวิธีด้วยเช่นกัน
สลัดผักดีกับสุขภาพจริง แต่ต้องกินให้ถูกวิธีด้วยเช่นกัน

เปิดอ่าน 21,002 ครั้ง
ข่าวดีของบรรดาคนศีรษะล้านทั้งโลก ยาโรคต้อหินกลายเป็นยาปลูกผมได้
ข่าวดีของบรรดาคนศีรษะล้านทั้งโลก ยาโรคต้อหินกลายเป็นยาปลูกผมได้

เปิดอ่าน 9,294 ครั้ง
1 ปี "สตีฟ จ็อบส์" จากไป
1 ปี "สตีฟ จ็อบส์" จากไป

เปิดอ่าน 18,880 ครั้ง
แชร์ว่อนเน็ต "บ้านหนูบ่ได้บ้านนอกเด้อ" โดยสาวสวย รักและภาคภูมิใจบ้านเกิด
แชร์ว่อนเน็ต "บ้านหนูบ่ได้บ้านนอกเด้อ" โดยสาวสวย รักและภาคภูมิใจบ้านเกิด

เปิดอ่าน 13,045 ครั้ง
ปัญหาศึกษาไทยใหญ่กว่าฟรี12 หรือ15 ปี
ปัญหาศึกษาไทยใหญ่กว่าฟรี12 หรือ15 ปี

เปิดอ่าน 20,156 ครั้ง
วิธีลดต้นแขนแบบง่าย ๆ ได้ผลชัวร์
วิธีลดต้นแขนแบบง่าย ๆ ได้ผลชัวร์

เปิดอ่าน 19,910 ครั้ง
ความลับของ "คนรวย"
ความลับของ "คนรวย"

เปิดอ่าน 9,144 ครั้ง
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557

เปิดอ่าน 14,306 ครั้ง
ชมคลิปยอดฮิต"เด็กพี่สาวร้องไห้โฮ ไม่อยากให้น้อง"โต"
ชมคลิปยอดฮิต"เด็กพี่สาวร้องไห้โฮ ไม่อยากให้น้อง"โต"

เปิดอ่าน 11,823 ครั้ง
อยากอยู่ร้อยปี ต้องสร้าง 10 นิสัยสุขภาพดี
อยากอยู่ร้อยปี ต้องสร้าง 10 นิสัยสุขภาพดี

เปิดอ่าน 12,749 ครั้ง
"เด็กรุ่นใหม่" ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด?
"เด็กรุ่นใหม่" ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด?

เปิดอ่าน 9,246 ครั้ง
คลิปช้างกินไอโฟน
คลิปช้างกินไอโฟน

เปิดอ่าน 13,542 ครั้ง
ควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างไร
ควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างไร

เปิดอ่าน 13,465 ครั้ง
ดูโอ้ลูกเสือไทย ดีดกีตาร์โชว์เพลง BALADA เป๊ะมาก ๆ
ดูโอ้ลูกเสือไทย ดีดกีตาร์โชว์เพลง BALADA เป๊ะมาก ๆ

เปิดอ่าน 5,313 ครั้ง
ตั๋วเครื่องบินไประนอง ดูโปรดี ๆ พร้อมเที่ยวบินราคาถูก
ตั๋วเครื่องบินไประนอง ดูโปรดี ๆ พร้อมเที่ยวบินราคาถูก
เปิดอ่าน 23,464 ครั้ง
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 ส.ค.
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 ส.ค.
เปิดอ่าน 18,793 ครั้ง
ระกำ
ระกำ
เปิดอ่าน 15,696 ครั้ง
1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
เปิดอ่าน 619 ครั้ง
ร่มไม้เท้า สินค้ากันฝนอเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุ
ร่มไม้เท้า สินค้ากันฝนอเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ