1.ที่มาและความสำคัญของนวัตกรรมที่นำเสนอ
โรงเรียนบ้านโทกน้ำกัด ตั้งอยู่ 326 หมู่ 3 ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เปิดทำการเรียนการสอน ชั้นอนุบาล 2 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2494 จนถึงปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน นางสาวสกุณา นันธะชัยเดชากุล
จากผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโทกน้ำกัด ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า มีปัญหาสำคัญเกิดขึ้นกับโรงเรียนหลายประการ เช่น มีครูไม่ครบชั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้ไม่สามารถพัฒนาเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีคุณวุฒิหรือมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการสอนไม่ครบทุกกลุ่มสาระ ผู้ปกครองขาดความมั่นใจที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ซึ่งสภาพปัญหาที่กล่าวมามีผลต่อสภาพจิตใจ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ขาดความมั่นใจในการจัดการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
จากเหตุผลที่มาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กด้วยรูปแบบ School CHUMS Winner เพื่อ ปิดจุดด้อย เสริมจุดเด่น ให้การบริหารโรงเรียนสัมฤทธิ์ผลได้นั้น ต้องมาจากพื้นฐานการมีส่วนร่วมของคณะครู บุคลกร ผู้ปกครอง ชุมชนในทุกๆ ด้าน ทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาสภาพแวดล้อม และการสนับสนุนงบประมาณ เพราะในชุมชนมีทรัพยากรต่างๆ ที่พร้อมจะให้การสนับสนุนตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนจึงใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ภาคีเครือข่าย ด้วยการระดมทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาคส่วนด้านประชาชน หน่วยงาน และองค์กรภายในชุมชน ตลอดจนสถาบันการจัดการศึกษาให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา อันจะส่งผลให้โรงเรียนจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
2.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1.พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กด้วยรูปแบบ School CHUMS Winner ให้เต็มตามศักยภาพ . 2.ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาชาติ ที่กำหนด
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินการ
3.1.ร่วมวิเคราะห์ปัญหา
3.2.ร่วมกันลงประชามติ โดยการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู ผู้ปกครอง และองค์กรในท้องถิ่น เพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาสถานศึกษา
3.3. ร่วมปฏิบัติตามแผนด้วยระบบทีมงาน รวมถึงประสานงานกับเครือข่ายทางการศึกษาจากทุกภาคส่วน
3.4. ร่วมประเมินผล ติดตามและตรวจสอบ ตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
3.5.ร่วมปรับปรุงการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กด้วยรูปแบบ School CHUMS Winner
School
C= Connection /check
H= Happy /Home students
U= Umbrella
M = Man / Method/ management/ Money /Material/ Machine
S = System / Student /Success
W= Winner
S = School . โรงเรียนบ้านโทกน้ำกัด ตั้งอยู่ 326 หมู่ 3 ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เป็นโรงเรียนขนาดเล็กจำกัดด้วยงบประมาณ และครูไม่ครบชั้นเรียน เปิดทำการเรียนการสอน ชั้นอนุบาล 2 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2494 จนถึงปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน นางสาวสกุณา นันธะชัยเดชากุล
C= Connection / check
มีการประสานงานกับเครือข่ายทางการศึกษา อาทิเช่น โรงเรียนในกลุ่มตำบลนครเจดีย์ ศึกษานิเทศก์ จาก สพป.ลำพูนเขต 1 ตลอดจนการมีส่วนร่วมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอบต.นครเจดีย์ โรงพยาบาลป่าซาง ชุมชน ร้านค้า ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการหมู่บ้าน คอยให้คำปรึกษา ตรวจสอบ แนะนำ ให้ความร่วมมือ สนับสนุน การบริหารจัดการ ตลอดจนระดมทรัพยากร เพื่อจ้างครู และเพื่อบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ
H= Happy /Home
สร้างความสุข ความรักความอบอุ่นให้กับผู้เรียนเหมือนบ้าน ส่งผลให้เรียนรู้อย่างมีความสุขและเกิดทักษะชีวิต ทุกด้าน ได้แก่ Head / Heart /Hand /Heath
U= Umbrella
เป็นร่มเงา ที่ร่มรื่น สร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากร ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง
M= Man / Method/ management/ Money /Material/ Machine
บริหารจัดการโดยใช้ปัจจัยให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ผู้เรียน อย่างสูงสุด
S = System / Student /Success
บริหารจัดการด้วยระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามวงจร เดมมิ่ง P D C A ส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามศักยภาพ ตามมาตรฐานหลักสูตร สถานศึกษา และมาตรฐานชาติ ที่กำหนด
W= Winer
คณะครู บุคลากร ในสถานศึกษา ตลอดจน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือ ร่วมใจ เกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน ในผลงานและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการสถานศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความสุข มีทักษะชีวิตเต็มตามศักยภาพ ให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างต่อไป
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4. 1.สถานศึกษา ได้พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กด้วยรูปแบบ School CHUMS Winner ให้เต็มตามศักยภาพ ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการวิเคราะห์ปัญหา และลงประชามติ ร่วมวางแผนพัฒนาสถานศึกษา เช่นได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการปรับปรุงอาคารสถานที่ ปรับภูมิทัศน์ ของโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน ได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรในท้องถิ่นมาสอน ภูมิปัญญาชาวบ้านให้กับนักเรียน ได้รับสนับสนุน ด้านประมาณ สื่ออุปกรณ์ที่ใช้จัดการเรียนการสอน ตลอดจนได้รับมอบหนังสือ เครื่องแต่งกาย งบประมาณสนับสนุนอาหารกลางวัน รวมถึงได้รับทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนเรียนดี มีความประพฤติดี
4.2. ผู้เรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาชาติ ที่กำหนด ได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ได้รับสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอน ได้รับหนังสือ รวมถึงเครื่องแต่งกาย เสื้อกันหนาว รองเท้า อาหารกลางวัน ทุนการศึกษา ได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากวิทยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่น เช่น การทำขนม ทำไม้กวาดดอกหญ้า ทำบายศรี ทำลูกประคบสมุนไพร การเล่นดนตรีพื้นเมือง และ การเต้นแอโรบิคมวยไทย
4.3. ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับความภาคภูมิใจ ได้รับเกียรติบัตรจากการสร้างสรรค์ผลงาน ด้านต่าง ๆ
4.4. ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการได้รับบริการจากโรงเรียน และให้ความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนทุกเรื่อง
5. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1 ความร่วมมือของทุกฝ่าย อย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว กลมเกลียวสามัคคีกัน ทั้งผู้บริหารโรงเรียน คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรในท้องถิ่นตลอดจนเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน คณะครู มีอยู่ในระดับมาก เนื่องเพราะต้องการให้โรงเรียนเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปในด้านที่เป็นประโยชน์ ต่อนักเรียน ชุมชน และผู้ปกครองให้มากสุด
5.2.ความตั้งใจมุ่งมั่นของคณะทำงานที่มีต่องานที่ได้รับมอบหมาย
5.3. การดำเนินงานด้วยความโปร่งใส และจริงใจ
5.4 .การมอบหมายหน้าที่การงานให้ผู้ร่วมงานได้ปฏิบัติ ทุกคนได้ทำงาน ได้มีส่วนร่วมต่อความสำเร็จ และเกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน
5.5. การให้เกียรติซึ่งกันและกัน รู้จักผ่อนหนัก ผ่อนเบา ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่เอารัดเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน
5.6 .ผู้นำมีเป้าหมายชัดเจน มีระยะเวลาดำเนินงานที่แน่นอน สามารถปฏิบัติงานจนประสบผลสำเร็จ
5.7. การประชาสัมพันธ์งานที่จะดำเนินการ การประสาน ขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ที่วิเคราะห์ ว่ามีศักยภาพสามารถส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนได้
6.บทเรียนที่ได้รับ
จากการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ที่เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้ได้นวัตกรรมการบริหารโรงเรียน ขนาดเล็กด้วยรูปแบบ School CHUMS Winner ปิดจุดด้อย เสริมจุดเด่น ส่งเสริม เป็นเอกลักษณ์ ของโรงเรียนและชุมชนซึ่งได้เกิดกระบวนการดำเนินงานบริหารด้วยรูป ดังนี้ ร่วมวิเคราะห์ปัญหา ร่วมกันลงประชามติ โดยการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู ผู้ปกครอง และองค์กรในท้องถิ่น เพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาสถานศึกษา ปฏิบัติตามแผนด้วยระบบทีมงาน รวมถึงประสานงานกับเครือข่ายทางการศึกษาจาก ทุกภาคส่วน ประเมินผล ติดตามและตรวจสอบ ตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปรับปรุงการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล โดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ถือประโยชน์ของนักเรียนเป็นเป้าหมาย ส่งผลให้หน่วยงาน ผู้ปกครอง ชุมชน สมาคม องค์กร พ่อค้า ประชาชน ต่างเข้ามาให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นอย่างดี
ข้อพึงระวังในการดำเนินงาน
1. การมอบงานให้คณะทำงาน ควรมอบให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความถนัด และความรับผิดชอบ
2. ผู้นำควรมีการกำกับติดตาม การดำเนินงาน และส่งเสริมให้ขวัญกำลังใจผู้ร่วมงาน อย่างสม่ำเสมอ
3. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ซ้ำซ้อนกัน เพราะจะทำให้ผู้ร่วมงาน และคณะทำงาน ให้ความร่วมมือน้อยลง ส่งผลให้กิจกรรม ที่ดำเนินการ ไม่ประสบผลสำเร็จ