โครงการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินปฏิกิริยาตอบสนองของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ 2) เพื่อประเมินการเรียนรู้ของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ 3) เพื่อประเมินพฤติกรรมดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้ปฏิบัติการสอนของโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) ปีการศึกษา 2562 ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 36 คน โดยใช้เวลา 1 ปีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปฏิกิริยาตอบสนองของครูผู้ปฎิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.887 แบบทดสอบการเรียนรู้ของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 แบบประเมินพฤติกรรมการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 และแบบประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินปฏิกิริยาตอบสนองของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า
มีความพึงพอใจต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์และอื่น ๆ อยู่ในระดับพึงพอใจมากมีค่าสูงสุด รองลงมาคือ ด้านเวลาและเนื้อหาสาระ และด้านวิทยากร ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายข้อในแต่ละด้าน พบว่า ด้านเวลาและเนื้อหาสาระ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานได้ รองลงมา ความรู้ที่ได้รับตรงตามความต้องการและเป็นประโยชน์ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กำหนดการในการประชุมเชิงปฏิบัติการเหมาะสม ด้านวิทยากร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การเชื่อมโยงเนื้อหาไปสู่การปฏิบัติ รองลงมา คือ การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การตอบข้อซักถามและการให้คำปรึกษา และด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์และอื่น ๆ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ เอกสารประกอบ การประชุมเชิงปฏิบัติการ มีความเหมาะสม รองลงมา คือ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สื่อที่ใช้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ
2. การประเมินการเรียนรู้ของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการมากกว่าก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และผลคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของผู้เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งยังพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนพัฒนาการ หลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรม
3. การประเมินพฤติกรรมดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งประเมินจากแบบรายงานการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้ปฏิบัติการสอน พบว่าคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งถือว่าผ่านตามเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ แสดงว่าครูผู้ปฏิบัติการสอนสามารถดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานได้ครบทุกคน
4. การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดต่อโรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) ซึ่งประเมินจากรายงานผลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน ที่ครูผู้ปฏิบัติการสอนจัดทำขึ้น จำนวน 36 เรื่อง พบว่า เมื่อนำมาพิจารณาเพื่อให้คะแนนตามเกณฑ์ ครูผู้ปฏิบัติการสอนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป ครบทุกคน
คำสำคัญ : การประเมินผลการพัฒนาครูผู้ปฏิบัติการสอน ปฏิกิริยาตอบสนองของครูผู้ปฏิบัติการสอน
เข้าร่วมโครงการ การเรียนรู้ของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ พฤติกรรมดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ ผลลัพธ์ที่เกิดต่อโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี)