รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MTPKS LIVES School
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ MTPKS LIVES School สู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะ
ชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๗ มีวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ๑) เพื่อให้โรงเรียนมัธยมป่ากลางมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสา ของนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ๒)เพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง ให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสา โรงเรียนได้พัฒนานวัตกรรมในระยะเวลา ๓ ปีการศึกษา และดำเนินการพัฒนาเป็น ๒ ตอนคือ ตอนที่ ๑.การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ MTPKS LIVES School เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง ประกอบด้วย การศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ/จำเป็น การร่างรูปแบบและการตรวจสอบรูปแบบ และตอนที่ ๒. เป็นการทดลองใช้และประเมินทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง
สรุปผลการพัฒนา
๑) โรงเรียนมัธยมป่ากลางมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ด้วยรูปแบบ MTPKS LIVES School พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง
๒) ผลการประเมินความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา คณะกรรมการ และนักเรียนที่มีต่อทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง ใน ๖ ด้าน คือ การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การใฝ่เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การมีทักษะในการหลีกเลี่ยง ป้องกันภัย อันตรายจากสารเสพติด และพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์ การปรับตัว การจัดการกับอารมณ์และความเครียดของตนเองได้ การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม การมีเจตคติที่ดี และมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต ผลการประเมิน อยู่ในระดับดีและผล การประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบ MTPKS LIVES School สู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง ของผู้บริหารและคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน และคณะกรรมการสภานักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบ MTPKS LIVES School โรงเรียนเพื่อชีวิต สู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และมีจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง ภาพรวมอยู่ในระดับดี
๓) ผลงานเชิงประจักษ์ที่โรงเรียน และนักเรียนได้รับ
๑. รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันการเล่านิทาน ประเภทบกพร่องทางสติปัญญา ม.๑-ม.๓ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยีของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๖๘ ระดับชาติ ณ จังหวัดพะเยา
๒. รางวัลชนะเลิศ การประกวดการขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทบกพร่องทางสติปัญญา ม.๑-ม.๓ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยีของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๖๘ ระดับชาติ ณ จังหวัดพะเยา
๓. รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันการวาดภาพระบายสี ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยีของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๖๘ ระดับชาติ ณ จังหวัดพะเยา
๔. รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันการจัดการค่ายพักแรม ระดับชั้นม.๑-ม.๓ การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ ๖๙ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ภาคเหนือ จังหวัดสุโขทัย
๕. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ การแข่งขันนาฎศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ ๖๙ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ภาคเหนือ จังหวัดสุโขทัย
๖. นายสมทบ จินารักษ์ ตำแหน่ง พนักงานราชการ ได้รับรางวัล ครูดีศรี สพม.๓๗ รางวัลดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๒ ประเภทครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในด้านนวัตกรรมการสอน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๗
๗. นางสุจินดา ทรายแหลมทอง ตำแหน่ง พนักงานราชการ รางวัลผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประเภทผู้สอน รางวัลคุรุสดุดี ประจำปี ๒๕๖๓
๘. นายจิรายุ จันทร์เพ็ง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ เป็นผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี ๒๕๖๓ ประเภทครูผู้สอน
๙. ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนแกนนำการเรียนการสอนสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity Based Learning : CBL) สู่การเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม (Innovative School) ต้นแบบ และศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมสร้างสรรค์
๑๐. ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนต้นแบบนวัตกรรม โครงการรักษ์ป่าน่าน สู่ศาสตร์แห่งการเรียนรู้รักษ์ป่าน่านอย่างยั่งยืน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา ๒๕๖๓