ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์


บทความการศึกษา 10 ม.ค. 2560 เวลา 19:34 น. เปิดอ่าน : 45,825 ครั้ง

Advertisement

เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์

ในโอกาสที่ก้าวสู่ปีที่ 40 กับ "มติชน" ได้สัมภาษณ์นักการศึกษาผู้คร่ำหวอด และอดีตผู้บริหารด้านการศึกษาอย่าง ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อให้พาย้อนกลับไปดูพัฒนาการศึกษาตั้งแต่ช่วงปี 2520 จนถึงปัจจุบัน ว่าการศึกษาไทยเติบโตก้าวหน้าอย่างไร หรือถอยหลังเข้าคลองอย่างที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กัน

40 ปีการศึกษาไทยเดินเป๋ไปเป๋มา

"ย้อนหลังกลับไป 40 ปี การศึกษาไทยตั้งแต่ปี 2521 ถึงปัจจุบัน มีรัฐมนตรีว่าการ ศธ. 34 คน เฉลี่ยอยู่ในตำแหน่งคนละ 1 ปีกว่า แค่นี้ก็เห็นชัดเจนว่าทำไมการศึกษาไทยถึงเดินเป๋ไปเป๋มา หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีพัฒนาในทางที่ดี เพราะมีความมั่นคง และชัดเจนในตัวบุคคลที่กุมบังเหียนการศึกษา โดยหลักการแล้ว ระบบการเมืองที่ดี ผู้บริหารประเทศต้องเลือกใช้คนที่เหมาะสม แต่ไทยยึดการเมืองเต็มตัว ไม่ว่ายุคสมัยไหนจะเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อย

40 ปีที่ผ่านมา ไทยอยู่ในการดูแลของพรรคการเมืองใหญ่ๆ 4 พรรค เริ่มจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทยพัฒนา และไทยรักไทย (ทรท.) หรือเพื่อไทย (พท.) แต่ละยุคไม่มีความแตกต่าง เพราะเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีตลอด จากที่ได้สัมผัสการทำงานหลายระดับ ตั้งแต่ทำงานกับรัฐมนตรีโดยตรง หรือเข้าไปช่วยงานการเมือง ได้ทำงานกับพรรคการเมืองโดยตรง ทุกพรรคไม่มีนโยบายชัดเจนว่าจะขับเคลื่อนการศึกษาไปทิศทางใด รัฐมนตรีที่เข้ามาบริหาร ศธ.จะใช้ความรู้สึกของตัวเอง ใช้คำแนะนำที่ไปหยิบจากตรงโน้นตรงนี้ ที่สุดก็สร้างแนวทางของตัวเอง คิดแบบฉาบฉวยเป็นเรื่องๆ ไม่ได้แก้เชิงระบบ

ที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือช่วงรัฐบาล ทรท.ผมเข้าไปทำนโยบายการศึกษา แม้แต่คนที่เห็นว่านโยบายของผมดี เมื่อได้เป็นรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ก็ไม่ได้ทำตามเท่าที่ควร สรุปคือระบบการเมืองไม่เป็นระบบ นโยบายพรรคไม่มีใครใส่ใจจริงจัง ประกอบกับการให้ตำแหน่งรัฐมนตรีเพราะต่างตอบแทน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้แผนพัฒนาการศึกษาชาติไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น ที่ปรากฏชัดอีกประการหนึ่ง เห็นได้จาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่จนถึงวันนี้ บางมาตรายังไม่ทำ ฉะนั้น หลายอย่างเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเหมือนเป็นคำตอบ แต่ก็ไม่ใช่คำตอบ ไม่ว่าเป็นระบบพรรคการเมือง นโยบายพรรค หรือแม้แต่การออกเป็นกฎหมาย ก็ยังไม่ใช่คำตอบ ทำให้ปัญหาพอกหางหมู การศึกษาไทยแทนที่จะเดินขึ้น กลับเดินดิ่งลง"

การศึกษาขั้นพื้นฐานดิ่งเหว

"ภาพรวม 40 ปี การศึกษาไทยไม่พัฒนา ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทบไปทุกระดับ ไล่ตั้งแต่ปี 2520 ถึงปัจจุบัน ไทยผ่านการปฏิรูปหลักสูตรใหญ่ 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 2521 และปรับใหญ่อีกครั้งปี 2544 ก่อนจะปรับเล็กในปี 2551 สาระที่มีปัญหาคือหลักสูตรปี 2544 มีข้อผิดพลาดหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือการเรียนในช่วงชั้นต้นๆ แทนที่จะสร้างเสริมทักษะในตัวเด็กให้แน่น ทั้งอ่านออกเขียนได้ หลักการค้นคว้า ตั้งคำถาม ความอยากรู้อยากเห็น กลับใส่เนื้อหา ทำให้ด้อยเรื่องพัฒนาทักษะที่จำเป็น ปัญหาชัดเจนคือทักษะการอ่านที่ปรากฏในผลการประเมินในระดับนานาชาติ วันนี้การศึกษาไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ต้องบอกว่าการศึกษาไทยเบี้ยวตั้งแต่ออกแบบหลักสูตร

ประเด็นต่อมา ระบบการวัดผลแบบสอบไม่มีตก เกรด 1.00 ก็จบได้ สร้างผลเสีย เกิดปัญหามากมาย รวมถึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีระบบซ่อมเสริมที่ได้มาตรฐาน ต่างจากสมัยก่อนที่ใช้ระบบคะแนนรวม เด็กจำแนกความสามารถของตัวเองได้ตั้งแต่มัธยมต้น หากเรียนได้ 50% จะหันไปเรียนสายอาชีวะแทน พอใช้ระบบหน่วยกิต เด็กจะมุ่งเรียนให้จบ ม.6 และเรียนต่อมหาวิทยาลัย เกิดปริญญาเฟ้อ และส่งผลให้เด็กเรียนสายอาชีพลดลง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในภาพรวมอ่อนลงทั้งประเทศ

อีกสาเหตุมาจากระบบการบริหารภายในของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เป็นผลมาจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ปรับโครงสร้างยุบ 14 กรม หรือ 14 องค์ชาย เป็น 5 องค์กรหลัก เพื่อให้ ศธ.เล็กลง แต่ สพฐ.กลับใหญ่ มีอำนาจมาก และไม่กระจายอำนาจอย่างแท้จริง แม้พยายามกระจายอำนาจบ้างโดยถ่ายโอนโรงเรียนไปยังท้องถิ่น แต่เป็นไปภายใต้อิทธพลของการเมืองท้องถิ่น ไม่ได้สร้างความเข้มแข็งให้ระบบอย่างแท้จริง วิ่งเต้นต่อรองถ่ายโอนโรงเรียน รวมถึงไม่มีระบบประเมินว่าโรงเรียนที่ถ่ายโอนมีคุณภาพแค่ไหน โรงเรียนต้องอิสระ คล้ายระบบของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะระบบคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา ที่ทำให้ผู้อำนวยการทิ้งโรงเรียนไปวิ่งเต้นเพื่อให้ได้เป็นผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ รวมถึงระบบการคัดเลือกและโยกย้ายครู"

′อาชีวะ-อุดมศึกษา′เซเป็นทอดๆ

"อาชีวะมีปัญหาจากผลพวงของปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมัยก่อนคนนิยมเรียนอาชีวะค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันพัฒนาการเชิงวิชาการ และทักษะวิชาชีพของอาชีวะเองไม่พัฒนาเท่าที่ควรหากเทียบกับนานาประเทศ และเป็นเรื่องยากที่จะพัฒนาไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขณะที่อุดมศึกษามีปัญหามากไม่แพ้กันใน 40 ปี ถึงขั้นเซเป็นทอดๆ ในหลายเรื่อง ไม่ว่าความพยายามจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมาก เริ่มเปลี่ยนโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นวิทยาลัยครู ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เสริมกับอำนาจทางการเมืองที่ต้องการให้จังหวัดของตนมีมหาวิทยาลัย ทำให้เกิด มรภ.มากถึง 41 แห่ง ส่งผลให้หลักการจัดการศึกษาเปลี่ยนไป จากที่เน้นฝึกหัดครู กลายมาสอนคณะทั่วไป รวมทั้งยังเกิดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีก 9 แห่ง รวมกับมหาวิทยาลัยเก่าแก่ และมหาวิทยาลัยเอกชน ทำให้เกิดปัญหาผลิตบัณฑิตเกินความต้องการ

มหาวิทยาลัยจัดการศึกษาเชิงปริมาณ มรภ.บางแห่งเตรียมเปิดสอนคณะแพทย์ศาสตร์ ขณะที่คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ผลิตบัณฑิตเกินความต้องการ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารคณะครุศาสตร์ฯ ไม่เห็นแก่ประเทศชาติ ผลิตโดยไม่ได้คุมกำเนิดเชิงปริมาณ ปีที่ผ่านมามีบัณฑิตจบมากถึง 60,000 คน แต่บรรจุได้ปีละ 10,000 คน เท่ากับทำลายวิชาชีพของตนเอง วันนี้ชัดเจนว่าวิชาชีพครูอ่อนแอมาก กลายเป็นความเสียหายของประเทศชาติ ซึ่งทุกอย่างวนกลับไปที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน หากระบบผลิตครูอ่อนแอ ไม่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถสอนเด็กให้มีคุณภาพได้"

ยกเครื่องผลิตครู-จัดกลุ่มมหาวิทยาลัย

"วันนี้หากจะแก้ปัญหา ต้องโฟกัสที่การศึกษาขั้นพื้นฐานมากๆ เพราะมีปัญหาตั้งแต่ระบบผลิตครูที่ให้เรียนตามวิชาเอก ทั้งที่การศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการครูที่สอนได้ทุกวิชา ยกเว้นระดับมัธยมปลาย ที่ต้องการครูที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา หากการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้มแข็ง ระดับอาชีวะและอุดมศึกษาจะเข้มแข็งตามไปด้วย

ถามว่าจะแก้อย่างไร ต้องตัดสินใจเชิงระบบหลายๆ เรื่อง มหาวิทยาลัยไทยอาจต้องปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เช่น จัดกลุ่มมหาวิทยาลัย แม้จำนวนไม่ลดลง ปัจจุบันระบบการดูแลควบคุมลดลง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยรัฐที่เปิดสาขาเพิ่ม และรับนักศึกษามาก มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ อาศัยชื่อเสียงเป็นตัวล่อ ทำให้มหาวิทยาลัยเล็กๆ ไม่มีคนเรียน และต้องหาวิธีให้อยู่รอด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องดี สร้างความเสียหาย ผลิตบัณฑิตออกมาตกงาน ไม่ตรงตามความต้องการ"

ระบบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

"ระบบคัดเลือกเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความเสียหายมาก อย่างระบบเอ็นทรานซ์เหมาะสมกับยุคสมัยก่อน เพราะมหาวิทยาลัยมีไม่มาก แต่วันนี้สถานการณ์เปลี่ยน เงื่อนไขสังคมก็เปลี่ยน ระบบเอ็นทรานซ์ไม่ตอบโจทย์ เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบแอดมิสชั่นส์กลาง แต่มหาวิทยาลัยก็มีข้ออ้างรับตรง ทำให้เกิดปัญหาวิ่งรอกสอบ และความเหลื่อมล้ำ มหาวิทยาลัยต้องคิดถึงประเทศชาติ และความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างระบบให้เป็นธรรม ไม่ใช่คิดถึงแต่ตัวเอง ส่วนระบบใหม่ที่จะเริ่มใช้ปี 2561 เป็นระบบที่ดี

แต่คิดว่ามหาวิทยาลัยต้องสร้างข้อแม้ให้ตัวเอง พยายามดิ้นรนให้ระบบบิดเบี้ยวอีก"

 

ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 09 ม.ค. 2560 เวลา 20:22:16 น.

 


เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์เจาะ40ปีการศึกษาไทยเป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!!:ศ.พิเศษดร.ภาวิชทองโรจน์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เรื่องที่คุณครูต้องอ่าน

เรื่องที่คุณครูต้องอ่าน


เปิดอ่าน 12,632 ครั้ง
การศึกษาในกะลา

การศึกษาในกะลา


เปิดอ่าน 11,162 ครั้ง
ความคิดสร้างสรรค์ (1)

ความคิดสร้างสรรค์ (1)


เปิดอ่าน 8,366 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย

นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย

เปิดอ่าน 2,845 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
เปิดอ่าน 74,382 ☕ คลิกอ่านเลย

โรงเรียนสุขภาวะตอบโจทย์ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
โรงเรียนสุขภาวะตอบโจทย์ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
เปิดอ่าน 15,243 ☕ คลิกอ่านเลย

ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
เปิดอ่าน 8,383 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 20,574 ☕ คลิกอ่านเลย

ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
เปิดอ่าน 11,459 ☕ คลิกอ่านเลย

บทบาทผู้นำองค์กร 2020
บทบาทผู้นำองค์กร 2020
เปิดอ่าน 8,465 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

8 วิธีกำจัดขาโต๊ะสนุ้ก
8 วิธีกำจัดขาโต๊ะสนุ้ก
เปิดอ่าน 10,623 ครั้ง

เคล็ดลับการยิ้มที่สมบูรณ์แบบเวลาถ่ายรูป
เคล็ดลับการยิ้มที่สมบูรณ์แบบเวลาถ่ายรูป
เปิดอ่าน 1,353 ครั้ง

ฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ "พิจิตร3" ทรงผลยาวคล้ายลูกแพร์
ฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ "พิจิตร3" ทรงผลยาวคล้ายลูกแพร์
เปิดอ่าน 18,824 ครั้ง

กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย
กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมาย
เปิดอ่าน 35,080 ครั้ง

การถวายสังฆทาน
การถวายสังฆทาน
เปิดอ่าน 15,449 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ