ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
โครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็น 4.1) คุณภาพของการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 4.2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 4.3) คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ( NT ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการอ่าน ( RT ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียน บ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 101 คน 2) ประชากรครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 94 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 12 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และ2) แบบบันทึกผลคุณภาพผู้เรียนตามสภาพจริง จำนวน 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.892 – 0.997 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรม SPSS version 23 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( Mean ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการประเมินโครงการพบว่า

1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสองกลุ่ม ที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด โดยกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.52, σ = 0.35) รองลงมา กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.41)

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, = 0.41 ) ทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.52, σ = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.45) ส่วนความคิดเห็นของ ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.28 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็น

4.1 ผลการประเมินด้านคุณภาพการพัฒนาศักยภาพครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.44) รองลงมา คือกลุ่มครู ( μ = 4.31, σ = 0.37) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.21 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน

4.2 ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.44) รองลงมา คือกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.25, S.D. = 0.51) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่ม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.14 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากเช่นกัน

4.3 คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านลำชิง จำแนกเป็น

4.3.1 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.91สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โดยรวม โรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.70 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.65 และระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 42.13 แสดงให้เห็นว่าโดยรวมโรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่า ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) และระดับประเทศ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.3.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ( NT ) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โดยรวม โรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 49.45 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 41.57 และระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 43.97แสดงให้เห็นว่าโดยรวมโรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่า ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) และระดับประเทศ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.3.4 ผลการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการอ่าน ( RT ) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยรวม โรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.14 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.23 และระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 73.02 แสดงให้เห็นว่าโดยรวมโรงเรียนบ้านลำชิง มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่า ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพป. สงขลา เขต 3) และระดับประเทศ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.3.5 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำชิง หลังดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL ปีการศึกษา 2563 พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 87.80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.3.6 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียน บ้านลำชิง หลังดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 95.12 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ WISDOM MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมพบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.54, σ = 0.40) รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.53 , S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.20 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้

1.1 W : Well Cognition ( การสร้างการรับรู้ที่ดี ) เนื่องจากการรับรู้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ การตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อม และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ เมื่อรับรู้แล้วเกิดการรู้สึกและมีอารมณ์ พัฒนาเป็นเจตคติแล้วพฤติกรรมก็ตามมาในที่สุด สามารถก่อให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่จะดำเนินการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเลือกสรรและแยกแยะสิ่งเร้ารอบๆด้าน การสร้างการรับรู้ที่ดีในการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพครู ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา กำนดเป้าหมายและกรอบกิจกรรมการพัฒนาครู ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาตนเองของครู

1.2 I : Involvement Stakeholders ( การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ) เนื่องจากการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ เข้าใจในคุณค่าของตนเอง นำคุณค่านั้นมาสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงาน เกิดความพึงพอใจ เกิดการยอมรับร่วมกัน เกิดสัมพันธภาพที่¬ดีและมีน้ำใจต่อกัน ก่อให้เกิดความผูกพันกับองค์กร สามารถใช้ความสามารถและทักษะในการร่วมดำเนินงาน ส่งผลให้การดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

1.3 S : Several Methods ( วิธีการที่หลากหลาย ) เนื่องจาการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับต้องการจำเป็นของโรงเรียนและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาตนเองของครู วิธีการพัฒนาศักยภาพครูจึงต้องมีความหลากหลาย ด้วยกิจกรรมพัฒนา 3 ลักษณะดังนี้1) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยครูเป็นหลัก และมีโรงเรียนสนับสนุน ส่งเสริม 2) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยโรงเรียนเป็นเจ้าภาพหลัก และ3) กิจกรรมการพัฒนาตนเองโดยหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้น

1.4 D : Definite Reinforcement ( การเสริมแรงเชิงบวก ) เนื่องจากการเสริมแรงเชิงบวก เป็นสิ่งเร้าที่ช่วยเพิ่มพลังในการตอบสนอง ทำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มพฤติกรรม ส่งผลให้การตอบสนองนั้นคงอยู่ต่อไป โรงเรียนบ้านลำชิงใช้ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ คำพูดหรือสภาพการณ์ ที่จะช่วยให้ครูเกิดแรงจูงใจในการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนและแสดงพฤติกรรมมากยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบของการ ยกย่อง เชิดชูเกียรติ การเสริมสร้างโอกาสแสดงศักยภาพและความสามารถ การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาความดี ความชอบด้วยความยุติธรรม ส่งผลให้ครูมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความสุขและสนุกกับการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน

1.5 O : Outstanding Supervision ( การนิเทศ กำกับ ติดตามที่ดี ) เนื่องจากการนิเทศ กำกับ ติดตามเป็นกระบวนชี้แนะ แนะนำ และให้ความร่วมมือ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู เป็นกระบวนการที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ครูจึงต้องปรับปรุง ฝึกฝนตนเองให้เป็นบุคคลที่ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โรงเรียนบ้านลำชิงได้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือการนิเทศแบบกัลยาณมิตรและการนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) ทำให้ครูเป็นบุคคลที่ทันสมัย มีความเชื่อมั่นในการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามจุดหมายของหลักสูตร

1.6 M : Maintain Improvement ( การปรับปรุง แก้ไข พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ) เป็นการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การวัดและประเมินพฤติกรรมในการทำงาน พิจารณาผลงานในเชิงปฏิบัติว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อการการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนบ้านลำชิงได้ดำเนินการในรูปแบบ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน ( AAR : After Action Review ) ร่วมกันสะท้อนและทบทวนกระบวนการต่างๆ นำบทเรียนที่ได้จากความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น มาพัฒนากระบวนการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพครูให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

2.ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมิน และวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

2.2 ควรนำรูปแบบหรือวิธีการประเมินอื่น ๆ นอกเหนือจากการประเมินโดยใช้ซิป โมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน เพื่อการยืนยันผล

2.3 ควรประเมินผลกระทบของโครงการในระยะยาว เช่น ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน

2.4 ควรศึกษาผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป

โพสต์โดย นางสาวเฉลิม รัตน์แก้ว : [27 ส.ค. 2564 เวลา 10:36 น.]
อ่าน [2388] ไอพี : 124.122.41.189
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 52,960 ครั้ง
รายละเอียดเกณฑ์วิทยฐานะ(ใหม่) ใช้บังคับ 1 ต.ค.51
รายละเอียดเกณฑ์วิทยฐานะ(ใหม่) ใช้บังคับ 1 ต.ค.51

เปิดอ่าน 20,073 ครั้ง
(ก.ค.ศ.)การพัฒนารูปแบบการนำครูใหม่เข้าสู่งาน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ก.ค.ศ.)การพัฒนารูปแบบการนำครูใหม่เข้าสู่งาน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เปิดอ่าน 13,542 ครั้ง
วิธีแก้เคราะห์ สะเดาะกรรมให้ร่ำรวย
วิธีแก้เคราะห์ สะเดาะกรรมให้ร่ำรวย

เปิดอ่าน 20,412 ครั้ง
ฝนดาวตกสิงโต
ฝนดาวตกสิงโต

เปิดอ่าน 18,464 ครั้ง
การแพ้ยา Drug Hypersensitivity
การแพ้ยา Drug Hypersensitivity

เปิดอ่าน 13,697 ครั้ง
คนหัวล้านเฮ!นวัตกรรมเจ๋งผมงอกภายใน60วินาที(ชมคลิป)
คนหัวล้านเฮ!นวัตกรรมเจ๋งผมงอกภายใน60วินาที(ชมคลิป)

เปิดอ่าน 9,278 ครั้ง
พิชิตสุขภาพการเงินที่ดีใน 31 วัน
พิชิตสุขภาพการเงินที่ดีใน 31 วัน

เปิดอ่าน 28,909 ครั้ง
กล้วยตอนเช้า คุณประโยชน์เต็มเปี่ยม
กล้วยตอนเช้า คุณประโยชน์เต็มเปี่ยม

เปิดอ่าน 43,677 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 18 การเตะจากมุม
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 18 การเตะจากมุม

เปิดอ่าน 27,221 ครั้ง
พยาธิใบไม้ในตับ
พยาธิใบไม้ในตับ

เปิดอ่าน 13,083 ครั้ง
7 วิธีป้องกันโรคหัวใจวาย
7 วิธีป้องกันโรคหัวใจวาย

เปิดอ่าน 11,927 ครั้ง
รับมืออย่างไรเมื่อทำงานพลาด
รับมืออย่างไรเมื่อทำงานพลาด

เปิดอ่าน 13,832 ครั้ง
คลิปอันดับ 1 ประกวดคลิป "ไข้เลือดออก"
คลิปอันดับ 1 ประกวดคลิป "ไข้เลือดออก"

เปิดอ่าน 51,875 ครั้ง
การทอดผ้าป่า
การทอดผ้าป่า

เปิดอ่าน 16,174 ครั้ง
โอกาสไม่ถึง 50-50 จะได้เห็น ขั้วโลกเหนือปลอดน้ำแข็งหุ้ม
โอกาสไม่ถึง 50-50 จะได้เห็น ขั้วโลกเหนือปลอดน้ำแข็งหุ้ม

เปิดอ่าน 1,003 ครั้ง
มาตรฐาน Image Metadata
มาตรฐาน Image Metadata
เปิดอ่าน 16,588 ครั้ง
"รางวัลให้ครู"
"รางวัลให้ครู"
เปิดอ่าน 2,296 ครั้ง
สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน
สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน
เปิดอ่าน 23,388 ครั้ง
องค์ประกอบของระบบกราฟิก
องค์ประกอบของระบบกราฟิก
เปิดอ่าน 10,724 ครั้ง
กลั้นปัสสาวะ เรื่องธรรมดาที่น่ากลัว
กลั้นปัสสาวะ เรื่องธรรมดาที่น่ากลัว

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ