บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วัตถุประสงค์การวิจัยได้แก่1.เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3.เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เลือกเอาผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.48 2)ชุดกิจกรรมการเรียน การสอน จำนวน 10 ชุด ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.50 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ค่า IOC เท่ากับ 0.80 กำหนดเอาค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความ ยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8237 4)แบบสอบถามความ พึงพอใจของผู้เรียน จำนวน 20 ข้อ กำหนดเอาค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8852 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดสอบก่อนเรียน Pre-test) ทดสอบย่อยก่อนและหลังเรียน ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Post-test) ใช้แบบสอบถามสอบถามผู้เรียนเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สถิติของแบรนแนน (Brennan) หาค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สถิติตามวิธีของโลเวท (Lovett) หาความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สถิติ E1/E2 หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้ t-test ทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ใช้ E.I. วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้สถิติ ใช้วิธี Itemtotal Correlation สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson หาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามความพึงพอใจ และใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบสอบถามความพึงพอใจ และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (x̄) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 82.56 เมื่อพิจารณาเป็นรายแผน พบว่า แผนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้แก่แผนที่ 8 (x̄=8.94) รองลงมาได้แก่แผนที่ 2
(x̄ =8.82) ส่วนแผนที่มีค่าประสิทธิภาพต่ำสุดได้แก่ 7 (x̄=8.59) มีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 80
2. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนา จึงเท่ากับ 88.82/86.32 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. ประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง พระพุทธศาสนาเท่ากับ 0.7669 แสดงว่าชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง พระพุทธศาสนา ชุดนี้ ทำให้ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 76.69 สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้
5. โดยรวมผู้เรียนชายและผู้เรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนกรสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรื่อง พระพุทธศาสนา อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.18 และ 4.31) ตามลำดับ โดยรวม ก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าอยู่ในระดับน้อย (x̄ =1.94) และอยู่ในระดับมาก (x̄=4.07) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างความพึงพอใจผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ความพึงพอใจผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้