ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำ หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวสุนันทา ภักดีไทย
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 5 วสุนธราภิวัฒก์ สังกัดเทศบาลเมืองนาสาร
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 5 วสุนธราภิวัฒก์ สังกัดเทศบาลเมืองนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นใช้ชื่อเรียกว่า SPPFPA Model มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความคิด (S : Stimulating the idea) 2) ขั้นนำเสนอปัญหา (P : Present a problem) 3) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (P : Problem analysis) 4) ขั้นแสวงหาทางแก้ปัญหา (F : Find a solution) 5) ขั้นเสนอวิธีแก้ปัญหา (P : Propose a solution) และ 6) ขั้นประเมินผล (A : Assess) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมต้องการให้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่มและการทำแบบฝึกหัด บทเรียนมีภาพสีสันสดใส มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อพร้อมทั้งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 78.89/76.67 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.93/78.33 และค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 82.44/80.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.38/83.64 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคนิค STAD โดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก