ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัส Covid-19 ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่อง การถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาสกลนคร มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษา 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาสกลนครที่มีผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 2) ศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาสกลนคร 3) ศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยได้ดําเนินงานวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ประกอบดวย ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการโดยศึกษาการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน ผลกระทบ ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ดำเนินการโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครูผู้สอน และนักเรียน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 500 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Yamane (1973) แล้วสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนให้มีการกระจายตามบทบาทและสถานภาพของผู้ให้ข้อมูล ได้ข้อมูลกลับคืนมาทั้งสิ้นจำนวน 412 คน (ร้อยละ 82.40) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ จำแนกตามกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) แบบสอบถามถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2) แบบสอบถามถามสำหรับครู 3) แบบสอบถามถามสำหรับนักเรียน 4) แบบสอบถามถามสำหรับผู้ปกครอง และ 5) แบบสอบถามถามสำหรับกรรมการสถานศึกษา แบบสอบถามถามทุกฉบับตรวจวัดและประเมินผลคุณภาพความตรง (Validity) มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.00 และความเที่ยง (Reliability) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของแบบสอบถามทั้ง 5 ฉบับอยู่ระหว่าง 0.78 - 0.96 ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครและครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการสนทนากลุ่มโดยผ่านระบบออนไลน์ มีผู้บริหารร่วมสนทนากลุ่ม 13 คน และครู 33 คน รวม 46 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา ซึ่งเลือกแบบเจาะจงโดยมีนักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน และกรรมการสถานศึกษา 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผลกระทบของการจัดการเรียนรู้ ความคิดเห็นการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แนวคำถามการสัมภาษณ์ ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาความถี่ และร้อยละค่าเฉลี่ย x ̅ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ตามวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย (inductive analytic method)

คำสำคัญ : ถอดบทเรียน, การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์, สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19,

บทนำ

งานวิจัยนี้มุงสร้างความเขาใจในสถานการณที่เกิดขึ้นและผลกระทบดานการจัดการเรียนรู้

รูปแบบออนไลน์ในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครในชวงที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ปการศึกษา 2563 ในเวลานั้นโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิทำการปด สงผลกระทบกับการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเปนอยางมาก ทั้งครูและผู้เรียนตองปรับตัวในเวลาที่จํากัด แมการปรับตัวที่เกิดขึ้นจะเปนที่รับทราบกันโดยทั่วไป แตก็ไมไดตั้งอยูบนพื้นฐานของขอมูล ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงไดรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในมุมมองของครูผู้สอนและผู้เรียนมาวิเคราะหเพื่อถอดบทเรียนที่ไดรับจากเหตุการณครั้งนี้ จากสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019-COVID - 19) องคการอนามัยโลกไดประกาศเปนภาวะฉุกเฉินทั่วโลก และมีการแพรระบาดในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลไดประกาศสถานการณฉุกเฉินเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 เพื่อเปนการปองกันและควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 โดยกําหนดแนวทางการปองกันโรคดวยการงดการเดินทางไปที่ชุมชน การเวนระยะหางทางสังคม (Social Distancing) ใสหนากากอนามัย ลางมือบอย ๆ และปฏิบัติตามคําแนะนําเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (กรมควบคุมโรค,2563) สถานการณที่เกิดขึ้นไดสงผลกระทบในทุกภาคสวน โดยเฉพาะภาคการศึกษา เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการจัดการศึกษาที่ตองจัดใหมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อมิใหหยุดชะงัก เพราะจะสงผลตอคุณภาพและผลลัพธการเรียนรูของผูเรียน กระทรวง ศึกษาธิการจึงไดประกาศมาตรการและการเฝาระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ใหสถานศึกษาในสังกัดหลีกเลี่ยงกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุม การสัมมนาใด ๆ รวมทั้งใหใชระบบการเรียนการสอนออนไลนและการประชุมออนไลนแทน (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธใหม 2019 (Covid-19) ของบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิในฐานะสถาบันการศึกษาในสังกัด ฯ ไดขานรับนโยบายและมีแนวทางในการจัดการเรียนการสอน โดยในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงมาเปนรูป แบบออนไลนเกือบทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงการวัดและประเมินผลที่เปลี่ยนแปลงดวย โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิไดเล็งเห็นความสําคัญในการสงเสริมสนับสนุนใหผูบริหาร ครู ผู้เรียนและบุคลากร และผลการจัดการเรียนรูที่เกิดขึ้น โดยศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน เพื่อสรุปบทเรียนที่เปนประโยชนและสรางแนวทางการพัฒนาดานการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิไดตอไป

กรอบแนวคิดการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี ทิศทางการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรด้านการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ผลการวิจัยดังกล่าว จะนำไปเป็นฐานข้อมูลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ซึ่งเป็นกรณีที่ครูผู้สอนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ สรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยได้ดังนี้

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริช

ภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

เพื่อศึกษาผลกระทบของในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อ

การจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่

ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

การดำเนินการวิจัย

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การ

แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยผู้วิจัยได้ทำการสำรวจด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานประกอบดวย 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสํารวจเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และระยะที่ 2 การสํารวจเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยประชากรและกลุมตัวอยางของการวิจัยในแตละแบบจะประกอบไปดวย ระยะที่ 1 การสํารวจเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใชในงานวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู และนักเรียน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 500 คน ที่ไดรับผลกระทบในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในปีการศึกษาที่ 2563 กลุ่มตัวอย่างใชในงานวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู และนักเรียน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน ±5% ได้กลุ่มตัวอย่างของแต่ละกลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู และนักเรียนโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร รวมทั้งสิ้น 412 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มโดยกำหนดตามสัดส่วนให้มีการกระจายตามโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ระยะที่ 2 การสํารวจเชิงคุณภาพ (qualitative research) ดำเนินการโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการสนทนากลุ่มโดยผ่านระบบออนไลน์ มีผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครร่วมสนทนากลุ่ม 13 คน และครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 33 คน รวม 46 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ซึ่งเลือกแบบเจาะจงโดยมีนักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน และกรรมการสถานศึกษา 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ ผลกระทบของการจัดการเรียนรู้ ความคิดเห็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แนวคำถามการสัมภาษณ์ ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ตามวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย (inductive analytic method)

สรุปผลการวิจัย

จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยไว้ ดังนี้

การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครที่ใช้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 มี 2 รูปแบบหลัก คือ 1. การใช้การใช้แพลตฟอร์มแอพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น Google Meet, Zoom, MST การใช้สื่อ Social Media คิดเป็นร้อยละ 81.25 2.การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ e-learning โดยผ่านระบบสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 12.50

2. ผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.77 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ผลกระทบทางบวก 1) 1) ครูต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ 2) ครูต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 3) ครูต้องให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาการเรียนรู้ให้นักเรียน และผู้ปกครองมากขึ้น 4) ครูและผู้ปกครองมีโอกาสได้ร่วมกันดูแลการเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้น 5) ครูและผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.80 และ 6) ครูมีความกระตือรือร้นต่อการจัดการเรียนรู้และการดูแล เอาใจใส่นักเรียนมากขึ้น ผลกระทบทางลบ 1) ครูมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน 2) ครูมีภาระงานในการจัดการเรียนรู้และการดูแลนักเรียนมากขึ้น 3) คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูลดลง 4) ครูมีเวลาในการพักผ่อน/ดูแลครอบครัวของตนเองน้อยลง 5) ครูวิตกกังวลว่าผลการเรียนของนักเรียนจะตกต่ำลง และ 6) ครูวิตกกังวลเรื่องสถานศึกษาขาดความพร้อมในการจัดการเรียนรู้

3. ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร พบว่า

3.1 ความคิดเห็นผู้บริหาร โดยภาพรวมผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 8 รายการคือ 1) รัฐ/หน่วยงานต้นสังกัดมีนโยบายและมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนตรงกัน 2) ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ตามนโยบายได้ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 4) ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถจัดอาคารสถานที่/การจัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 5) ผู้บริหารสถานศึกษาให้การนิเทศ ความช่วยเหลือ และสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 6) ครูมีความเข้าใจในวิธีการและสามารถจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ 7) ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ เอาใจใส่ ดูแลนักเรียน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ 8) ผู้ปกครองมีการประสานงานกับสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

3.2 ความคิดเห็นครู โดยภาพรวมครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.45 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.24 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 7 รายการคือ 1) รัฐ/หน่วยงานต้นสังกัดมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 2) ผู้บริหารสถานศึกษาให้การนิเทศ ช่วยเหลือ และสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 3) ครูจัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 4) ครูมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 5) ครูมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ของนักเรียน 6) นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ 7) ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ มีการสื่อสารและประสานงานกับครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

3.3 ความคิดเห็นนักเรียน โดยภาพรวมนักเรียนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.45 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 8 รายการคือ 1) ครูมีการให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติตนของนักเรียนใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 2) ครูสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักเรียนในระหว่างการ จัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 3) ครูมีการให้คำปรึกษากับผู้ปกครองกรณีพบปัญหาในระหว่าง การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ 4) ครูควรช่วยแก้ปัญหาให้กับนักเรียนในการใช้สื่อออนไลน์หรือ โทรทัศน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 5) นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 6) ครูติดตามให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 7) โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยคำนึงถึงโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน และ 8) ครูติดตามให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19

3.4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้ปกครองและชุมชน โดยภาพรวมผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.26 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 11 รายการคือ 1) ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครู 2) ผู้ปกครองดูแล เอาใจใส่ ให้ความช่วยเหลือต่อการเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3) ครูมีการให้คำปรึกษา แนะนำในการปฏิบัติตนของนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 4) โรงเรียนมีการชี้แจงให้ทราบถึงนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับ ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 5) โรงเรียนมีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียน ครูและ ผู้ปกครองที่เหมาะสม 6) โรงเรียนมีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียน ครูและ ผู้ปกครองที่เหมาะสม 7) โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงให้ปกครองและนักเรียนทราบรูปแบบหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ 8) ครูให้คำปรึกษากับผู้ปกครองกรณีพบปัญหาในระหว่างการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ 9) ครูมีการติดตามการเรียนรู้ของนักเรียนในระหว่างการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 10) นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ 11) โรงเรียนมีการจัดเวลาเรียนเหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19

3.5 ความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.31 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.24 โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 7 รายการ คือ 1) กรรมการสถานศึกษาให้ความช่วยเหลือ และสร้างขวัญ กำลังใจให้ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 2) กรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) โรงเรียนมีการเร่งดำเนินการการจัดการเรียนรู้ตามมาตรการ อย่างทันท่วงที 4) โรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงคุณภาพของนักเรียน 5) โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนในการ สนับสนุนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 6) กรรมการสถานศึกษาได้รับรู้นโยบายและแผนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ 7) หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ ให้ความร่วมมือและ สนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือในการจัดการเรียนรู้

อภิปรายผล

จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่ามีประเด็นสำคัญที่ควรนำมาอภิปรายผล ดังนี้

1.ประเด็นการอภิปรายผลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์

จากผลการวิจัยที่พบว่า การจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครที่ใช้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในปีการศึกษา 2563 ส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์มแอพลิเคชั่น Google Meet, Zoom และการให้คำแนะนำเป็นลำดับแรก รองลงมาคือการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ e-learning โดยผ่านระบบสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นมีการแพร่ระบาดของโรคที่ค่อนข้างรุนแรง กระทรวงศึกษาธิการจึงมีประกาศปรับการเปิดภาคเรียนจากวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 มาเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ทำให้สถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ

2. ประเด็นการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์

จากผลการวิจัยที่พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ส่งผลกระทบทางบวกให้ผู้บริหารและครูเร่งพัฒนาตนเองทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับรูปแบบ/วิธีการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ขณะที่นักเรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี มีวินัยในการเรียนและใฝ่รู้ใฝ่เรียนมากขึ้น รวมทั้งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียน หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น ผลที่ได้เช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 นี้ นอกจากสร้างผลกระทบทางลบแล้วยังสร้างโอกาสและบทเรียนให้กับระบบการศึกษาได้ไม่น้อย โดยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา สนับสนุนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เป็นตัวเร่งให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกฝ่ายต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อให้ระบบการศึกษาดำเนินต่อไปได้ โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศคือเครื่องมือสำคัญในการปรับตัวครั้งนี้ ส่งผลให้ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองต้องปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ และปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้สถานศึกษาปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่เกิดขึ้นได้ดีคือ การสนับสนุนและความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีเรื่องการปรับตัวของ Roy (อ้างถึงใน Roy & Andrews, 1999) ที่กล่าวว่า เมื่อเกิดสิ่งเร้า ก็จะเกิดขบวนการเผชิญปัญหา และนำมาซึ่งการปรับตัว ซึ่งการปรับตัวมีทั้งสิ่งที่ปรับตัวได้และ สิ่งที่ปรับตัวไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของสิ่งเร้าและความสามารถในการปรับตัวของแต่ละบุคคล และสอดคล้องกับรายงานของ World Economic Forum 2020 (อ้างถึงใน เสาวณี จันทะพงษ์ และ ทศพล ต้องหุ้ย, 2020) ที่ศึกษาผลกระทบของ COVID-19 ต่อประเทศจีนว่า ก่อให้เกิดพัฒนาการหลายอย่าง เช่น 1) เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนในการจัดการวิกฤติ COVID -19 ที่มีความโปร่งใส และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 2) เกิดการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจการเงินและการคลังที่รวดเร็วเพื่อลดผลกระทบ และ 3) เกิดโอกาสใหม่ ๆ ของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศศิจันทร์ ปัญจทวี (2560) ที่ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ ที่พบว่ามี 3 ประการที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ความคาดหวังจากประสิทธิภาพ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การได้รับการสนับสนุนการใช้ระบบสารสนเทศจากผู้บังคับบัญชา

3. ประเด็นการอภิปรายเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

จากผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการครูและบุคลากรให้สามารถจัดการเรียนรู้ตามนโยบายได้ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้มีการนิเทศ ช่วยเหลือ และสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 เตรียมความพร้อมให้นักเรียนในช่วงก่อนการเรียนการสอน จัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้ จัดหาสื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างเพียงพอ และมีการเร่งดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามมาตรการอย่างทันท่วงที ครูมีความเข้าใจวิธีการและสามารถจัดการเรียนรู้มีการจัดการชั้นเรียนให้มีความพร้อมและเหมาะสม ติดตามให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้ และครูมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ช่วยเหลือ แนะนำกรณีที่พบปัญหาในการเรียนรู้ มีการให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติตนของนักเรียน นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 อย่างเคร่งครัด มีความกระตือรือร้นและรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขภาพ ติดตามข่าวสารและศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองมากขึ้น ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ เอาใจใส่ ดูแลนักเรียน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียนมากขึ้น ในขณะที่ผู้ปกครองบางส่วนมีภาระงาน ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่มากนัก กรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 รักษามาตรการเว้นระยะห่าง และมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มงวด นักเรียนต้องล้างมือและใส่หน้ากากอนามัย นั่งกินข้าวห่างกัน 1 เมตร ห้องเรียนมีขนาดเล็กลง มีห้องแยกสำหรับนักเรียนที่มีไข้ และนักเรียนมาโรงเรียนได้ตามช่วงเวลาที่จัดให้ เป็นต้น (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2563, น. 29-30)

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. สถานศึกษา ควรใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และประกอบการตัดสินใจวางแผนดำเนินการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดย 1) ควรจัดวัสดุ อุปกรณ์สุให้เหมาะสม เพียงพอต่อจัดการเรียนรู้ 2) ควรสื่อสารสร้างความเข้าใจแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ของครู และการจัดทำคู่มือการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 3) เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามาร่วมมีบทบาทในการจัดการและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และ (4) ควรสนับสนุนให้ครูพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน

2. ครูผู้สอน ควรใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยในการส่งเสริมช่วยเหลือนักเรียนและให้คำ

ปรึกษา คำแนะนำผู้ปกครองเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 โดย 1)ครูผู้สอนควรลดภาระงานของนักเรียนให้เหมาะสมกับสภาพของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) เพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาและบันทึกการสอนเพื่อรับชมยอนหลัง 3) ควรประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อสำรวจความต้องการความช่วยเหลือสำหรับกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบ 4) ควรชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์และจัดทำคู่มือรวมถึงการปฏิบัติตนสำหรับนักเรียน และผู้ปกครอง 5) ควรส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เสริมสร้างเจตคติต่อการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง และมีความฉลาดรู้ในการใช้สื่อเทคโนโลยี (Digital Literacy) เพื่อการแสวงหาความรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ

โพสต์โดย namfon : [14 มี.ค. 2565 เวลา 06:51 น.]
อ่าน [1951] ไอพี : 101.108.94.153
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,839 ครั้ง
“มะระ”ป้องเบาหวาน-จัดการริดสีดวง!
“มะระ”ป้องเบาหวาน-จัดการริดสีดวง!

เปิดอ่าน 16,265 ครั้ง
เครื่องเรือน อาวุธ และเครื่องนุ่งห่มกับตัวไม้ประกอบเรือนของชาวสยาม
เครื่องเรือน อาวุธ และเครื่องนุ่งห่มกับตัวไม้ประกอบเรือนของชาวสยาม

เปิดอ่าน 18,469 ครั้ง
ดีปลี
ดีปลี

เปิดอ่าน 984 ครั้ง
ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา

เปิดอ่าน 13,172 ครั้ง
คำว่า สปา มาจากไหน
คำว่า สปา มาจากไหน

เปิดอ่าน 18,865 ครั้ง
ตาบอดสี
ตาบอดสี

เปิดอ่าน 8,949 ครั้ง
ซีพียูรุ่นใหม่ในยุคคนใช้โน้ตบุ๊คไม่ง้อปลั๊ก
ซีพียูรุ่นใหม่ในยุคคนใช้โน้ตบุ๊คไม่ง้อปลั๊ก

เปิดอ่าน 16,027 ครั้ง
6 ข้อดีของการพาลูกไปที่ทำงาน
6 ข้อดีของการพาลูกไปที่ทำงาน

เปิดอ่าน 22,316 ครั้ง
วิธีเลือกของขวัญมีค่า-ไม่แพง
วิธีเลือกของขวัญมีค่า-ไม่แพง

เปิดอ่าน 19,530 ครั้ง
คลิปข่าว ขึ้นเงินเดือนครูยกชุด ย้อนหลังถึง 1 ม.ค.55
คลิปข่าว ขึ้นเงินเดือนครูยกชุด ย้อนหลังถึง 1 ม.ค.55

เปิดอ่าน 11,353 ครั้ง
5 วิธีชวนขับรถประหยัดน้ำมัน
5 วิธีชวนขับรถประหยัดน้ำมัน

เปิดอ่าน 19,061 ครั้ง
VDO ดร บุญลือ ทองอยู่ บรรยายเรื่องวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ
VDO ดร บุญลือ ทองอยู่ บรรยายเรื่องวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ

เปิดอ่าน 25,749 ครั้ง
คุณรู้ไหมว่า 25 มกราคม2556 ! เกิด "กรม"ใหม่เกิดขึ้นในระบบราชการไทย
คุณรู้ไหมว่า 25 มกราคม2556 ! เกิด "กรม"ใหม่เกิดขึ้นในระบบราชการไทย

เปิดอ่าน 107,414 ครั้ง
"จิ้งหรีด" เลี้ยงเล่นๆ รายได้เดือนเกือบหมื่น
"จิ้งหรีด" เลี้ยงเล่นๆ รายได้เดือนเกือบหมื่น

เปิดอ่าน 12,354 ครั้ง
การเลือกโต๊ะที่เป็นมงคล
การเลือกโต๊ะที่เป็นมงคล

เปิดอ่าน 11,844 ครั้ง
Dragon Baby เจ้าหนูสุดเจ๋ง คลิปอยากให้ลูกน้อยเป็นซุปเปอร์ฮีโร่
Dragon Baby เจ้าหนูสุดเจ๋ง คลิปอยากให้ลูกน้อยเป็นซุปเปอร์ฮีโร่
เปิดอ่าน 15,810 ครั้ง
ดูกันหรือยัง? เกือบจะ 40 ล้านวิวแล้ว โฆษณาน้ำแร่ดังยี่ห้อหนึ่ง
ดูกันหรือยัง? เกือบจะ 40 ล้านวิวแล้ว โฆษณาน้ำแร่ดังยี่ห้อหนึ่ง
เปิดอ่าน 27,452 ครั้ง
เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียน
เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียน
เปิดอ่าน 112,312 ครั้ง
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการประเมินครูผู้ช่วย
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการประเมินครูผู้ช่วย
เปิดอ่าน 111,866 ครั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ