ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ภาวะหมดไฟในการทำงาน ภัยเงียบที่หลายคนมักมองข้าม


ความรู้ทั่วไป 29 ม.ค. 2567 (08:01 น.) เปิดอ่าน : 743 ครั้ง
ภาวะหมดไฟในการทำงาน ภัยเงียบที่หลายคนมักมองข้าม

Advertisement

ปัจจุบันคนวัยทำงานมักเจอกับภาระงานหนัก ความเครียดสะสม และความกดดันจากการทำงาน ทำให้หลายคนเริ่มไม่มีความสุขในการทำงาน มองโลกในแง่ลบ จนอาจกลายเป็นคนที่มีภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome โดยไม่รู้ตัว ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์ โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital ให้ข้อมูลว่า Burnout หรือภาวะหมดไฟเป็นการตอบสนองต่อภาวะกดดันจากการทำงาน ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องและยาวนานจนเกิดอาการทางร่างกาย เช่น มีอาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน สมาธิลดลง มองความสัมพันธ์ในที่ทำงานไปในทางลบ อารมณ์ไม่ดี มุมมอง
ต่อตัวเองแย่ลง จนเกิดผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

อาการภาวะหมดไฟ

แบ่งเป็น 3 ด้าน

1.ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ (Emotional Exhaustion) ความเครียดทางอารมณ์ คืออารมณ์ความรู้สึกเหนื่อย เพลีย อ่อนแรง อ่อนล้า ไม่อยากปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ไม่อยากจัดการปัญหาเพราะความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น

2.ความรู้สึกแยกจากความเป็นบุคคล(Depersonalization) คือทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นการแยกตัวจากสังคม ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ รู้สึกตัวเองแปลกแยกจากคนอื่น และความรับผิดชอบต่องานลดลง

3.ความคิดว่าตัวเองด้อยความสามารถ ไม่ประสบความสำเร็จ (Reduced Personal Achievement) การประเมินตนเองเชิงลบ สงสัยและไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รวมถึงทักษะในการเผชิญปัญหาลดลง

สาเหตุของภาวะหมดไฟ

แบ่งเป็น 2 ด้าน

1.สาเหตุจากองค์กร : งานหนักเกินไป ข้อจำกัดการแสดงอารมณ์ในที่ทำงาน อาจเป็นการต้องคุมอารมณ์ด้านลบ เช่น หงุดหงิด ความโกรธ ความกลัว หรือต้องแสดงออกอารมณ์บางอย่างทั้งที่ไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น เช่น การเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ หรือแสดงออกถึงความมั่นใจทั้งที่รู้สึกกังวลหรือกลัว ขาดอิสระในการตัดสินใจทำงาน บทบาทหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายไม่ชัดเจนหรือได้รับข้อมูลในการทำงานไม่เพียงพอ รู้สึกไม่ยุติธรรมในการทำงาน เช่น ถูกจับตาดูการทำผิด โดนสั่งงานมากกว่าเพื่อนร่วมงาน ขาดการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน หรือเกิดความขัดแย้งกันในที่ทำงาน จัดชั่วโมงการทำงานไม่ได้ ทำให้ไม่มีเวลาให้ครอบครัว หรือชีวิตส่วนอื่นนอกจากงาน

2.สาเหตุจากนิสัย : เก็บตัวไม่ชอบเข้าสังคม อารมณ์แปรปรวนง่าย ไม่เห็นใจผู้อื่น ชอบควบคุมสถานการณ์ทำให้เกิดภาวะหมดไฟได้ง่าย

การป้องกันภาวะหมดไฟ

ต้องเริ่มจากการเปิดรับมุมมองความเห็นที่แตกต่าง ควบคุมอารมณ์ได้ดี เข้าใจผู้อื่น ชอบเข้าสังคมเป็นปัจจัยที่ป้องกันภาวะหมดไฟได้, การสนับสนุนทางสังคม ถ้ามีการสนับสนุนที่เพียงพอ ไม่ว่าจากครอบครัว สามี-ภรรยา เพื่อนร่วมงาน ลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ และวิธีการจัดการปัญหา การแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นกับปัญหา problem-focused coping จะลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ แต่ถ้าแก้ปัญหาโดยจัดการกับอารมณ์เชิงลบ จะทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงปัญหา และแยกตัวจากสังคมตามมา

อย่างไรก็ตาม ภาวะหมดไฟในการทำงานอาจไม่ร้ายแรงแต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้ หากสังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างได้เร็ว ก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตัวเองและการทำงาน รวมไปถึงการจัดการเวลาการทำงาน พักผ่อนให้เหมาะสม หากยังไม่สามารถขจัดปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม 

 

ขอบคุณที่มาจาก แนวหน้า

 


ภาวะหมดไฟในการทำงาน ภัยเงียบที่หลายคนมักมองข้ามภาวะหมดไฟในการทำงานBurnout Syndromeหมดไฟภาวะหมดไฟเบิร์นเอาท์ซินโดรม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

โรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์


เปิดอ่าน 10,949 ครั้ง
น้ำผึ้ง...หวานเป็นยา

น้ำผึ้ง...หวานเป็นยา


เปิดอ่าน 14,974 ครั้ง
เจาะนวัตกรรม 4 ล้อ ในปี 2553

เจาะนวัตกรรม 4 ล้อ ในปี 2553


เปิดอ่าน 11,917 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สื่อเผย ดิกชันนารีฯ อาจไร้คนสนใจในอนาคต

สื่อเผย ดิกชันนารีฯ อาจไร้คนสนใจในอนาคต

เปิดอ่าน 8,889 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ประเทศไทยเคยเกิด "ฮีทเวฟ" หรือไม่ ?
ประเทศไทยเคยเกิด "ฮีทเวฟ" หรือไม่ ?
เปิดอ่าน 14,376 ☕ คลิกอ่านเลย

ใส่ 8 ข้อ เขียนจดหมายสมัครงานให้สะดุดตา สะดุดใจ
ใส่ 8 ข้อ เขียนจดหมายสมัครงานให้สะดุดตา สะดุดใจ
เปิดอ่าน 11,050 ☕ คลิกอ่านเลย

เลือก "เคาน์เตอร์ครัว" ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การทำครัว
เลือก "เคาน์เตอร์ครัว" ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การทำครัว
เปิดอ่าน 3,229 ☕ คลิกอ่านเลย

ฟ้า กับ เหว
ฟ้า กับ เหว
เปิดอ่าน 18,555 ☕ คลิกอ่านเลย

คำตอบของ 3 จี ในประเทศไทย เอาไงกันแน่
คำตอบของ 3 จี ในประเทศไทย เอาไงกันแน่
เปิดอ่าน 9,029 ☕ คลิกอ่านเลย

Robovi-nano สุดยอดหุ่นยนต์จิ๋ว!!!
Robovi-nano สุดยอดหุ่นยนต์จิ๋ว!!!
เปิดอ่าน 9,210 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ประโยชน์ของขมิ้นชัน
ประโยชน์ของขมิ้นชัน
เปิดอ่าน 2,986 ครั้ง

ครู
ครู
เปิดอ่าน 32,052 ครั้ง

การวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา
การวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดอ่าน 21,361 ครั้ง

ช้อน-ส้อม จุ่มน้ำร้อนหม้อหุงข้าว ฆ่าเชื้อโรคไม่ตาย
ช้อน-ส้อม จุ่มน้ำร้อนหม้อหุงข้าว ฆ่าเชื้อโรคไม่ตาย
เปิดอ่าน 15,726 ครั้ง

ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368)
ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368)
เปิดอ่าน 20,814 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ