การประเมินโครงการโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning community)โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอ ของงบประมาณ ความหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และผู้สนับสนุนโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ จำแนกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) รู้ชัดปัญหาศึกษาบริบท (2) กำหนดเป้าหมาย (3) วางแผนออกแบบ (4) เรียนรู้สู่การปฏิบัติ (5) เรียนรู้สู่การสะท้อนผล และ (6) ดลใจพัฒนาสู่ความยั่งยืน 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ (1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 (2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 (3) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 (4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้ กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนตะโหมค ปีการศึกษา 2563 (5) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (ONE) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 76 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 314 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 314 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม มีจำนวน 10 ฉบับ 2 ลักษณะ
ผลการประเมินพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.56, S.D.= 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำข้าของโกรงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็น (X ̅ = 4.62, S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวน การชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวม ครูมีความคิดเห็น (X ̅ = 4.88 , S.D. = 0.30) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4) ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1) ระดับคุณภาพการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 ตามความ คิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวม ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.76, S.D. = 0.35) ผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งภาพรวม และทุกรายประเด็นตัวชี้วัด
4.2) ระดับความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 467 , S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X ̅= 4.70 ,S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (X ̅= 4.66 , S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.3) ระดับความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินโกรงการ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (PLC : Professional Learning community) โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวม ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( X ̅ = 461 , S.D. = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4) ผลการวิเคราะห์การพัฒนาผู้เรียน จำแนกเป็น
4.4.1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย ร้อยละ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.2) ผลการทคสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกมาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนตะโหมด โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 36.85 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพม.พัทลุง) โดยรวม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 39.72 และระดับชาติ โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 36.01 แสดงให้เห็นว่า ผลการทคสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกมา 2563 ของโรงเรียน ตะโหมด มีค่าคะแนนเฉถี่ยต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา และ ระดับชาติ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผลการทคสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนตะโหมด โคยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 29.61 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (สพม.พัทลุง) โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 35.54 ระดับชาติ โคยรวม มีคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 31.15 แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนตะโหมด มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ สูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.3) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนโรงเรียนตะโหมค ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมสมรรถนะสำคัญของนักเรียนทั้ง 5 สมรรถนะ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 และเมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะสำคัญ พบว่า สมรรถนะความสามารถในการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงสุด ร้อยละ 87.08 รองลงมาได้แก่ สมรรถนะความสามารถ ในการใช้ทักษะชีวิต มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 86.96 ส่วนสมรรถนะความสามารถในการคิด มีค่าเฉลี่ย ร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 81.09
4.4.4) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนตะโหมด ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ใน ระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 90 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 97.30 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.54 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไฝ่เรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ร้อยละ 91.90
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.กิจกรรมการออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยจับคู่ PLC และนำเสนอผลงาน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่ความยั่งยืน
2. โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์ หรือ เผยแพร่ผลสำเร็จที่เกิดกับโรงเรียน ครู และนักเรียน ให้กว้างยิ่งขึ้น
3. โรงเรียนควรกำหนดมาตรการที่เป็นแรงจูงใจ เชิงบวกกรณีที่ครูสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยตรวจสอบจากพัฒนาการครอบคลุม 1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน 3) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ และ 4) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับกลุ่มงาน หรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2. ควรวิจัยพัฒนาศักยภาพของชุมชนในโรงเรียน และองค์กร เครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่ม หรือหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชนโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้