การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดจันดี โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณในการดำเนินงาน ความรู้ความเข้าใจของครูในการดำเนินงาน และความเพียงพอของเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินโครงการ 3) ประเมินกระบวนการเกี่ยวกับ การบริหารระบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ความสามารถของครูในการดำเนินงานและการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงาน 4) ประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับ 4.1) ผลการดำเนินโครงการ 4.2) ความพึงพอใจของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดจันดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งสิ้น 628 คน ประกอบด้วย นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 285 คน ครูผู้สอน จำนวน 52 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 278 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.57, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับมากถึงมากที่สุด อยู่ระหว่าง ( x̄ = 4.29 - x̄ = 4.97) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 5 โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นโครงการ ที่ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่งและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อยู่ในระดับ
( x̄ =4.97,S.D.= 0.17) รองลงมาข้อที่ 14 มุ่งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมมือกันดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับ ( x̄ = 4.85,S.D. = 0.36) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 10 การนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับ ( = 4.29, S.D. = 0.45)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.63, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับมาก ถึงมากที่สุด อยู่ระหว่าง ( x̄ = 4.26 - = 4.93) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 7 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อยู่ในระดับ ( x̄ = 4.93,S.D.= 0.24) รองลงมาข้อที่ 9 การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียน อยู่ในระดับ ( x̄ = 4.87, S.D. = 0.33) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 3 การเบิกจ่ายงบประมาณทำได้สะดวกรวดเร็ว อยู่ในระดับ ( x̄ = 4.26, S.D. = 0.44)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.58, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับมากถึงมากที่สุด อยู่ระหว่าง ( x̄ = 4.29 - = 4.91) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 5 การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามแผนที่กำหนดไว้ ( x̄ =4.91, S.D.= 0.28) รองลงมาข้อที่ 13 การเยี่ยมบ้านนักเรียน ( x̄ = 4.89, S.D. = 0.32) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 18 การวิเคราะห์ผลการนิเทศ อยู่ในระดับ ( x̄ = 4.29, S.D. = 0.46)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.56, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับมากถึงมากที่สุด อยู่ระหว่าง ( x̄ = 4.11 - = 4.95) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 20 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนช่วยให้สามารถดูแล นักเรียนได้เป็นอย่างดี ( =4.95, S.D.= 0.49) รองลงมาข้อที่ 14 ผลการเยี่ยมบ้านนักเรียนช่วยให้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ง่ายขึ้น( x̄ = 4.89,S.D. = 0.32) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 6 มีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (x̄ = 4.11,S.D. = 0.32)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.68,S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับมากถึงมากที่สุด อยู่ระหว่าง ( x̄ = 4.00 - = 4.95) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 11 นักเรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข และได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็ม ตามศักยภาพอย่างรอบด้าน ( x̄ =4.95, S.D.= 0.23) รองลงมาข้อที่ 15 ท่านมีความ พึงพอใจเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ( x̄ = 4.94, S.D. = 0.23) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 3 การดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพร่างกาย ( x̄ = 4.00, S.D. = 0.59)
6. ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.68, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับมากถึงมากที่สุด อยู่ระหว่าง (x̄ = 4.03 - = 4.97) ข้อที่มีค่าสูงสุดคือข้อ 7 ผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้นักเรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข( x̄ =4.97, S.D.= 0.18) รองลงมาข้อที่ 8 นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพปัญหา ( x̄ = 4.93, S.D. = 0.25) ส่วนข้อที่มีค่าต่ำสุดคือข้อ 10 การมีข้อมูลนักเรียนขาด สาย หนี ช่วยแก้ปัญหานักเรียนได้ ( x̄ = 4.03, S.D. = 0.32)
ผลการประเมินการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดจันดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยในภาพรวมรายด้านตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ที่มีผลการประเมินสูงที่สุดคือ ความรู้ความเข้าใจของครูในการดำเนินงานอยู่ในด้านปัจจัยนำเข้า ( x̄ = 4.78,S.D. = 0.38) ตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินรองลงมาคือ ความสามารถของครูในการดำเนินงาน อยู่ในด้านกระบวนการ ( x̄ = 4.70, S.D. = 0.45) ตัวชี้วัดที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในด้านผลผลิต ( x̄ = 4.42, S.D. = 0.43)