ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

รายงานการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

นายมานพ สมบูรณ์

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา

วิทยฐานะ ชำนาญการ

โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (4) เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ จัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและ ได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งอย่างน้อย ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับ การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน การศึกษาแห่งชาติด้วย การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถ เชี่ยวชาญได้ ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในการ ดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาตามวรรคสอง หรือให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามวรรคสาม รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา ตามความถนัดของตน ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน หรือ ใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษี รวมทั้งการให้ผู้บริจาคทรัพย์สินเข้ากองทุนได้รับประโยชน์ในการลดหย่อน ภาษีด้วย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดให้การบริหารจัดการกองทุน เป็นอิสระและกำหนดให้มีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ประชารัฐ” ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ เพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และ เป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษ และภาษาที่สามและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่ และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ด้านการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่ กลุ่มเด็กปฐมวัยที่ต้องพัฒนาให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะทางสมอง ทักษะการเรียนรู้และทักษะชีวิต เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ควบคู่กับการพัฒนาคนไทยในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม มีทักษะความรู้ และความสามารถปรับตัวเท่าทันกับ การเปลี่ยนแปลงรอบตัวที่รวดเร็ว บนพื้นฐานของการมีสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็งทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันชุมชน และภาคเอกชนที่ร่วมกันพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นทุนทางสังคมสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ได้ให้ความหมายของ การศึกษา ในมาตรา 4 ไว้ว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต หมวด 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคล มีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคล ซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และ บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ (1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน (3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา (4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง (5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรม ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (4) จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคล ในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้วางกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทย ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) คุณภาพของคนทุกช่วงวัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ไว้ดังนี้ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะ 3) เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง เป้าหมายแผนการศึกษาแห่งชาติ 2 ด้าน คือ 1) เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ประกอบด้วย 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetic) 8Cs ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจ ต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 2) เป้าหมายของการจัดการศึกษา (Aspirations) 5 ประการ ซึ่งมีตัวชี้วัด เพื่อการบรรลุเป้าหมาย 53 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง (Access) ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียม (Equity) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ (Quality) ระบบการบริหาร จัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย (Efficiency) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดนโยบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาของประเทศครั้งสำคัญที่จะพัฒนาประชากรวัยเรียนทุกคนและทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหมายรวมถึง กลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร มี 5 นโยบายดังนี้ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3 พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา 4 สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 5 เพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อให้การพัฒนาประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน”

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้รัฐต้องจัดให้บุคคลได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล ทั้งสามารถลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส ทางการศึกษาและความเป็นธรรมในสังคม แก้ปัญหาความยากจน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ข้อ 1 “การศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี” หมายความว่า การศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถม (อนุบาล) (ถ้ามี) ระดับประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. 3) หรือเทียบเท่า และให้หมายความรวมถึงการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์ด้วย ข้อ 3 ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 15 ปี ให้มีมาตรฐานและคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี เพื่อเสนอตามกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ได้แก่ ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ของโรงเรียน บ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม เมื่อวันที่ 17 ถึง 19 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน : ระดับการศึกษาปฐมวัย ได้ระดับคุณภาพดีขึ้นไปทุกตัวบ่งชี้ ผลคะแนนรวมทุกตัวบ่งชี้ ตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป (คะแนนรวม 85.36 คะแนน ระดับคุณภาพ ดี) ในภาพรวมสถานศึกษาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ระดับการศึกษาปฐมวัย ได้รับรอง มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา ได้ระดับคุณภาพ พอใช้ ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียน สำหรับตัวบ่งชี้ที่เหลือได้ระดับคุณภาพดีขึ้นไปทุกตัวบ่งชี้ ผลคะแนนรวมทุกตัวบ่งชี้ ตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป (คะแนนรวม 83.16 คะแนน ระดับคุณภาพ ดี) มีตัวบ่งชี้ที่ได้ระดับดีขึ้นไปอย่างน้อย 10 ตัวบ่งชี้ จาก 12 ตัวบ่งชี้ ไม่มีตัวบ่งชี้ใดที่มีระดับคุณภาพต้องปรับปรุงหรือต้องปรับปรุงเร่งด่วน สรุปผล การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในภาพรวม ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา มีจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้

จุดเด่น

1. ด้านผลการจัดการศึกษา เด็กมีน้ำหนักส่วนสูง ตามเกณฑ์ของกรมอนามัยสามารถเคลื่อนไหว ได้คล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี มีสุขอนามัยนิสัยสมวัย รู้จักล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องส้วม รู้จักแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร มีความรู้เรื่องตนเอง รู้จักชื่นชมผลงานผู้อื่น ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ มีความชื่นชอบศิลปะ ดนตรี กีฬา มีมารยาม รู้จักไหว้ทำความเคารพผู้ใหญ่ มีมารยาทในการรับประทานอาหาร มีจินตนาการและความคิดเห็นสร้างสรรค์ รู้จักพบปะทักทาย มีคุณธรรม จริยธรรม และได้รางวัลชนะเลิศเหรียญทองกิจกรรม ฉีก ตัด ปะ กระดาษจากศูนย์เครือข่าย ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ ปราศจากปัญหาทางเพศ ปลอดสารเสพติด สิ่งมึนเมา มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียน สามารถใช้ทักษะชีวิตในการปรับตัวเข้ากับสังคม ผู้เรียนมีมารยาทที่ดีงามรู้จักไหว้ทักทาย มารยาทดีมีสมาธิ

2. ด้านการบริหารจัดการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดีในการครองตน ครองงาน มีการพัฒนาศักยภาพเป็นผู้นำทางวิชาการ บริหารจัดการพัฒนาสถานศึกษา โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน (ประกันคุณภาพภายใน) โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู ผู้ปกครอง บ้าน วัด โรงเรียน เพื่อความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นผู้นำทางวิชาการ ส่งเสริม การพัฒนางานทั้ง 4 ด้าน วิชาการ งบประมาณ บุคคล และงานบริหารทั่วไป มีการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับ การอบรมประชุมสัมมนา ส่งเสริมให้มีการเยี่ยมบ้าน จัดสอนซ่อมเสริม

3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็ก,ผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจ เสียสละ มีอารมณ์มั่นคง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ครบทุกด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเด็กและครอบครัวมีการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก และพัฒนาการของเด็กได้อย่างเหมาะสม ครูทุกคนมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ครูส่วนใหญ่ มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ และมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษามีการจัดโครงการพัฒนาสถานศึกษา โดยมีการพัฒนาคุณภาพการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย 11 มาตรฐาน จัดทำมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 มาตรฐาน เป็นเป้าหมายของการศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี แผนพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

จุดที่ควรพัฒนา

1. ด้านผลการจัดการศึกษา เด็กยังมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย ในด้านความใฝ่รู้ การเรียนรู้ด้วยตนเองยังไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งทักษะในการสื่อสาร การมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะพื้นฐานตามพัฒนาการของเด็ก และด้านความรู้พื้นฐาน ยังไม่เหมาะสมตามวัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมีผลสอบ O-NET ต่ำกว่าระดับดีในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา และภาษาต่างประเทศ

2. ด้านการบริหารจัดการศึกษา การจัดกิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหาป้องกันความเสี่ยง ทั้ง 6 ด้านยังขาดความต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมบทบาทคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา การนำผลประเมินไปใช้พัฒนางานและการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร

3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็ก,ผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจัดการส่งเสริมเด็กเพื่อพัฒนาการด้านสติปัญญา และการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กยังไม่ครอบคลุมทุกคน สถานศึกษาขาดการนำเอาผลประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผล แบบทดสอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มาจัดอบรมพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ

4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน ด้านการนำผลการประเมินมาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสอดคล้อง เชื่อมโยง เพื่อให้บรรลุเป็นเป้าหมายการประกันคุณภาพภายใน

ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553

1. ด้านผลการจัดการศึกษา เด็กควรได้รับการพัฒนาให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย โดยจัดกิจกรรมโครงงานง่าย ๆ เช่น โครงงานทำขนมพื้นบ้าน เพื่อให้เด็กรู้จักทำงานร่วมกัน รู้จักแสดงความคิดเห็น การสร้างนิสัยรักการอ่าน จัดมุมหนังสือเหมาะสมกับวัย มีจำนวนเพียงพอ และครูอ่านหนังสือเล่านิทานให้เด็กฟังบ่อย ๆ ฝึกให้รู้จักตั้งคำถาม พาเด็กไปค้นคว้าในห้องสมุด ควรพาเด็กไปสำรวจแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ในชุมชน การส่งเสริมความกล้าแสดงออก การสื่อสารภาษาไทยที่ถูกต้อง การฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ของห้อง การเก็บของเข้าที่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ส่งเสริมให้เด็กทำความดี บันทึกความดีอย่างต่อเนื่อง ฝึกให้เด็กทำงาน เช่น การวาดภาพ ระบายสี การฉีก ตัด ปะ การปลูกพืชให้เด็กปฏิบัติจริง พาเด็กทำโครงงาน ง่าย ๆ เช่น สำรวจไม้ดอกในสถานศึกษา สำรวจไม้ผลในโรงเรียน เป็นต้น ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา และภาษาต่างประเทศ ควรมีการจัดกระบวนการ เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่มีการฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะในการแสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะกระบวนการจากสาระภายในกลุ่มมาบูรณาการกันได้ เช่น กระบวนทำงาน กระบวนคิด กระบวนการตัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จนเกิดทักษะวิธีการทำงานฝึกทักษะการสื่อสาร ทักษะการจำ ทักษะการถาม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเชิงสร้างสรรค์ ผู้เรียนควรได้ฝึกทักษะดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง) การเล่นวงดนตรี ดุริยางค์ โดยเชิญวิทยากรท้องถิ่นหรือครูในโรงเรียนใกล้เคียงที่มีทักษะด้านดนตรีสากล ดนตรีพื้นเมือง

2. ด้านการบริหารจัดการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาตนเองโดยการอ่านหนังสือพิมพ์ ติดตามข่าวสารจากอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ควรส่งเสริมการศึกษาระดับปฐมวัยในภาพรวมทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีความตระหนัก เห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นพื้นฐาน ที่สำคัญของชีวิต โดยมีการต่อยอดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียน ไปสานต่อที่บ้าน เช่น ผู้ปกครองควรมีการเล่านิทานให้เด็กฟัง ช่วยเด็กทำการบ้าน เป็นต้น และควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหาป้องกันความเสี่ยง ทั้ง 6 ด้าน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีพัฒนาการจัดการศึกษาในส่วนของการส่งเสริมประสิทธิภาพของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรมีการแต่งตั้งที่ปรึกษา หรือคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ ควรนำคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ไปศึกษา ดูงานโรงเรียนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ ในการบริหารจัดการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ วิชาการ งบประมาณ บุคคล และงานบริหารทั่วไป อย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดตาม ประเมินผล และนำผลประเมินไปใช้ในการพัฒนางาน

3. ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็ก,ผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูควรจัดกิจกรรมฝึกทักษะการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี เช่น จัดแสดงบทบาทสมมติ การเล่าข่าวจัดทำงานเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ จัดโครงงาน จัดการคัดเลือกหัวหน้าชั้น การส่งเสริมการรักการอ่าน สาธิตการเปิดหนังสือที่ถูกต้อง จัดมุมหนังสือ ครูนำหนังสือ มาอ่านให้เด็กฟัง พาไปค้นคว้าในห้องสมุด ครูควรจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ เช่น การสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา สังคม ดนตรี การใช้ข้อมูลหลาย ๆ ด้าน จากการสังเกตพฤติกรรมการตรวจผลงาน การสนทนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ปกครอง เพื่อร่วมกิจกรรมกับครูในการพัฒนาเด็กต่อไป สถานศึกษาควรนำผลการประเมินแผนการเรียนรู้ แบบวัดผล แบบทดสอบ ข้อควรแก้ไขของการจัดการเรียนการสอนในแต่ละกลุ่มวิชา มาจัดอบรมครู อย่างต่อเนื่องตลอดจนส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง มีการทำวิจัยในชั้นเรียน และทำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปปรับปรุงสื่อและกระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรมีผลการวิเคราะห์ ผู้เรียนเป็นรายบุคคล มาออกแบบการเรียนการสอนที่ท้าทายความสามารถและพัฒนาการทางสมองของผู้เรียน โดยใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น ให้ผู้เรียนจัดทำ โครงงาน ผังความคิด สำรวจค้นคว้าเป็นรายกลุ่ม เป็นต้น

4. ด้านการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาควรมีการนำผลการประเมินมาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย โดยการนำผลในรอบปีที่ผ่านมาร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ ให้ได้ข้อมูลในส่วนที่เป็นจุดเด่น จุดควรพัฒนา ที่เชื่อถือได้นำมาพัฒนาในปีต่อไป ในส่วนของจุดเด่นนั้นสถานศึกษาควรจัดทำโครงการเพื่อต่อยอด เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายและมีการรักษาระดับคุณภาพของการประกันคุณภาพภายใน

การเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสภาพสังคมโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กนักเรียนและเยาวชน ในสังคมไทย การพัฒนาและแก้ปัญหาเด็กนักเรียนและเยาวชน การคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน เป็นแนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือเหตุการณ์ที่อาจเป็นอันตราย จากการศึกษาข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตปัญหาของเด็กและเยาวชนที่พบมากสุด คือ ปัญหาความเครียดหรือวิตกกังวล ปัญหาจิตเวช ปัญหาความรัก ปัญหาซึมเศร้าและปัญหาครอบครัว รวมทั้งปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครู และทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังคงมีการประสานงานอย่างไม่คล่องตัว

ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและสาเหตุของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ ที่ควรได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยนำผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report) และ ผลการประเมินคุณภาพภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องเชื่อมโยงในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ พบว่า จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ในด้านผลการจัดการศึกษา เด็กยังมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย ในด้านความใฝ่รู้การเรียนรู้ด้วยตนเองยังไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งทักษะในการสื่อสาร การมีจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะพื้นฐานตามพัฒนาการของเด็ก และด้านความรู้พื้นฐาน ยังไม่เหมาะสมตามวัย ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ควรจัดกระบวนการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนควรได้ฝึกทักษะดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง) การเล่นวงดนตรี ดุริยางค์ โดยเชิญวิทยากรท้องถิ่น หรือครูในโรงเรียนใกล้เคียงที่มีทักษะด้านดนตรีสากล ดนตรีพื้นเมือง ในด้านการบริหาร จัดการศึกษา ควรส่งเสริมการศึกษาระดับปฐมวัยในภาพรวมทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความตระหนักเห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญของชีวิต โดยมีการต่อยอดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไปสานต่อที่บ้าน เช่น ผู้ปกครองควรมีการเล่านิทานให้เด็กฟัง ช่วยเด็กทำการบ้าน เป็นต้น ควรมีการจัดกิจกรรม เพื่อการแก้ปัญหา ป้องกันความเสี่ยง ทั้ง 6 ด้าน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ควรมีพัฒนาการจัดการศึกษาในส่วนของการส่งเสริมประสิทธิภาพบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรมีการแต่งตั้งที่ปรึกษา หรือคณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ตลอดจนเปิดโอกาสให้ชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา ในด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาควรนำผลการประเมิน แผนการเรียนรู้ แบบวัดผล แบบทดสอบ ข้อควรแก้ไขของการจัดการเรียนการสอนในแต่ละกลุ่มวิชา ทำวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปปรับปรุงสื่อและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังเกตพฤติกรรม การตรวจผลงาน การสนทนา การแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ปกครอง เพื่อร่วมกิจกรรมกับครูในการพัฒนาเด็กต่อไป ควรมีผลการวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นรายบุคคล ตามองค์ประกอบขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ความถนัดและความสนใจ ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ตรงกับสภาพปัญหาของนักเรียนแต่ละคน ตามเกณฑ์การคัดกรอง มีภูมิคุ้มกันในตนเอง และการส่งต่อ ขึ้นอยู่กับกรณีปัญหาของนักเรียน

สถานศึกษาเป็นสถานที่ที่เด็กนักเรียนมีความใกล้ชิดมากที่สุด รองลงมาจากครอบครัว ผู้ปกครอง ให้การยอมรับและคาดหวังว่าจะได้รับความรู้ การอบรมสั่งสอน การดูแลด้วยการเอาใจใส่ สถานศึกษาจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กนักเรียนเป็นหลัก ให้เด็กนักเรียนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ที่มีความปลอดภัย การจัดการเรียนการสอนต้องครอบคลุม ทั้งด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ รวมทั้งสอนทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) คือ มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความรู้ คู่คุณธรรม มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ นั่นคือ เด็กนักเรียนให้เป็น “คนดี เก่ง และมีความสุข”

จากเหตุผลดังกล่าว โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียน และการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ครู ชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพราะเป็นแนวทางในการพัฒนา สร้างผลผลิต ผลลัพธ์ให้เกิดกับผู้เรียน บูรณาการเนื้อหาความรู้และพัฒนาคุณภาพเด็กนักเรียนให้มีความพร้อมอย่างเป็นองค์รวมโดยการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเด็กนักเรียนและแก้วิกฤติทางสังคม จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความประพฤติ ที่เหมาะสม รับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียน นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียน โดยการนำกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อนักเรียน

การดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ได้พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง โดยใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพด้วยวงจร Deming (PDCA) ในการขับเคลื่อน ทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตนเองในด้านการเรียนรู้ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ สามารถเรียนรู้และปรับใช้ชีวิตให้อยู่ร่วมกับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนเป็นแนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือเหตุการณ์ที่อาจเป็นอันตรายจากการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ครู นักเรียน ชุมชน และผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ผู้รายงานต้องการทราบว่าการดำเนินการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความ พึงพอใจในการดำเนินโครงการมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ต่อไป

วัตถุประสงค์

1.เพื่อรายงานการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ขอบเขต

1. ขอบเขตด้านประชากร

ประชากรที่ให้ข้อมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูประจำชั้น จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 53 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 42 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการที่ปรึกษาของโรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 110 คน

2. ขอบเขตด้านเนื้อหา

เป็นรายงานการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 โดยใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพด้วยวงจร Deming (PDCA) ในประเด็นต่าง ดังนี้

2.1 การวางแผน (Plan) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดขอบเขตงาน กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย กำหนดวิธีการ

2.2 การปฏิบัติตามแผน (Do) การวางกำหนดการ การจัดการ การดำเนินงานตามกิจกรรมและการพัฒนากระบวนการ

2.3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check) การตรวจสอบ ประเมินผล การรวบรวมข้อมูล สรุปและรายงานผล

2.4 การปรับปรุงและพัฒนา (Act) ตรวจสอบข้อบกพร่อง แก้ไขปรับปรุง เพื่อพัฒนางานโครงการระบบการดูแลช่วยนักเรียน

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หมายถึง การดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจนทั้ง 5 ขั้นตอน มีรายละเอียดดังนี้

1.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล หมายถึง การรู้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับ ตัวนักเรียนที่จะช่วยทำให้มีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการคัดกรองนักเรียนให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้อย่างถูกทาง

1.2 การคัดกรองนักเรียน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียนในด้านต่าง ๆ โดยนักเรียนทุกคนได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ตามเกณฑ์คัดกรองของโรงเรียนและจัดกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา

1.3 การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน หมายถึง การสนับสนุนและพัฒนานักเรียนที่อยู่ในความดูแลทุกคนในกลุ่มคัดกรองไม่ว่าจะเป็นนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มมีปัญหาให้มีคุณภาพมากขึ้นได้พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพ และมีความภาคภูมิใจในตนเองในด้านต่าง ๆ

1.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหา หมายถึง การดูแลเอาใจใส่นักเรียนทุกคนอย่างใกล้ชิด จัดทำมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การให้คำปรึกษา วิเคราะห์ปัญหาและหาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน การประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ

1.5 การส่งต่อนักเรียน หมายถึง กระบวนการส่งนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ อย่างจำเป็นเร่งด่วนและเฉพาะด้าน การที่ปัญหาของนักเรียนมีความยากต่อการช่วยเหลือหรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้น จึงต้องดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป เพื่อให้ปัญหาของนักเรียนได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกทางและรวดเร็ว หากไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ตามมาได้ การส่งต่อนักเรียน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1.5.1 การส่งต่อภายใน หมายถึง ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้นส่งนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือต่อไปยังครูที่สามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาของนักเรียน เช่น ครูแนะแนว ครูพยาบาล ครูประจำวิชา หรืองานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นต้น

1.5.2 การส่งต่อภายนอก หมายถึง การส่งนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือไปให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือพัฒนานักเรียนกรณีที่เกินความสามารถของโรงเรียน โดยครูแนะแนวหรือผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการส่งต่อและมีการติดต่อรับทราบการช่วยเหลือเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เช่น นักจิตวิทยา แพทย์ พยาบาล เป็นต้น

2. โครงการ หมายถึง โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

3. การดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หมายถึง การดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อนักเรียน โดยทุกกิจกรรมมีการดำเนินงานด้วยการบริหารคุณภาพด้วยวงจร Deming (PDCA) คือ การวางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (Do) การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check) การปรับปรุงและพัฒนา (Act)

4. ผลการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หมายถึง ผลที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ในด้านการรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อนักเรียน

5. ความพึงพอใจการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หมายถึง ความรู้สึกหรือความคิดเห็นที่ดีของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการที่ปรึกษาของโรงเรียน ที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ในด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อนักเรียน

6. โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2

7. ครูประจำชั้น หมายถึง ครูที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้สอนโรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

8. นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2563

9. ผู้ปกครอง หมายถึง บิดา มารดา ผู้ดูแลนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

10. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง กลุ่มบุคคลที่รับการคัดเลือกและแต่งตั้ง จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

11. คณะกรรมการที่ปรึกษาของโรงเรียน หมายถึง ตัวแทนของกลุ่มบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนเขตบริการของโรงเรียนบ้านหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

12. ผู้รายงาน หมายถึง นายมานพ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้ผลการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นข้อมูลในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อไป

2. ได้ข้อมูลความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

โพสต์โดย MANOP_2529 : [3 ก.ค. 2565 เวลา 21:38 น.]
อ่าน [1541] ไอพี : 171.4.220.229
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 18,709 ครั้ง
สูตรการจัดทำเกณฑ์ความสำเร็จ
สูตรการจัดทำเกณฑ์ความสำเร็จ

เปิดอ่าน 38,203 ครั้ง
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(2)
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(2)

เปิดอ่าน 30,758 ครั้ง
การประเมินผลการเรียนโดยการสัมภาษณ์
การประเมินผลการเรียนโดยการสัมภาษณ์

เปิดอ่าน 31,104 ครั้ง
ดอกคำฝอย สมุนไพรปกป้องหัวใจ ลดไขมันในเลือด
ดอกคำฝอย สมุนไพรปกป้องหัวใจ ลดไขมันในเลือด

เปิดอ่าน 15,498 ครั้ง
ปวดหลังรักษาอย่างไรดี
ปวดหลังรักษาอย่างไรดี

เปิดอ่าน 21,876 ครั้ง
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนถนัดขวามีมากกว่าคนถนัดซ้าย
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนถนัดขวามีมากกว่าคนถนัดซ้าย

เปิดอ่าน 14,870 ครั้ง
ทำไมไข่เยี่ยวม้าจึงมีสีดำ
ทำไมไข่เยี่ยวม้าจึงมีสีดำ

เปิดอ่าน 12,030 ครั้ง
สมการและการแก้สมการ
สมการและการแก้สมการ

เปิดอ่าน 10,802 ครั้ง
ชมหรือยัง? สถานการณ์ การศึกษาไทย 2557 (The State of Thai Education 2014)
ชมหรือยัง? สถานการณ์ การศึกษาไทย 2557 (The State of Thai Education 2014)

เปิดอ่าน 50,604 ครั้ง
คำว่า "สวัสดี" เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไทย เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พ.ศ.2486
คำว่า "สวัสดี" เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในไทย เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พ.ศ.2486

เปิดอ่าน 8,576 ครั้ง
ภัยผิวที่แฝงมากับฤดูฝน
ภัยผิวที่แฝงมากับฤดูฝน

เปิดอ่าน 43,150 ครั้ง
โกดะ ทาเคชิ ไจแอนท์ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
โกดะ ทาเคชิ ไจแอนท์ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน

เปิดอ่าน 10,333 ครั้ง
แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย3 - 6 ปี สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง
แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย3 - 6 ปี สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

เปิดอ่าน 21,699 ครั้ง
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2549
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2549

เปิดอ่าน 12,625 ครั้ง
มั่งคั่งอย่างไร ... ไม่รู้จบ
มั่งคั่งอย่างไร ... ไม่รู้จบ

เปิดอ่าน 11,351 ครั้ง
ออกกำลังกันมะเร็งทรวงอก เฉพาะสตรีวัยทองที่มีรูปร่างสมส่วน
ออกกำลังกันมะเร็งทรวงอก เฉพาะสตรีวัยทองที่มีรูปร่างสมส่วน
เปิดอ่าน 13,175 ครั้ง
ภัยลิปสติกเจล เสี่ยงมะเร็ง!
ภัยลิปสติกเจล เสี่ยงมะเร็ง!
เปิดอ่าน 19,368 ครั้ง
เคล็ดเด็กเก่งวิชา เรขาคณิต-พีชคณิต
เคล็ดเด็กเก่งวิชา เรขาคณิต-พีชคณิต
เปิดอ่าน 95,486 ครั้ง
การเรียนการสอนรายบุคคล (Individualized Instruction)
การเรียนการสอนรายบุคคล (Individualized Instruction)
เปิดอ่าน 51,503 ครั้ง
อารมณ์(ดี-เสีย)
อารมณ์(ดี-เสีย)

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ