ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เหตุใด...บัณฑิตครูเดินไม่ถึงฝัน กระบวนการผลิตหรือระบบการคัดเลือก?


บทความการศึกษา 11 ม.ค. 2559 เวลา 13:02 น. เปิดอ่าน : 10,171 ครั้ง

Advertisement

เหตุใด...บัณฑิตครูเดินไม่ถึงฝัน กระบวนการผลิตหรือระบบการคัดเลือก?

โดย ชุลีพร อร่ามเนตร เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ

อัตราการสอบเข้าแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ครั้งที่ 2/2558 ที่ผ่านมา พบมีผู้ที่สอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 เพียง 19,940 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.12 จากจำนวนผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 104,265 คน เป็นตัวเลขที่สพฐ.บอกว่าไม่น้อยและสูงเกินกว่าเป้า

แต่ทำให้เกิดข้อกังขาถึงเรื่องคุณภาพการผลิตบัณฑิตครูในปัจจุบัน เหตุใดผู้ที่เรียนจบหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยตรงไม่สามารถสอบคัดเลือกเพื่อเป็น "ครู" ได้ มาตรฐานและคุณภาพการเรียนการสอนย่อหย่อนจนส่งผลกระทบต่อบัณฑิตครูที่จบมาไม่มีศักยภาพอย่างนั้นหรือ...คุณภาพครูถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เฟ้นหามาตรการเพื่อพัฒนาคุณภาพครู แก้ไขและเยียวยาเพื่อคงครูที่มีคุณภาพอยู่ในระบบให้นานที่สุด ความพยายามล่าสุดมีแนวคิดจะคัดกรองสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพแท้จริงมาทำหน้าที่ผลิตครู โดยเฉพาะเบื้องต้นเสนอไอเดียให้ใช้วิธีการกำหนดเป้าหมายจำนวนบัณฑิตที่เข้าสู่วิชาชีพครูของแต่ละแห่งมาเป็นตัวชี้วัด เพื่อการันตีคุณภาพของสถาบันการศึกษานั้นๆ ซึ่งถ้าไม่มีคุณภาพจริงคงไม่สามารถผลิตบัณฑิตครูอย่างที่ต้องการได้ ไม่มีคนสนใจมาเลือกเรียน และอาจต้องปิดตัวไปในที่สุด

มองลึกลงไปถึงคุณภาพบัณฑิตครูผ่านการสอบคัดเลือก "รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์"ประธานที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในฐานะผู้ดูแลการออกข้อสอบคัดเลือกครูให้สพฐ.มาหลายสมัย ให้ความเห็นว่า เวลานี้เราไม่มีข้อสอบกลางที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อนำมาใช้จัดสอบ ไหนจะปัญหาเรื่องการทุจริตข้อสอบรั่วมาหลอกหลอนเป็นเหตุให้สพฐ.ต้องหาผู้บริหารจัดการสอบคือมหาวิทยาลัยต่างๆ มาทำหน้าที่ แต่พบว่ามีผู้ทำงานนี้ไม่มากเนื่องจากต้องมีความรับผิดชอบสูงและต้องยอมรับว่าการออกข้อสอบที่ผู้ออกข้อสอบต่างคนต่างสถาบันแม้จะกำหนดเนื้อหาสาระเดียวกันไว้มาตรฐานข้อสอบก็ยังแตกต่างกัน

"เรื่องมาตรฐานข้อสอบที่แตกต่างกันนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสอบครูผู้ช่วยที่ผ่านๆ มาพบว่าบางเขตพื้นที่การศึกษามีคนสอบผ่านขึ้นบัญชีได้เยอะมาก ขณะที่บางเขตพื้นที่ฯ มีผู้ผ่านน้อย ซึ่งการที่มีผู้สอบผ่านน้อยก็อาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ได้แก่ 1.ข้อสอบยากเกินไป 2.คุณสมบัติคนสมัครสอบต่างกัน และ 3.การกำหนดกรอบคิดเนื้อหาโครงสร้างการสอบแตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งต้องมองพื้นฐานการผลิตครูของแต่ละสถาบันที่จะมีจุดเน้นไม่เหมือนกัน ก็ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตย่อมต่างกัน" รศ.ดร.สุขุมกล่าว สำหรับข้อสอบคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับพื้นฐานที่ควรรู้ เป็นความรู้พื้นฐานที่ควรรู้ในวิชาชีพครู ระดับกลาง มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ แต่อาจจะไม่ลึกมาก และระดับการจำแนก ซึ่งสามารถคัดคนที่เก่งดีมีคุณภาพ ทำให้ได้ครูคุณภาพได้ เพราะฉะนั้นการจะคัดเลือกคน ความยาก-ง่ายของข้อสอบการคัดเลือกมีนัยสำคัญที่จะทำให้ได้ครูมีคุณภาพหรือครูไม่มีคุณภาพเช่นกัน

"ปัจจุบันการสอบคัดเลือกครูยังไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพ แต่มุ่งเน้นเพื่อคัดเลือกคนที่จะมาบรรจุเป็นครูไปสอนเด็กเท่านั้นทั้งที่การสอบคัดเลือกเพื่อให้ได้ครูเก่งครูดีตรงนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดอยากให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหันมามอง แต่เวลานี้เรายังวนเวียนกับหลุมดำของปัญหาการทุจริตข้อสอบรั่ว ทำให้การสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกครูผู้ช่วยแต่ละครั้งที่พุ่งเป้าไปที่การได้คนมาเป็นครูกระบวนการดำเนินการต้องไม่มีปัญหา เหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งผมเชื่อว่าถ้ากลับมามองในมิติคุณภาพมากขึ้นจุดนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยได้พอสมควร" รศ.ดร.สุขุมกล่าว

ขณะที่ฝ่ายสถาบันผลิตครูมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้น "รศ.ดร.สุรชัย จิวเจริญสกุล" คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าปัจจัยที่อาจส่งผลให้ผู้ที่จบครูไม่สามารถสอบบรรจุครูได้นั้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากสาขาที่เปิดรับไม่สอดคล้องกับความสามารถของครูที่จบ ซึ่งเมื่อครูไปสอบทำให้ไม่มีองค์ความรู้ในวิชานั้นๆ เท่าที่ควร

อีกทั้งเรื่องดังกล่าวยังสะท้อนถึงคุณภาพหลักสูตรได้ เพราะตอนนี้หลักสูตรของสถาบันผลิตครูแต่ละแห่งมีความอิสระในการบริหารจัดการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรของตนเอง ดังนั้นทำให้คุณภาพมาตรฐานของแต่ละหลักสูตรสถาบันการผลิตมีความแตกต่างกัน คุณภาพของบัณฑิตครูที่จบออกมาจึงแตกต่างกันด้วย

"สถาบันผลิตครูแต่ละแห่งมีแนวทางกระบวนการผลิตครูแตกต่างกันบางแห่งอาจมุ่งผลิตครูที่มีองค์ความรู้แต่ขาดทักษะการสอน หรือผลิตครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีองค์ความรู้และมีทักษะการสอน ซึ่งขึ้นอยู่กับเป้าหมายบริบทของครูแต่ละพื้นที่ แต่เชื่อว่าทุกแห่งมีการจัดการศึกษาเพื่อผลิตครูให้เป็นครูที่สมบูรณ์แบบ มีความรู้ในวิชาสอน มีจิตวิญญาณของความเป็นครู และที่สำคัญครูรุ่นใหม่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนตัวเอง จัดกิจกรรม มีวิธีการสอนใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับลักษณะของเด็กรุ่นใหม่"

รศ.ดร.สุรชัย บอกอีกว่า หลักสูตรการผลิตครูมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและมีความทันสมัยมากขึ้น โดยพยายามมุ่งผลิตครูที่เน้นการสอนแบบคิดวิเคราะห์ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู และมีทักษะในการสอน ซึ่งเรื่องการสอบเข้านั้นหากต้องการให้ครูสอบเข้าได้มากขึ้นไม่ใช่เพียงหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างสถาบันผลิตครูที่ต้องกลับมาทบทวนถึงกระบวนการเรียนการสอนการผลิตครูแต่ละสถาบันให้มีความเชื่อมโยงมุ่งไปในทิศทางมีมาตรฐานและคุณภาพที่เท่าเทียมกันเท่านั้น

"ระบบการผลิตครูในประเทศไทยมีแนวทางในการปฏิรูปปรับเปลี่ยนหลายต่อหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถยกระดับพัฒนาคุณภาพครูได้ตามความเป็นจริง กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหน่วยงานที่กำกับดูแลต้องเอาจริงเอาจัง มีระบบในการพัฒนาครูอย่างแท้จริงด้วย ต้องดูว่าบทบาทหน้าที่ของครูในปัจจุบันและอนาคตเป็นเช่นใดคนเป็นครูต้องมีลักษณะอย่างไร และสำรวจว่าคณะใด มหาวิทยาลัยใด มีศักยภาพในการผลิตครู แล้วครูมีความรู้ความสามารถสอบเข้าได้จำนวนมากหรือมีหลักในการพัฒนาครูที่ดีก็นำมาเป็นต้นแบบให้แก่สถาบันอื่นๆ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยสถาบันไหนผลิตครูดีก็ผลิตต่อไป ขณะเดียวกันหน่วยงานที่ใช้ครูอย่างสพฐ.เองก็ต้องบอกให้ได้ว่าต้องการเด็กแบบไหน ครูอย่างไร และในแต่ละวิชาต้องการสัดส่วนเท่าใด สถาบันผลิตครูได้ผลิตตอบโจทย์ รวมถึงสถาบันผลิตครูก็ต้องมุ่งผลิตครูคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ" รศ.ดร.สุรชัยแนะนำทิ้งท้าย

ทุกฝ่ายทั้งคนผลิต คนใช้ คงต้องร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ 

 

ที่มา คมชัดลึก วันที่ 11 มกราคม 2559


เหตุใด...บัณฑิตครูเดินไม่ถึงฝัน กระบวนการผลิตหรือระบบการคัดเลือก?เหตุใด...บัณฑิตครูเดินไม่ถึงฝันกระบวนการผลิตหรือระบบการคัดเลือก?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

จัดอันดับทุนมนุษย์

จัดอันดับทุนมนุษย์


เปิดอ่าน 7,669 ครั้ง
เราสอบไปเพื่ออะไร?

เราสอบไปเพื่ออะไร?


เปิดอ่าน 21,345 ครั้ง
เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559


เปิดอ่าน 8,504 ครั้ง
บทบาทผู้นำองค์กร 2020

บทบาทผู้นำองค์กร 2020


เปิดอ่าน 8,485 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Speed Leader 5 กุญแจความสำเร็จสร้างผู้นำ

Speed Leader 5 กุญแจความสำเร็จสร้างผู้นำ

เปิดอ่าน 13,623 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP. 1
ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP. 1
เปิดอ่าน 5,882 ☕ คลิกอ่านเลย

การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)
การใช้อินเทอร์เน็ตและผลกระทบต่อคะแนนวิทยาศาสตร์ : FOCUS ประเด็นจาก PISA : ฉบับที่ 33 (กันยายน 2561)
เปิดอ่าน 37,960 ☕ คลิกอ่านเลย

ยก "ครู" เป็นอาชีพทรงเกียรติ เด็กจึงจะเรียนเก่ง ตอน1
ยก "ครู" เป็นอาชีพทรงเกียรติ เด็กจึงจะเรียนเก่ง ตอน1
เปิดอ่าน 26,605 ☕ คลิกอ่านเลย

คอลัมน์ เปลี่ยนผ่าน: ได้เวลา "ปฏิรูป" ลูกเสือไทยเร่งสางปัญหา "ทุจริต" รีบปรับหลักสูตรให้ตรงใจ "ผู้เรียน-ผู้สอน"
คอลัมน์ เปลี่ยนผ่าน: ได้เวลา "ปฏิรูป" ลูกเสือไทยเร่งสางปัญหา "ทุจริต" รีบปรับหลักสูตรให้ตรงใจ "ผู้เรียน-ผู้สอน"
เปิดอ่าน 9,820 ☕ คลิกอ่านเลย

เงินเดือนเป็นความลับ
เงินเดือนเป็นความลับ
เปิดอ่าน 21,346 ☕ คลิกอ่านเลย

เด็กๆ ควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่
เด็กๆ ควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่
เปิดอ่าน 36,257 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สิ่งมีชีวิตนอกโลก มีจริงหรือไม่
สิ่งมีชีวิตนอกโลก มีจริงหรือไม่
เปิดอ่าน 29,184 ครั้ง

เคยสงสัยไหมว่า เขาลักลอบตัด"ไม้พะยูง"ไปทำอะไรกัน??
เคยสงสัยไหมว่า เขาลักลอบตัด"ไม้พะยูง"ไปทำอะไรกัน??
เปิดอ่าน 53,765 ครั้ง

นมวัว กับ นมถั่วเหลือง.. นมไหนดีกว่ากัน
นมวัว กับ นมถั่วเหลือง.. นมไหนดีกว่ากัน
เปิดอ่าน 26,996 ครั้ง

สามัญชนคนไทย : โรงเรียนในฝัน
สามัญชนคนไทย : โรงเรียนในฝัน
เปิดอ่าน 14,314 ครั้ง

เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเพิ่ม Multi-skill ให้ตัวเองด้วย
เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเพิ่ม Multi-skill ให้ตัวเองด้วย
เปิดอ่าน 896 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ