ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนา การศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผลงานทางวิชาการเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนา การศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผู้รายงาน นางสาวณัฐปัญญา สุขะจิระ

ปีที่ศึกษา 2564

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบ ไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ผู้รายงานนำเสนอข้อมูล ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อประเมินด้านบริบท (Context evaluation) โครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input evaluation) โครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการดําเนินงาน (Process evaluation) โครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product evaluation) โครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

2. วิธีดำเนินการประเมินโครงการ

2.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1.1 ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) เกี่ยวกับ การดำเนินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย กลุ่มบุคคล 4 กลุ่ม รวมจำนวน 1,985 คน คือ

1.1 ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ จำนวน 6 คน

1.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดบ้านสร้าง จำนวน 15 คน

1.3 ผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 982 คน

1.4 นักเรียนโรงเรียนวัดบ้านสร้าง ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 982 คน

2.1.1 กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวนทั้งสิ้น 1,467 คน คือ

1.1 ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ จำนวน 6 คน

1.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดบ้านสร้าง จำนวน 13 คน

1.3 ผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 708 คน

1.4 นักเรียนโรงเรียนวัดบ้านสร้าง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 740 คน

2.2 ขอบเขตของเนื้อหา

ในการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ผู้ประเมินได้ดำเนินการประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model ) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 1971: อ้างใน สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4, 2552) ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้าน กระบวนการ (Process ) และด้านผลผลิต (Product) โดยทำการประเมินแต่ละด้านดังนี้ 1. ด้านบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับความชัดเจนของ วัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์โครงการกับแผนงาน นโยบายหน่วยงาน หรือโรงเรียน ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ของโครงการ ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับความพร้อมของปัจจัยที่ ใช้ในการดำเนินโครงการ ด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ การบริหารจัดการ 3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตาม โครงการในขั้นเตรียมการหรือขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ และขั้นตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน ของโครงการ 4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามโครงการ

2.3 ระยะเวลาการประเมินโครงการ

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 คือ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2565

2.4 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นตัวเลขมาตราส่วนประมาณค่า (Numerical Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 5 ฉบับ ดังนี้

ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยนำเข้า ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ

ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในด้านกระบวนการ ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน

ฉบับที่ 3 แบบสอบถามการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในด้านผลผลิต ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน

ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน

ฉบับที่ 5 แบบสอบถามแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์ประกอบห้องเรียน ด้านความสะอาดห้องเรียน และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ และผู้ปกครองนักเรียน

2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ผู้รายงานได้ดำเนินการ ดังนี้

2.5.1 ทำหนังสือเชิญคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และผู้ปกครองนักเรียน เข้าร่วมประชุมเพื่อประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ตามแบบสอบถาม ที่กำหนด

2.5.2 ขอความร่วมมือครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ให้ช่วยแจกแบบสอบถามให้กับนักเรียน เพื่อประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ตามแบบสอบถามที่กำหนด โดยขอความอนุเคราะห์ให้ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ช่วยอ่านแบบสอบถามให้นักเรียนฟัง เพื่อนักเรียนจะได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะนักเรียนบางคนอาจไม่เข้าใจ ข้อคำถาม

2.5.3 ผู้รายงานแจกและเก็บแบบสอบถามที่ให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์กลับคืน คิดเป็นร้อยละ 100

2.6 การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ครั้งนี้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

3. สรุปผล

การประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 สรุปผลการศึกษาที่สำคัญได้ดังนี้

3.1 ผลการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบ ไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56, S.D.= 0.15) เมื่อพิจารณาในรายด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา พบว่า ลำดับแรก คือ ด้านสภาพแวดล้อม (x̄ = 4.70, S.D.= 0.20) รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ( x̄ = 4.55, S.D.= 0.21) ด้านปัจจัยนำเข้า (x̄ = 4.51, S.D.= 0.24) และด้านกระบวนการ (x̄ = 4.46, S.D.= 0.28) ตามลำดับ เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้

3.1.1 ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ภาพรวมมีความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70, S.D.= 0.20) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา 3 ลำดับ พบว่า ลำดับแรก มี 2 ข้อ คือ ข้อ 7 วัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x̄ = 4.88, S.D.= 0.34) และข้อ 8 การพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน (x̄ = 4.88, S.D.= 0.34) รองลงมา คือ ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 สอดคล้องกับนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในการกำหนดนโยบาย 6 มิติคุณภาพ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา (x̄ = 4.81, S.D.= 0.40) และลำดับที่สาม คือ ข้อ 2 โครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 สอดคล้องกับนโยบาย และจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายเร่งด่วน นโยบายที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (x̄ = 4.75, S.D.= 0.44) ตามลำดับ ส่วนรายข้อ ที่มีค่าเฉลี่ย ตำสุด คือ ข้อ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 สอดคล้องกับ นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาศักยภาพ และคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะที่สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 (x̄ = 4.50, S.D.= 0.73)

3.1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวมมีความพอเพียงหรือความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51, S.D.= 0.24 ) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา 3 ลำดับ พบว่า ลำดับแรก มี 2 ข้อ คือ ข้อ 7 มีงบประมาณจากหน่วยงานของชุมชน ที่โรงเรียนได้รับการสนับสนุนตามโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.75, S.D.= 0.57 ) รองลงมา พบว่า มี 2 ข้อ คือ ข้อ 1 ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ตระหนัก และ เห็นความสำคัญต่อการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.69, S.D.= 0.47 ) และข้อ 5 มี หน่วยงานที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น (x̄ = 4.69, S.D.= 0.47) และลำดับที่สาม คือ ข้อ 3 ครูมุ่งศึกษาหาความรู้พัฒนาสื่อ และนวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.62, S.D.= 0.71 ) ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 6 มีงบประมาณจากหน่วยงานของรัฐที่โรงเรียนได้รับตามโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ( x̄ = 4.25, S.D.= 0.57)

3.1.3 ด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.46, S.D.= 0.28) เมื่อพิจารณาองค์ประกอบ โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา พบว่า ลำดับแรก คือ การปรับปรุงและแก้ไขปัญหา ( = 4.51, S.D.= 0.49) รองลงมา คือ การวางแผน ( x̄ = 4.47, S.D.= 0.53) การปฏิบัติตามแผน ( x̄ = 4.44, S.D.= 0.32) และการตรวจสอบ (x̄ = 4.43, S.D.= 0.45) ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในรายข้อโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา 3 ลำดับ พบว่า ลำดับแรก คือ ข้อ 5 มีการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.64, S.D.= 0.57) รองลงมา คือ ข้อ 17 มีการนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 อย่างต่อเนื่อง (x̄ = 4.57, S.D.= 0.57) และลำดับที่สาม คือ ข้อ 2 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน (x̄ = 4.55, S.D.= 0.69) ตามลำดับส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 13 มีการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ตามความเหมาะสม (x̄ = 4.31, S.D.= 0.71)

เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นองค์ประกอบ สรุปดังนี้

1. การวางแผน พบว่า มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47, S.D.= 0.53) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา พบว่า ลำดับแรก คือ ข้อ 2 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน (x̄ = 4.55, S.D.= 0.69) รองลงมา คือ ข้อ 1 มีการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการ ด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ อาคาร และสถานที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.49, S.D.= 0.65) และลำดับที่สาม คือ ข้อ 3 มีการประชุมวางแผน เพื่อกำหนดนโยบาย โครงการกิจกรรม ขั้นตอน ผู้รับผิดชอบ และแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.38, S.D.= 0.75) ตามลำดับ

2. การปฏิบัติตามแผน พบว่า มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผนการดำเนิน โครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44, S.D.= 0.32) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา 3 ลำดับ พบว่า ลำดับแรก คือ ข้อ 5 มีการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.64, S.D.= 0.57) รองลงมา คือ ข้อ 4 มีการดำเนินงานตามปฏิทิน ขั้นตอน และระยะเวลาที่กำหนด (x̄ = 4.51, S.D.= 0.67) และลำดับสาม คือ ข้อ 9 การดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.44, S.D.= 0.29) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 7 มีการประสานหน่วยงานภายในชุมชนเพื่อร่วมดำเนิน โครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.33, S.D.= 0.81) เมื่อพิจารณาในข้อ 9 การดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ทั้ง 2 กิจกรรม พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44, S.D.= 0.29) เมื่อพิจารณาโดยเรียง จากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ลำดับแรก คือ กิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้มีองค์ประกอบครบ 3 ด้าน 24 รายการ (x̄ = 4.49, S.D.= 0.42) รองลงมา คือ กิจกรรมประกวดห้องเรียนคุณภาพ (x̄ = 4.46, S.D.= 0.44) ตามลำดับ

3. การตรวจสอบ พบว่า มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการดำเนินโครงการ พัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.43, S.D.= 0.45) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา 3 ลำดับ พบว่า ลำดับแรก คือ ข้อ 14 มีการประเมินผลแต่ละกิจกรรมโดยใช้เทคนิคและวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม (x̄ = 4 .50, S.D.= 0.62 ) รองลงมา คือ ข้อ 15 มีการรายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ (x̄ = 4.46, S.D.= 0.68) และลำดับที่สาม พบว่า มี 3 ข้อ คือ ข้อ 10 มีการกำกับ ติดตาม ควบคุม การดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.45, S.D.= 0.65) ข้อ 11 มีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ทั้ง 3 ด้าน (x̄ = 4.45, S.D.= 0.65) ข้อ 12 มีการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 (x̄ = 4.45, S.D.= 0.65) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 13 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ตามความเหมาะสม (x̄ = 4.31, S.D.= 0.71)

4. การปรับปรุงและแก้ไขปัญหา พบว่า มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับปรุงและแก้ไข ปัญหาการดำเนินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51, S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา พบว่า ลำดับแรก คือ ข้อ 17 มีการนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 อย่างต่อเนื่อง (x̄ = 4.57, 9 S.D.= 0.57) รองลงมา คือ ข้อ 16 มีการประชุมคณะทำงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ หาแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรคหลังจากดำเนินโครงการ (x̄ = 4.46, S.D.= 0.67) ตามลำดับ

3.1.4 ด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55, S.D.= 0.21) เมื่อพิจารณาในรายข้อโดยเรียงจาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา 3 ลำดับ พบว่า ลำดับแรก คือ ข้อ 20 ผู้ปกครองมีความตระหนักในความสำคัญของ โครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 และให้ร่วมมือเป็นอย่างดี (x̄ = 4.66, S.D.= 0.54) รองลงมา คือ ข้อ 10 ครูมีการปรับปรุงพัฒนาการจัดการห้องเรียนให้มีคุณภาพมีความสอดคล้องกับโลกปัจจุบัน ( x̄ = 4.63, S.D.= 0.57) และลำดับที่สาม คือ ข้อ 17 มีการใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ (x̄ = 4.62, S.D.= 0.60) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 11 นักเรียนมีความตระหนักในความสำคัญของกิจกรรมประกวดห้องเรียนคุณภาพ (x̄ = 4.45, S.D.= 0.73)

3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง นักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบ ไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D.= 0.19) เมื่อพิจารณาในรายข้อ โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดลงมา 3 ลำดับ พบว่า ลำดับแรก พบว่า มี 2 ข้อ คือข้อ 14 ครูมีการปรับปรุงพัฒนาการจัดการห้องเรียนให้มีคุณภาพความสอดคล้องกับโลกปัจจุบัน (x̄ = 4.65, S.D.= 0.59) และข้อ 20 นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ( x̄ = 4.65, S.D.= 0.51) รองลงมา พบว่า มี 2 ข้อ คือ ข้อ 21 มีการใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ (x̄ = 4.61, S.D.= 0.57) และข้อ 22 นักเรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตร (x̄ = 4.61, S.D.= 0.55) และลำดับที่สาม คือ ข้อ 2 การประกวดห้องเรียนคุณภาพ (x̄ = 4.58, S.D.= 0.48) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด พบว่า คือ ข้อ 7 การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลเพื่อทบทวนคุณภาพการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ( x̄ = 4.45, S.D.= 0.74)

3.3 ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ภายใต้การพัฒนาการศึกษาตามกรอบไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนวัดบ้านสร้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ตามความคิดเห็น ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารและคณะกรรมการโครงการ และผู้ปกครองนักเรียน สรุปดังนี้

3.1 ด้านองค์ประกอบห้องเรียน ควรมีสัญลักษณ์สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ครบถ้วน จัดวางถูกต้อง เหมาะสม สะอาด สวยงาม คงทน มีการจัดทำป้ายชื่อห้องเรียน ป้ายชื่อครู ป้ายชื่อสมาชิกในห้องเรียน ป้ายเวรทำความสะอาดประจำวัน และตารางเรียนอย่างสมบูรณ์ สวยงาม ครูและนักเรียนทุกคนควรร่วมกันกำหนดข้อตกลงและปิดประกาศให้เห็นชัดเจนสวยงาม มีการจัดทำป้ายสถิติมาเรียนให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน และควรมีการจัดทำป้ายคติพจน์ ปรัชญาให้สวยงามเหมาะสม

3.2 ด้านความสะอาดห้องเรียน ควรมีการทำความสะอาดพื้นผิวภายในห้องเรียน ห้องพิเศษ (พื้น ฝ้า เพดาน ประตู หน้าต่าง) ด้านหน้าห้องเรียน (พื้น ฝาผนัง เพดาน) โต๊ะ เก้าอี้นักเรียน โต๊ะเก้าอี้ครู อุปกรณ์ ชั้น ตู้ ไม่ให้มีฝุ่นละออง จัดเป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม กระดานดำ กระดาน ไวท์บอร์ด ควรมีพื้นผิวสะอาด ไม่มีรอยขีดเขียน จัดอุปกรณ์ใช้งานวางเป็นระเบียบ เครื่องอำนวยความสะดวก วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์ทำความสะอาด และถังขยะ ควรมีความสะอาดไม่มีคาบสกปรก นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการดูแลทำความสะอาดห้องเรียนทุกคน

3.3 บรรยากาศการเรียนรู้ ควรมีการส่งเสริมการจัดสภาพห้องและสุขลักษณะของห้องให้มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเท และปราศจากสิ่งรบกวนใด ๆ ส่งเสริมให้มีมุมรักการอ่านในทุกห้องเรียน เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของนักเรียน ควรมีมุมสื่อ อุปกรณ์ (โปสเตอร์ , บัตรคำ , ดินสอ , ฯลฯ) ที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบเป็นสัดส่วน ควรมีมุมจัดแสดงผลงานนักเรียนเป็นประจำทุกเดือน และมีบอร์ดนักเรียนดีเด่น เพื่อเป็นการเสริมแรงบวก และยกย่องชมเชยให้กับนักเรียนที่มีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ

โพสต์โดย ณัฐปัญญา สุขะจิระ : [15 ส.ค. 2565 เวลา 10:35 น.]
อ่าน [2710] ไอพี : 49.48.220.60
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 20,631 ครั้ง
เช็กสุขภาพ 12 ราศี พื้นดวงแบบนี้มีอะไรต้องระวัง
เช็กสุขภาพ 12 ราศี พื้นดวงแบบนี้มีอะไรต้องระวัง

เปิดอ่าน 26,996 ครั้ง
การนวดท้องแบบ"ชิเนซัง"(Shi-Nei-Tsang) ปลดปล่อยสารพิษในร่างกาย
การนวดท้องแบบ"ชิเนซัง"(Shi-Nei-Tsang) ปลดปล่อยสารพิษในร่างกาย

เปิดอ่าน 6,782 ครั้ง
ไทยมีอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ต สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก
ไทยมีอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ต สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก

เปิดอ่าน 20,858 ครั้ง
"ผักชี" ผักพิฆาตอธรรม
"ผักชี" ผักพิฆาตอธรรม

เปิดอ่าน 23,858 ครั้ง
ก้อนอะไรกลมๆ บนดาวอังคาร?
ก้อนอะไรกลมๆ บนดาวอังคาร?

เปิดอ่าน 4,406 ครั้ง
ฝึกกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง ช่วยป้องกันและลดการบาดเจ็บข้อเข่าจากกีฬา
ฝึกกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง ช่วยป้องกันและลดการบาดเจ็บข้อเข่าจากกีฬา

เปิดอ่าน 9,413 ครั้ง
วิธีสร้างความสุขแบบสาวโสด
วิธีสร้างความสุขแบบสาวโสด

เปิดอ่าน 20,641 ครั้ง
การศึกษาในอนาคต
การศึกษาในอนาคต

เปิดอ่าน 3,986 ครั้ง
ที่มาของทฤษฏีพีทาโกรัส
ที่มาของทฤษฏีพีทาโกรัส

เปิดอ่าน 15,436 ครั้ง
ฟื้นฟูตัวเอง 15 วัน เปลี่ยน...ให้สวย
ฟื้นฟูตัวเอง 15 วัน เปลี่ยน...ให้สวย

เปิดอ่าน 3,073 ครั้ง
พิกเซล (Pixel)
พิกเซล (Pixel)

เปิดอ่าน 14,404 ครั้ง
กล้วยป่า
กล้วยป่า

เปิดอ่าน 14,588 ครั้ง
ขั้นตอนการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ขั้นตอนการเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

เปิดอ่าน 1,587 ครั้ง
กรมอนามัย เผยไข่ต้มคลุกน้ำปลาสารอาหารไม่พอ เด็กวัยเรียนควรกินไข่คู่กับอาหารให้ครบหมู่หลากหลาย
กรมอนามัย เผยไข่ต้มคลุกน้ำปลาสารอาหารไม่พอ เด็กวัยเรียนควรกินไข่คู่กับอาหารให้ครบหมู่หลากหลาย

เปิดอ่าน 8,531 ครั้ง
  เปิดวงวิพากษ์อินเทอร์เน็ต โลกเสมือนคนยุคใหม่
เปิดวงวิพากษ์อินเทอร์เน็ต โลกเสมือนคนยุคใหม่

เปิดอ่าน 19,162 ครั้ง
สมดุลของ 2 ส้อม และ 1 ไม้จิ้มฟัน
สมดุลของ 2 ส้อม และ 1 ไม้จิ้มฟัน
เปิดอ่าน 43,991 ครั้ง
วันเนา
วันเนา
เปิดอ่าน 191,697 ครั้ง
เทคโนโลยี มีกี่ระดับอะไรบ้าง
เทคโนโลยี มีกี่ระดับอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 13,689 ครั้ง
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด
เปิดอ่าน 8,225 ครั้ง
"กูเกิ้ล"ผุดนวัตกรรม แว่นเสมือนจริง-รถอัตโนมัติ!
"กูเกิ้ล"ผุดนวัตกรรม แว่นเสมือนจริง-รถอัตโนมัติ!

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ