ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA โครงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

1. ความเป็นมา/แนวคิด

ในปัจจุบันกระแสยุคประเทศไทย ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

โลกแห่งการสื่อสารโทรคมนาคมและสภาวะทางสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ มีหลายประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบทางด้านการบริหาร

การจัดการศึกษาได้มีการเคลื่อนไหวในการนำแนวคิดในการบริหารสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและการกระจายอำนาจทั้งในด้านหลักสูตร งบประมาณและบุคลากรทางการศึกษามาใช้

อย่างกว้างขวางขึ้น การปฏิรูประบบการศึกษาจึงเป็นวิถีทางและการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคนดี มีความสามารถและความสุข การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและ

มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

โดยทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาทั้งด้านการบริหารวิชาการ

ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารงานราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐจึงให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัวมีอิสระและมีความเข้มแข็งโดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 35 สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม มาตรา 34(2) เฉพาะที่เป็นโรงเรียน

มีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งให้มีการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาของไทยมีเอกภาพเชิงนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติมีการกระจายอำนาจไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

การกระจายอำนาจดังกล่าวจะทำให้สถานศึกษามีความคล่องตัว มีอิสระในการบริหารการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทสำคัญในการกำหนดให้รัฐบาลและสถานศึกษาดำเนินการหลายอย่างหลายเรื่อง ได้แก่ การจัดระบบการบริหารการศึกษาที่ต้องการกระจายอำนาจให้สถานศึกษา

ทั้งด้านบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและ

ด้านการบริหารทั่วไป ให้สังคมเข้ามีส่วนร่วมในการศึกษาให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสถาบันในสังคม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยกระจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและที่สำคัญ ซึ่งเป็นภารกิจของสถานศึกษาก็คือหลัก ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่าเป็นผู้เรียน

มีความสำคัญที่สุด ตามมาตรา 29 มาตรา 41 มาตรา 24 ได้กำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของชาติได้มุ่งให้การจัดการศึกษา มาตรา 2 กำหนดไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน

มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ และมาตรา 29 กำหนดว่าให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ๆ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ ภายในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรมและรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการทางหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พัฒนาระหว่างชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542:6-2)

สำหรับประเทศไทยมีการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ

ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 ซึ่งมีสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูประบบการบริหารการศึกษาเป็นอย่างมากและระบุไว้ในหมวดที่ 5 ว่าด้วยการบริหารและการจัดการศึกษาโดยเฉพาะในมาตรา 39 ได้กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งใน ด้านงานวิชาการ ด้านงบประมาณบริหารงานบุคลากรและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานคณะกรรมการ เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรงโดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎกระทรวง นอกจากนี้ในมาตรา 40

ยังกำหนดให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของแต่ละสถานศึกษาทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา

จากนโยบายดังกล่าวสรุปได้ว่า การที่โรงเรียนจะสามารถใช้อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพในระดับที่น่าพอใจจะต้องให้ทุกส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งจะเป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อทุกคนในสังคมและจะเป็นการจัดการศึกษาที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งมวล จากสภาพปัจจุบัน

โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง2 ตั้งอยู่ที่ 129 หมู่ที่ 3 ตำบลยุโป อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ยะลา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 133 คุณครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา

จำนวน 19 คน

จากการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาของผู้บริหารและบุคลากรโรงเรียน พบว่าสภาพปัญหามีส่วนร่วมในการจัดศึกษาของโรงเรียนเท่าที่ผ่านมาโดยภาพรวมสรุปได้ว่า ๑) ผู้ปกครองนักเรียนชุมชนขาดความเข้าใจและไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพราะคิดว่าการจัดการศึกษามีหน้าที่ของโรงเรียนผู้บริหารและครู ๒) ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่นั้นผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน

ทำงานหารายได้ ขาดความเอาใจใส่บุตรหลาน ๓) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาระหน้าที่ของโรงเรียน

๔) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับทางโรงเรียน จึงทำให้โรงเรียนต้องพัฒนาตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่ส่งผลให้คุณภาพของนักเรียนไม่เท่าเทียมกับนักเรียนที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีความเจริญ ดังนั้นโรงเรียนต้องมุ่งบริหารโรงเรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุดโดยนำความคิดการบริหารการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรโดยมีความเชื่อว่าพื้นฐานของการบริหารแบบมีส่วนร่วม คือ คุณภาพการศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ทำให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมีความเชื่อมั่นหรือพึงพอใจ จึงเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์คุณภาพให้เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้ จากความเป็นมาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลเพราะการจัดการศึกษาต้องมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะชุมชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้งด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและ

ด้านการบริหารทั่วไป จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีพลังและประสิทธิภาพ

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคลากรสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

2.2 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจ อันดีระหว่างชุมชนและสถานศึกษา

2.3 เพื่อพัฒนานักเรียน ครูและบุคลากรสถานศึกษา ในการแข่งขัน คามสามารถในระดับต่าง ๆ

3. เป้าหมาย

3.1 ด้านปริมาณ

ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และนักเรียน จำนวน 419 คน

3.2 ด้านคุณภาพ

สถานศึกษาได้รับการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จากนักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ปกครอง ชุมชน ทำให้การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA เป็นไปด้วยความราบรื่น ส่งผลให้นักเรียน

คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ

4. วิธีการดำเนินการ

การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA ของ

โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง2 มีวิธีการดำเนินงานดังนี้

โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง2 แบ่งโครงสร้างการบริหารงาน 4 ด้าน ได้แก่

ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล

ด้านการบริหารทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหาร เทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยมีการร่วมคิด ร่วมวางแผน

ร่วมปฏิบัติ และร่วมภาคภูมิใจ วงจรการทำงานแบบ PDCA ในทุกกิจกรรมของโรงเรียนจะมี

การติดตามการประเมินการทำงานเป็นระยะ ๆ โดยผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการและรายงานผลที่เกี่ยวข้องทราบ

๔.1 การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

การบริหารแบบมีส่วนร่วมนั้นเป็นกระบวนการสนองความต้องการของบุคคล

เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากบุคคลรอบข้างทางจากทีมงานและผู้บังคับบัญชาอันมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ ให้องค์การโดยเฉพาะหน่วยงานของโรงเรียนซึ่งมีภารกิจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขได้ใช้พลังสร้างสรรค์จากบุคลากร

ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานทุกขั้นตอน

ทั้งการวางแผน สั่งการและการควบคุม เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจของโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ต่อไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นการบริหารแบบ

มีส่วนร่วมโดยวิธีใด ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยนับเป็นกลไกที่สำคัญอันจะนำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารแบบมีส่วนร่วมเสมอ

ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งผู้รับผิดชอบให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายแห่งภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนลักษณะนิสัยในการทำงานที่ยึดศูนย์อำนาจการบังคับบัญชาไว้ที่ตนเองมาใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม คือ ประยุกต์ที่จะนำทรัพยากรทางการบริหารทั้งระบบการบริหาร คน เงิน วัสดุและเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศทั้งที่มีอยู่แล้วและเกิดขึ้นใหม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของสังคมโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษาสำหรับชุมชนอันเป็นบทบาทงานของโรงเรียนอันเป็นหน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยในองค์กรควรมีการปฏิบัติงานแบบมีอำนาจ รวมกันมากกว่า

การมีอำนาจเหนือกว่าดังนั้นควรมีการพัฒนาการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติมากกว่าจะเป็นแบบสายการบังคับบัญชาและเนื่องจากโรงเรียนซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความซับซ้อนในเชิงปฏิบัติมากเกินที่จะมอบให้เป็นภาระของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องผนึกกำลังประสาน

ความร่วมมือและกระจายอำนาจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องในฐานะครูผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

การบริหารที่เป็นมาช้านานโดยสิ้นเชิง ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนทุกระดับจะต้องตระหนักการบริหารนั้นไม่สามารถรวมศูนย์กลางอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งได้ทั้งหมดผู้บริหารต้องพร้อมจะมอบอำนาจที่มีอยู่

สู่ผู้ปฏิบัติ คือ บุคลากรในโรงเรียนให้มากที่สุดเกินประสิทธิภาพของการบริหารสูงสุด เพื่อให้

เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ

๔.2 ศึกษาทฤษฎี วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA)

สุรัตน์ สุทธิชัชวาล, 2555 : 16) กล่าวว่า การจัดการอย่างมีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลผลิตและบริการที่มีคุณภาพขึ้น โดยหลักการที่เรียกว่า

วงจรคุณภาพเดมิ่ง (PDCA) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการวางแผน การปฏิบัติตามแผนให้เกิดผล

การตรวจสอบ และการปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไข

คุณภาพที่การพยายามตอบคำถามให้ได้ว่าทำอย่างไรจึงจะดีขึ้น

ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Plan)

ในบรรดาองค์ประกอบทั้ง 4 ประการของวงจรคุณภาพนั้น ต้องถือว่าการวางแผนเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด การวางแผนจะเป็นเรื่องที่ทำให้กิจกรรมอื่น ๆ ที่ตามมาสามารถทำได้งานได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะถ้าแผนไม่เหมาะสมแล้ว จะมีผลทำให้กิจกรรมอื่นไร้ประสิทธิผลตามไปด้วย

แต่ถ้ามีการเริ่มต้นวางแผนที่ดีจะทำให้มีการแก้ไขน้อยและกิจกรรมจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 การนำแผนไปปฏิบัติ ให้เกิดผล (Do)

เพื่อให้มั่นใจว่ามีการนำแผนไปปฏิบัติอย่างถูกต้องนั้น เราจะต้องสร้างความมั่นใจว่าฝ่ายที่รับผิดชอบในการนำแผนไปปฏิบัติได้รับทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนั้น ๆ

มีการติดต่อสื่อสารไปยังฝ่ายที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติอย่างเหมาะสม มีการจัดให้มีการศึกษาและการอบรมที่ต้องการเพื่อนำแผนการนั้นนั้นมาปฏิบัติและมีการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นในเวลาที่จำเป็นด้วย

ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ (Check)

การตรวจสอบและประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติตามแผนควรจะมีการประเมินใน 2 ประการ คือ มีการปฏิบัติตามแผนหรือไม่ หรือตัวแผนการเองมีความเหมาะสมหรือไม่ การที่จะประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เป็นเพราะการปฏิบัติตามแผนการหรือความไม่เหมาะสม

ของแผนการ หรือจากทั้งสองประการรวมกัน เราจำเป็นต้องหาว่าสาเหตุมาจากอะไร ทั้งนี้เนื่องจากการนำไปปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไขจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไข (Act)

ถ้าความล้มเหลวมาจากการวางแผนที่ไม่เหมาะสมการทบทวนแผน เท่านั้นไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการวางแผนโดยการหาปัจจัยที่ไม่เหมาะสม สาเหตุของการวางแผน และทำการปฏิบัติการแก้ไขความก้าวหน้าของการปรับปรุงจะเกิดผลได้โดยการกำจัดสาเหตุและขั้นตอนที่สำคัญ ก็คือ การทบทวนแผนการที่ ต้องมีการบ่งสาเหตุแห่ง

ความล้มเหลวถูกต้องและมีการเปลี่ยนแปลงแผนเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ควรมีการวางแผนปรับปรุงคุณภาพเป็นรายปี และมีการทบทวนทุกปีเพื่อให้มั่นใจว่าแผนดังกล่าวมีความเชื่อมถือได้และเหมาะสม การนำวงจรคุณภาพไปปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่องทุกระดับขององค์กรจะทำให้เราสามารถปรับปรุงและเพิ่มคุณภาพงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนเมื่อปัญหาเดิมหมดไปเราก็สามารถแก้ปัญหาใหม่ๆด้วยวงจรคุณภาพต่อไป

สรุปการจัดการอย่างมีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลผลิตและการบริหารที่มีคุณภาพขึ้นโดยหลักการที่เรียกว่าวงจรคุณภาพ (PDCA) หรือ วงจรเดมมิ่ง

ซึ่ง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไขดังนี้

P : Plan = วางแผน

D: Do = ปฏิบัติตามแผน

C : Check = ตรวจสอบ/ประเมินผลและนำผลประเมินมาวิเคราะห์

A : Act = ปรับปรุงแก้ไขดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมิน

ภาพที่ ๒ : วงจรคุณภาพเดมมิ่ง 1

4.3 ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วย

กระบวนการ PDCA

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ : (Best practice)

การดำเนินงานโครงการกานสนับสนุนจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ภายใต้การพัฒนา

การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA เพื่อวางแผนวางกิจกรรม และแนวทางการปฏิบัติการโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง๒ ดังรายละเอียดของกระบวนการดังต่อไปนี้

4.1 วางแผนศึกษากลยุทธ์และเตรียมการ (Plan)

1. ข้าพเจ้านายเริงชัย ปรังเจะ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง๒

การบริหารจัดการศึกษา โดยการประชุมคณะครูและบุคลากรสถานศึกษา ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้ปกครอง เพื่อวางแผนการดำเนินงานศึกษา

โพสต์โดย นายเริงชัย ปรังเจะ : [19 ส.ค. 2565 เวลา 09:21 น.]
อ่าน [5609] ไอพี : 159.192.98.204
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 18,146 ครั้ง
ประติมากรรมรูปเคารพ
ประติมากรรมรูปเคารพ

เปิดอ่าน 83,925 ครั้ง
10 คำถามสัมภาษณ์ที่คุณควรตอบอย่างมีสติ ถ้าอยากจะเข้าเรียนคณะที่ใฝ่ฝัน
10 คำถามสัมภาษณ์ที่คุณควรตอบอย่างมีสติ ถ้าอยากจะเข้าเรียนคณะที่ใฝ่ฝัน

เปิดอ่าน 25,431 ครั้ง
ทำไมจึงไม่บรรจุน้ำอัดลมให้เต็มขวด?
ทำไมจึงไม่บรรจุน้ำอัดลมให้เต็มขวด?

เปิดอ่าน 16,547 ครั้ง
กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา
กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา

เปิดอ่าน 12,686 ครั้ง
การนำหลักคณิตศาสตร์ มาเล่นกับตัวเลข ให้กลายเป็นสิ่งที่น่าทึ่งที่สุด ชมคลิป
การนำหลักคณิตศาสตร์ มาเล่นกับตัวเลข ให้กลายเป็นสิ่งที่น่าทึ่งที่สุด ชมคลิป

เปิดอ่าน 9,118 ครั้ง
พระสังฆราชประทานพระโอวาทวันอาสาฬหบูชา
พระสังฆราชประทานพระโอวาทวันอาสาฬหบูชา

เปิดอ่าน 47,189 ครั้ง
7 สัญลักษณ์ในขวดพลาสติก มีความหมายอย่างไร อันไหนรีไซเคิลได้ ที่นี่มีคำตอบ
7 สัญลักษณ์ในขวดพลาสติก มีความหมายอย่างไร อันไหนรีไซเคิลได้ ที่นี่มีคำตอบ

เปิดอ่าน 14,068 ครั้ง
สูตรอาหารแก้ท้องผูก
สูตรอาหารแก้ท้องผูก

เปิดอ่าน 19,973 ครั้ง
ประโยชน์บัตรเครดิต ที่คุณควรรู้ไว้ ตอนที่ 2
ประโยชน์บัตรเครดิต ที่คุณควรรู้ไว้ ตอนที่ 2

เปิดอ่าน 17,659 ครั้ง
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการปฏิรูปการเรียนการสอน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการปฏิรูปการเรียนการสอน

เปิดอ่าน 27,381 ครั้ง
ตัวถ่วงความเจริญการศึกษาไทย
ตัวถ่วงความเจริญการศึกษาไทย

เปิดอ่าน 48,244 ครั้ง
ความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำ
ความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำ

เปิดอ่าน 8,716 ครั้ง
หลักฟื้นสภาพจิตใจหลังน้ำลด
หลักฟื้นสภาพจิตใจหลังน้ำลด

เปิดอ่าน 10,627 ครั้ง
เปิดเว็บ"ยากับคุณ" ช่วยคนไทยห่างไกลโรค
เปิดเว็บ"ยากับคุณ" ช่วยคนไทยห่างไกลโรค

เปิดอ่าน 13,516 ครั้ง
"แพลงกิ้ง" ยิ่งเล่น ยิ่งหน้าแก่!
"แพลงกิ้ง" ยิ่งเล่น ยิ่งหน้าแก่!

เปิดอ่าน 15,964 ครั้ง
รวมผักกินยากแสนอร่อยแต่เปี่ยมคุณค่า
รวมผักกินยากแสนอร่อยแต่เปี่ยมคุณค่า
เปิดอ่าน 13,465 ครั้ง
เคล็ดลับน่ารู้วิธีเลิกติดกาแฟ
เคล็ดลับน่ารู้วิธีเลิกติดกาแฟ
เปิดอ่าน 50,990 ครั้ง
เผยสูตรสร้างครอบครัว 4.0 สังคมเป็นสุข
เผยสูตรสร้างครอบครัว 4.0 สังคมเป็นสุข
เปิดอ่าน 11,654 ครั้ง
ตูนส์ศึกษา : เด็กจะกระตือรือร้นและมีความสุขในการเรียนเมื่อใด......ภาพนี้มีคำตอบ
ตูนส์ศึกษา : เด็กจะกระตือรือร้นและมีความสุขในการเรียนเมื่อใด......ภาพนี้มีคำตอบ
เปิดอ่าน 18,483 ครั้ง
แคว่ก ๆ! ที่ครอบปากสุนัขรูปปากเป็ด เก๋ ๆ น่าใช้
แคว่ก ๆ! ที่ครอบปากสุนัขรูปปากเป็ด เก๋ ๆ น่าใช้

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ