|
|
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การวิจัยเรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา 3) ทดลองใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา และ 4) ประเมินกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนากลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ขั้นตอนที่ 4 ประเมินกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา 1) ด้านการบริหารจัดการ พบว่า สภาพปัจจุบันส่วนใหญ่หลักสูตรมีความสอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนการสอนของครู มีการดำเนินการปรับระบบบริหารจัดการ โดยให้มีผู้รับผิดชอบ โดยตรงและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ยังเห็นว่าขาดการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้อย่างเป็นระบบ โรงเรียนมีหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันไม่ความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ และมีความต้องการให้โรงเรียนมีนโยบายด้านการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนให้ชัดเจน ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญของการอ่านออกเขียนได้ โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการอ่านออก เขียนได้ให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ควรมีการร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียน และควรมีการปรับหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน 2) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันครูมีความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย มีสัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียนชาติพันธุ์ มีการเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ยังเห็นว่าขาดครูภาษาไทยที่มีคุณภาพ มีความพร้อม และเข้าใจพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครูขาดเทคนิค วิธีการสอนการอ่านออกเขียนได้สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ที่เหมาะสม ขาดการสร้างและพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริม การจัดการเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ และส่วนใหญ่มีต้องการครูภาษาไทยที่มีคุณภาพ มีความพร้อม และเข้าใจพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ต้องการให้ครูสร้างและพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การอ่านออกเขียนได้สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ และมีเทคนิค วิธีการสอนการอ่านออกเขียนได้สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ที่เหมาะสม 3) ด้านนักเรียน พบว่า สภาพปัจจุบันนักเรียนมีความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ภาษาไทย แต่มีปัญหาไม่ใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสาร ในชีวิตประจำวัน ทำให้นักเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ภาษาไทย และมีความต้องการให้โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่านให้กับนักเรียนมาก ๆ เพราะนักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนมีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ภาษาไทย 4) ด้านผู้ปกครองและชุมชุม พบว่า สภาพปัจจุบันผู้ปกครองให้ความ สำคัญของการเรียนภาษาไทย โรงเรียนมีการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ปัญหาที่พบ คือผู้ปกครองไม่สามารถช่วยเหลือด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนได้ ขาดการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาตามศักยภาพของโรงเรียน ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้และความต้องการส่วนใหญ่เห็นว่าควรสนับสนุนให้ผู้ปกครองและชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการใช้ภาษาไทยควบคู่กับภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน 5) กระบวนการจัดการเรียนการสอน พบว่า สภาพปัจจุบันโรงเรียนมีการจัดการเรียนการรู้เชิงรุก Active Learning จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการ อ่าน และมีการสำรวจนักเรียนด้านการอ่านออกเขียนได้เป็นรายบุคคล สภาพปัญหาส่วนใหญ่ เห็นว่าขาดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ/อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับบริบทและลักษณะของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่มีรูปแบบ เทคนิคและวิธีการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนที่เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ด้านความต้องส่วนใหญ่ต้องการให้มีการให้ส่งเสริม สนับสนุนครูจัดการเรียนการรู้เชิงรุก Active Learning ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านการเขียน และการแสวงหาความรู้อย่างสม่ำเสมอให้แก่นักเรียน จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ/อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับบริบทและลักษณะของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ และครูควรมีรูปแบบ เทคนิคและวิธีการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนที่เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ 6) ด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนและเทคโนโลยี่ พบว่า สภาพปัจจุบันมีสื่อ อุปกรณ์และเทคโนโลยี พียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนภาษาไทยเหมาะสมกับบริบทท้องถิ่นและลักษณะของผู้เรียน และมีการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาไทย สภาพปัญหาส่วนใหญ่ เห็นว่า ขาดสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยที่เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่นและลักษณะของผู้เรียน ขาดการนำนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมาใช้จัดการ และขาดมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้สำหรับนักเรียนลุ่มชาติพันธุ์ ด้านความต้องส่วนใหญ่ต้องการให้พัฒนาครูด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีทำให้ใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีอยู่ยังไม่คุ้มค่า สนับสนุนให้ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีในการเรียนการสอนให้มากขึ้น และจัดหา สื่อ เทคโนโลยีต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้กับโรงเรียน 7) ด้านหนังสือเรียน พบว่า สภาพปัจจุบันมีเอกสารเสริมการเรียน การสอนภาษาไทย เพื่อสนับสนุนการอ่านออกเขียน ได้ในชั้นเรียนครบทุกชั้น หนังสือเรียนภาษา ไทยมีคำศัพท์ต่าง ๆ ง่ายต่อการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ สภาพปัญหาส่วนใหญ่ เห็นว่า ขาดหนังสือเรียนภาษาไทยมีคำศัพท์ ข้อความที่เกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรมการดำรงชีวิตของนักเรียนกลุ่มชาติ ขาดหนังสือเรียนภาษา ไทยมีเนื้อหาเหมาะสมกับการ เรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ด้านความต้องส่วนใหญ่ต้องการให้จัดหาหรือจัดทำหนังสือเรียนให้มีเนื้อหา และความยากง่ายเหมาะ สมสำหรับกลุ่มเด็กชาติพันธุ์ และหนังสือเรียนควรมีเนื้อหาสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ 8) ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อม พบว่า สภาพปัจจุบันโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมของชุมชนเอื้อต่อการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ มีการจัดบรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ส่งเสริมด้านการออกเขียนได้ สภาพปัญหาส่วนใหญ่ เห็นว่า โรงเรียนขาดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรง เรียนที่ส่งเสริมการอ่านการเขียนของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ด้านความต้องส่วนใหญ่ต้องการให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมในด้านอาคารเรียน อาคารประกอบและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการด้านการอ่านและการเขียน 9) ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า สภาพปัจจุบัน โรงเรียนมีการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียนทุกระดับชั้น มีเครื่องมือวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย สภาพปัญหาส่วนใหญ่ เห็นว่า ขาดเครื่องมือวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายและเหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ และขาดการวิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุเพื่อเป็นข้อมูลนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน การเขียนภาษาไทย ด้านความต้องส่วนใหญ่ต้องการให้มีเครื่องมือวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายและเหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ และควรมีการวิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุ เพื่อเป็นข้อมูลนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน การเขียนภาษาไทยทุกระดับชั้น และ 10) ด้านการนิเทศ ติดตาม และตรวจสอบ พบว่า สภาพปัจจุบัน โรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและตรวจสอบการอ่านออก เขียนได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง สภาพปัญหาส่วนใหญ่โรงเรียนขาดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านการเขียนภายในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และขาดการร่วมมือกันระหว่างผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ในการนิเทศกำกับ ติดตามและตรวจสอบสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านการเขียน ด้านความต้องส่วนใหญ่ต้องการให้มีการนิเทศ ติดตามและตรวจสอบการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย อย่างต่อเนื่องและจริงจัง และผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน ควรมีส่วนร่วมในการนิเทศ ติดตามและตรวจสอบสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านการเขียน ผลการสังเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ผลการสังเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในมี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างและนโยบาย 2) ด้านผลผลิตและการบริการ 3) ด้านบุคลากร 4) ด้านประสิทธิภาพการเงิน 5) ด้านวัสดุและอุปกรณ์ และ 6) ด้านการบริหารจัดการมีจุดแข็ง จำนวน 27 รายการ และจุดอ่อนจำนวน 29 รายการ ส่วนปัจจัยภายนอก 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม 2) ด้านเทคโนโลยี 3) ด้านเศรษฐกิจ และ 4) ด้านการเมืองและกฎหมาย มีโอกาส จำนวน 14 รายการ และอุปสรรค์ จำนวน 15 รายการ และจากการสังเคราะห์พบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่อยู่ในสถานะดาวรุ่ง (STAR)
2. ผลการพัฒนากลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 6 พันธกิจ 7 เป้าประสงค์ 7 กลยุทธ์ 28 มาตรการและ 28 ตัวชี้วัดความสำเร็จ
3. ผลการทดลองใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ผลการเปรียบเทียบ ทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ก่อนและหลังการใช้กลยุทธ์การการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวัดผลกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 149 คน พบว่า ทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา หลังใช้กลยุทธ์สูงกว่าก่อนใช้กลยุทธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกระดับชั้น และความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีต่อกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อ
4. ผลการประเมินกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ผลการประเมินความสอดคล้อง พบว่า กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ในภาพรวมมีความสอดคล้องกันในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ ระดับมาก 4 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ตัวชี้วัดมีความสอดคล้องกับมาตรการ รองลงมา ได้แก่ กลยุทธ์มีความสอดคล้องกับพันธกิจ และวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ มีความสอดคล้องกัน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มาตรการมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนบ้านบางเนียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ส่วนใหญ่ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของมาตรการ และตัวชีวัดของกลยุทธ์ พบว่า ส่วนใหญ่ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกกลยุทธ์
|
โพสต์โดย วรรณา แก้วชื่น : [4 ก.ย. 2565 เวลา 12:32 น.] อ่าน [330] ไอพี : 184.22.156.50
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 91,368 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 7,088 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 19,072 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 86,752 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 13,494 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 11,483 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 15,832 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 10,504 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 10,132 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 56,891 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 15,001 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 74,606 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 33,656 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 72,923 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 11,483 ครั้ง 
| |
|
เปิดอ่าน 5,243 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 20,029 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 118,268 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 8,980 ครั้ง 
| เปิดอ่าน 18,725 ครั้ง 
|
|

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|