การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒
จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ
1) เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความส าเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลเมือง
จันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรี2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียน
เทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรี3) เพื่อศึกษาอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงจากการใช้รูปแบบการ
บริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่าง
พอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรีและ 4) เพื่อศึกษาความพึง
พอใจของผู้มีส ่วนเกี ่ยวข้องที ่มีต ่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลเมือง
จันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรีกลุ ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1. กลุ่มผู้ระดมความคิดเห็นจากการ
วิเคราะห์ข้อมูล (Focus Group) จ านวน 6 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรองผู้อ านวยการ
สถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี2. กลุ่มผู้แสดงความคิดเห็นจากการตอบ
แบบสอบถาม ได้แก่ ผู้อ านวยการสถานศึกษา จ านวน 2คน รองผู้อ านวยการสถานศึกษา จ านวน 4คน
ในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี3. กลุ่มเป้าหมายที่ก าหนดไว้ ประกอบด้วย 1) คณะครูที่
ปฏิบัติการสอนและพนักงานครู(จ้างสอน) ปีการศึกษา 2564 จ านวน 57 คน 2) นักเรียนโรงเรียน
เทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรีปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี
ที่ 4 จ านวน 82 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 96 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 จ านวน 76 โดยใช้ตารางของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เลือกกลุ่มตัวอย่างโดย
วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากรายชื่อจนครบตามจ านวน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
จ านวน 70 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 77 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จ านวน 64 คน และจ านวนนักเรียนทั้งหมดในภาพรวมจ านวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และ
แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่ส่งผลต่อความส าเร็จในการพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียน
เทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรีพบว่า การจัดการศึกษาทุกระดับต้องสร้างความร่วมมือกัน
ในทุกภาคส่วน โดยสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของ
โลกศตวรรษที่ 21 และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ
และความต้องการของผู้เรียน ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กับการบริหารสถานศึกษา การจัดท าหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม
เสริมหลักสูตร และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดการพัฒนารอบด้านอย่างสมดุลกัน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม
และวัฒนธรรมในการด ารงชีวิตอย่างเป็นสุข ด าเนินชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานภูมิปัญญาที่เกิดจากการใช้ความรู้
และทักษะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การพัฒนานวัตกรรม สอดคล้องกับ
กรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หรือ Thailand 4.0
โรงเรียนเมืองจันทบุรี ๒ ต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเน้นให้ทุกหน่วยงาน/ฝ่ายงาน
น าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง2 เงื่อนไข 4 มิติ มาเป็นหลักในการบริหารงานและบูรณาการ
ในการจัดการเรียนรู้ ฝ่ายบริหารให้ความใส่ใจในการด าเนินงานบริหารจัดการสถานศึกษาและการนิเทศ
ติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงสร้างความตระหนักให้ครูในการเห็นความส าคัญของการน าหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 เพื่อน าไปสู่ผลการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน
2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้าง
อุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรีมีชื่อว่า
รูปแบบพีเอสบีคอร์ป P.S.B. CORP Model ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ
บริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 Planning : P
(การวางแผน) ขั้นที่ 2 Staffing : S (การจัดอัตราก าลัง) ขั้นที่ 3 Budgeting : B(การงบประมาณ)
ขั้นที่ 4 Coordinating : CO (การประสานงาน) ขั้นที่ 5 ขั้น Reporting : R (การรายงาน) และขั้นที่ 6
Professional (ความเป็นมืออาชีพในการท างาน) และเงื่อนไขการน ารูปแบบไปใช้ ผลการตรวจสอบ
ความเหมาะสม/เป็นไปได้ของปัจจัยพื้นฐานการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมมีความ
เหมาะสม/เป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบพีเอสบี
คอร์ป P.S.B. CORP Model โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับ
ได้ (มากกว่าหรือเท่ากับ0.50)
3. อุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงจากการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล
เมืองจันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล
เมืองจันทบุรี ๒ จังหวัดจันทบุรีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด