ชื่อเรื่อง การวิจัยและประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การมีส่วนร่วม
โรงเรียนบ้านคลองไทรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2
ผู้วิจัย นายนพรัตน์ วิรุณพันธ์
สถานศึกษาที่วิจัย โรงเรียนบ้านคลองไทรตำบลหนองย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2
สถานศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนบ้านดู่ค้อ ตำบลดู่อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยและประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การมีส่วนร่วม
โรงเรียนบ้านคลองไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อ 1) ประเมินโครงการโดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIESTModel ตามแนวคิดของ Stufflebeam andShinkfield (2007) ประกอบด้วยการประเมินใน 8 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation)
ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation)
และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) 2) ศึกษาข้อเสนอแนะปัญหา อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานโครงการกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 16 คน กลุ่มที่ 2 นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองไทรจำนวน 37 คนได้มาโดยการสุ่มแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) กลุ่มที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย สำหรับการเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focusgroup) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 12 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
มี 3 ฉบับคือฉบับที่ 1 ใช้สอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ใช้สอบถามย่อย 8 ด้านคือด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผลด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายทอดส่งต่อ จำนวน 55 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก
อยู่ระหว่าง 0.31 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ฉบับที่ 2 ใช้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการสำหรับนักเรียนจำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง
0.25 0.64 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิจัยและประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านคลองไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 โดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.64) ข้อที่มีระดับคุณภาพมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านกระบวนการ (P: Process) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.55) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต (P: Product) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.= 0.56) และด้านสภาวะแวดล้อม (C: Context) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.55) ส่วนข้อที่มีระดับคุณภาพน้อยที่สุด คือ ด้านการถ่ายโยงความรู้ (T: Transportability)อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D.= 0.78)
2. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านคลองไทรพบว่า โรงเรียนมีการนำนโยบายโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่การปฏิบัติโดยใช้การมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล โดยเฉพาะกิจกรรมเสริมหลักสูตร อาทิ การท่องสูตรคูณ คิดเลขเร็ว ท่องอาขยานกิจกรรมสอนอย่างเข้ม สอนซ่อมเสริม ติวยกระดับ อีกทั้งการพัฒนาครูด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล รวมถึงการวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ที่ดีขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการ ในการจัดการเรียนรู้การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รวมถึงการนำผลกาประเมินมาใช้ โดยผู้ปกครอง ชุมชน
มีส่วนร่วม มีการเผยแพร่ผลการดำเนินงาน การยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคม
ส่วนข้อจำกัด คือ บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณ วัสดุ สื่อ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงข้อเสนอแนะในการพัฒนาคือ ควรมีการศึกษาและวิเคราะห์องค์กร (SWOT Analysis) และดำเนินการตามบริบท มีพัฒนาในรูปแบบองค์รวมเพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO: Learning Organization) มีการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ การทำ MOU การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC: Professional Learning Community)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการขยายผลและมีการสร้างขวัญและกำลังใจ
การยกย่องเชิดชูเกียรติ เผยแพร่เกียรติคุณให้กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีส่วนร่วม
ในโครงการ