Advertisement
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติมีข้อความที่เกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดีไว้ตอนหนึ่งว่า
"ครูที่แท้นั้น ต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ
ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร
ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน
ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิ
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ
ต้องเมตตาหวังดี
ต้องเมตตาหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจคติ
ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความรู้ในเหตุผล
ความหมายของครู
พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๗ : ๙๒) กล่าวว่า คำว่า "ครู" เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ แล้วก็นำให้เกิดทางวิญญาณไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ
อำไพ สุจริตกุล (๒๕๓๔ : ๔๗-๔๘) กล่าวว่า คำว่า "ครู" "ปู่ครู" "ตุ๊ครู" และ "ครูบา" ในสมัยโบราณ หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่นหลังของสำนักต่อไป หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ร้อยกรองบทประพันธ์เกี่ยวกับครูไว้อย่างไพเราะจับใจว่า
ใครคือครู ครูคือใครในวันนี้
ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล
ใช่อยู่ที่เรียกว่า ครูอาจารย์
ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน
ครูคือผู้นำทางความคิด
ให้รู้ถูกรู้ผิด คิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้สร้างงาน
ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์
ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน
ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์
มีดวงมานเพื่อมวลชนใช่ตนเอง
ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ยิ่งใหญ่
สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ได้เป็นตัวของตัวเอง
ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู
จากตัวอย่างความหมายของครูข้างต้น จะเห็นว่า ครูต้องเป็นคนที่มีทั้งความรู้และความประพฤติที่ดี กอปรด้วยความเมตตากรุณาต่อศิษย์ คงไม่เกินความจริงที่จะกล่าวว่า ครูเป็นบุคคล "ไตรภาคี" คือ มาจากองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) ความรู้ดี ๒) ความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม (เมตตากรุณา) หากขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งจะไม่สามารถเป็นครูที่ดีได้
องค์ประกอบ ๓ ประการนี้ เป็นหลักความจริงที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งสำหรับผู้มีหน้าที่เป็นครู เพราะผู้ที่มีองค์ประกอบทั้งสามนี้ และพัฒนาถึงชั้นสูงสุด จะอยู่ในฐานะเป็นยอดครู หรือบรมครู เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงได้รับการขนานพระนามว่า "บรมครู" เพราะพระองค์ ทรงมีองค์ประกอบ ๓ ประการนี้ที่พัฒนาถึงชั้นสูงสุดแล้ว คือ ทรงมีพุทธคุณ ๓ ประการ คือ
๑. พระปัญญาคุณ (ความรู้)
๒. พระวิสุทธิคุณ (ความบริสุทธิ์, ความประพฤติดี)
๓. พระกรุณาคุณ (ความสงสาร,ทนไม่ได้ที่จะไม่ช่วยเหลือคนอื่น)
ความหมายของครู ตามรูปแบบ
ความหมายของครูดังกล่าวข้างต้นเป็นความหมายตามเนื้อความหรือเนื้อแท้ของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหนก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ยังมีความหมายของครูอีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมาย ให้เป็นรูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติ หรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางทีอาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความ หมายตามเนื้อแท้ก็ได้ ความหมายของครูโดยกฎหมายนี้อาจเรียกว่า “ความหมายของ ครูตามรูปแบบ” แต่มันเป็นความหมายไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนไปได้ใน เมื่อใดกฎหมายกำหนดขึ้นมาใหม่ ก็อาจจะเปลี่ยนไปใหม่ได้ตามรูปแบบนั้น ๆ
ความหมายของครูตามรูปแบบนั้นจะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า “ข้าราชการครู” ซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่
๑. กลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา
๒. กลุ่มที่มีหน้าที่บริหารและให้การศึกษาในหน่วยงานทางการศึกษา
๓. กลุ่มที่มีหน้าที่เกี่ยวกับให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของกระทรวงศึกษาธิการ
เฉพาะกลุ่มที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก มีการแบ่งตำแหน่งเป็นระดับต่าง ๆ ไปจากล่างไปสูง คือ
- ครู ๑
- ครู ๒
- อาจารย์ ๑
- อาจารย์ ๒
- อาจารย์ ๓
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- รองศาสตราจารย์
- ศาสตราจารย์
บางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตั้งแต่ตำแหน่งผู้ช่วย ศาสตราจารย์ถึงศาสตราจารย์ จะมีได้เฉพาะหน่วยงานที่มีการสอนถึงระดับ ปริญญาตรี เท่านั้น
ความหมายของครูตามรูปแบบอาจมีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตาม เนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า “ครู” อาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดยอาจ ถูกมองว่าไม่เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นที่เรียกว่า “ครู” ก็เรียกว่า “อาจารย์” หรือผู้ ช่วยศาสตราจารย์ หรือคำอื่น ๆ อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้ จนที่สุดแม้แต่ เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้ เพราะสามรถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้นองค์ประกอบแห่งความเป็นครูที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็
ที่มาของคำว่า ครู
ที่มาของคำว่า ครู คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ"
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=313501
Advertisement
เปิดอ่าน 28,501 ครั้ง เปิดอ่าน 14,622 ครั้ง เปิดอ่าน 468,696 ครั้ง เปิดอ่าน 75,441 ครั้ง เปิดอ่าน 10,189 ครั้ง เปิดอ่าน 15,637 ครั้ง เปิดอ่าน 19,903 ครั้ง เปิดอ่าน 15,433 ครั้ง เปิดอ่าน 31,984 ครั้ง เปิดอ่าน 279,260 ครั้ง เปิดอ่าน 417,870 ครั้ง เปิดอ่าน 20,167 ครั้ง เปิดอ่าน 21,002 ครั้ง เปิดอ่าน 32,695 ครั้ง เปิดอ่าน 46,736 ครั้ง เปิดอ่าน 14,774 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 58,419 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,654 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,321 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 72,116 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 6,850 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 6,902 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 41,476 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,133 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,421 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,770 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,608 ครั้ง |
|
|