ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

ชื่อผู้วิจัย นาฏกนิษฐ์ ทิศทะษะ

ปีการศึกษา 2565

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 354 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 6 คน 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัยพบว่า

1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความต้องการจำเป็น 1) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ 3) ด้านการวัดและประเมินผล และ 4) ด้านการผลิตและการใช้สื่อ

2) แนวทางการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) วัตุประสงค์ 2) วิธีดำเนินการ และ 3) เงื่อนไขความสำเร็จ แนวทางการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด

3) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนา, การนิเทศภายใน, การจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล

บทความ (ประกอบบทตัดย่อ)

บทนำ

การดําเนินงานนิเทศภายใน เป็นงานที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหารต้องเป็นบุคคลที่สามารถแสดงบทบาทในการนิเทศภายในได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บริหารจะต้องเป็นทั้งนักบริหารและนักวิชาการ มีความรู้ความสามารถในเชิงบริหารจัดการ และมีคุณสมบัติเป็นนักวิชาการทีรอบรู้ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งผู้บริหารจะต้องเป็นผู้บริหารมืออาชีพ มีความสามารถทั้งในเชิงบริหารและเชิงวิชาการควบคู่กันไป จึงจะนำองค์กรสู่ความสำเร็จได้ (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2545)

การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน จำเป็นต้องนำการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาร่วมด้วย เนื่องจากก่อให้เกิดการสร้างการรับรู้ระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดวิธีการนิเทศ และกิจกรรมการนิเทศที่เหมาะสมตามสภาพปัญหาและความต้องการ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีในการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้เรียนรู้ภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป (มุกดา เลขะวิพัฒน์, 2563)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ มีรูปแบบการดำเนินงานติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยมีขอบข่ายสาระสำคัญในการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ด้าน ตามตัวบ่งชี้และระดับคุณภาพ พร้อมทั้งนำประเด็นตัวบ่งชี้ของยุทธศาสตร์ในแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นิเทศติดตาม และประเมินผลการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์, 2563)

จากสภาพปัญหาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและครูต้องคำนึงถึงและพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการผลิตและการใช้สื่อ เพื่อพัฒนาคุณภาพการนิเทศภายในให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อสถานศึกษาต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการศึกษาของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

3. เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

วิธีการดำเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ใช้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีขั้นตอนในการดำเนินงานการวิจัย เป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น

1. ขั้นตอนการดำเนินการ

1.1 ผู้วิจัยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ แล้วนำมาสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ได้องค์ประกอบและตัวชี้วัดของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ด้านการผลิตและการใช้สื่อ 4) ด้านการวัดและประเมินผล

1.2 นำองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ มาใช้สร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น

1.3 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

1.4 วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ มาหาดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index)

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ จำนวน 4,218 คน

2.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ จำนวน 354 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จากการใช้เกณฑ์ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (บุญชม ศรีสะอาด, 2553) โดยผู้วิจัยได้ทำการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% และระดับความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่างที่ .05

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

3.1 แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ รายการ (Checklist) เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Type)

3.2 การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ

แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ มีวิธีการสร้างและหาคุณภาพ ดังนี้

1. ศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการสร้างแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า

2. ร่างแบบสอบถามโดยใช้ประเด็นองค์ประกอบและตัวชี้วัดที่ได้จากการศึกษามาเป็นกรอบการสร้างแบบสอบถาม

3. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความครอบคลุมของเนื้อหาแล้วนำข้อเสนอแนะที่ได้ไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

4. การตรวจคุณภาพของแบบสอบถาม โดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ผู้วิจัยนำแบบสอบถามฉบับร่างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แล้ว นำเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเหมาะสมและความชัดเจนของข้อคำถาม ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยวิธีการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาใช้เทคนิค IOC (Index of Item-Objective Congruence) หรือดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม

5. นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญแล้วนำไปทดลองใช้ เพื่อหาคุณภาพของแบบสอบถาม โดยนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับผู้บริหารและครู ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน

6. นำแบบสอบถามที่ทดลองใช้นำมาหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item–Total Correlation) คัดเลือกข้อคำถามที่มีค่า 0.20 ขึ้นไปใช้ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย โดยดูจากค่าความสัมพันธ์จากคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (Item Total Correlation) ข้อคำถามมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่างการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น ผู้วิจัยได้นำข้อคำถามที่มีค่าอำนาจจำแนกตามเกณฑ์ไปหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค (Cronbach’s Alpha Coefficient)

7. จัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4.1 ผู้วิจัยดำเนินการขอหนังสือจากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เพื่อขออนุญาตและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ จำนวน 354 คน

4.2 เมื่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วนำหนังสือที่ผ่านการพิจารณา เสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูล

4.3 ผู้วิจัยนำแบบสอบถามพร้อมหนังสือขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม จัดส่งไปยังสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทางออนไลน์

5. การจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากแบบสอบถาม ดังนี้

5.1 การจัดกระทำข้อมูล

5.1.1 ตรวจสอบจำนวนและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาแต่ละฉบับใช้วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ดังนี้

5.1.1.1 วิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ของแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพ เพศ อายุ ประสบการณ์ วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และ ค่าร้อยละ Percentage)

5.1.1.2 วิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 2 ของแบบสอบถาม ที่มีลักษณะข้อมูล ประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการดำเนินการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

5.2 การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

5.2.1 สถิติพื้นฐาน

5.2.1.1 ร้อยละ (Percentage)

5.2.1.2 ค่าเฉลี่ย (Mean)

5.2.1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)

5.2.2 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ

5.2.2.1 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) โดยใช้สูตรของครอนบาค (Cronbach) และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างคะแนนรายข้อคำถามกับคะแนนตามสูตรหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

5.2.2.2 การหาค่าความตรงด้านเนื้อหา (Content Validity) ของ แบบสอบถามโดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง (Index of item Objective Congruence: IOC)

5.3. วิเคราะห์ความต้องการความจำเป็น (Need Assessment) โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์มาหาดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index) เพื่อจัดลำดับความต้องการความจำเป็น

ตอนที่ 2 ศึกษา Best Practices โรงเรียนที่ปฏิบัติมที่เป็นเลิศด้านการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

1. ขั้นตอนการดำเนินการ

1. ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนละ 2 คน จำนวน 3 โรงเรียน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 6 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างซึ่งใช้คำถามที่ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของครู ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตำแหน่งทางการบริหาร ตำแหน่งทางวิชาการ คุณวุฒิสูงสุด สถานที่ทำงาน ประสบการณ์ในการทำงาน

ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

2.2 การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ

2.2.1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

2.2.2 สร้างเป็นข้อคำถามของแบบสัมภาษณ์

2.2.3 นำข้อคำถามของแบบสัมภาษณ์ที่สร้างได้ไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความถูกต้องของแบบสัมภาษณ์ สำนวนภาษา และปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา

2.2.4 นำแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นเรียบร้อยแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญ (ชุดเดิม)

ในการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย พิจารณาความสอดคล้องระหว่างประเด็นข้อคำถามในการสัมภาษณ์ กับวัตถุประสงค์และนิยามศัพท์เฉพาะ ในขั้นตอนนี้ใช้การวิเคราะห์ความสอดคล้อง (IOC : Index of Congruence) โดยผู้วิจัยเลือกข้อคำถามที่มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ขึ้นไป

2.2.5 ปรับปรุงแบบสัมภาษณ์ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปจัดทำเป็นแบบ สัมภาษณ์ฉบับสมบูรณ์

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ให้ข้อมูลและสัมภาษณ์ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์และจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีการจดบันทึก ใช้เครื่องบันทึกเสียงและกล้องถ่ายภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1 ขอหนังสือจากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ณ โรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 โรงเรียน

3.2 นำหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสัมภาษณ์ส่งถึงกลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมนัดหมายวันเวลาที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสะดวกในการให้สัมภาษณ์กับผู้วิจัย

3.3 ดำเนินการสัมภาษณ์ตามวันเวลาที่นัดหมายพร้อมเก็บบันทึกข้อมูล โดยละเอียด

4. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 นำข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกการสัมภาษณ์มาเรียบเรียง จัดระเบียบ ข้อมูล จัดกลุ่มเนื้อหาตามองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย

4.2 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

ขั้นตอนที่ 1 ยกร่างแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยดำเนินการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในระยะที่ 1 และการศึกษา Best Practices เกี่ยวกับการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล มาพัฒนาเป็นแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบยืนยันแนวทาง

1. ผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบยืนยันแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.1 ประเภทและลักษณะของเครื่องมือ

แบบบันทึกการสัมภาษณ์ ของผู้ทรงคุณวุฒิด้านความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

2.2 การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

2.2.1 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

2.2.2 ศึกษาวิธีการสร้างแบบสัมภาษณ์

2.2.3 ร่างแบบบันทึกการสัมภาษณ์ โดยใช้ประเด็นสำคัญของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ที่ได้จากการศึกษามาเป็นกรอบการสร้าง

2.2.4 นำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความถูกต้อง และปรับปรุงตามคำแนะนำ

2.2.5 นำแบบบันทึกการสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ (ชุดเดิม) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของข้อคำถาม โดยใช้เทคนิค IOC (Index of Congruence) โดยผู้วิจัยเลือกข้อคำถามที่มีค่าความสอดคล้อง ตั้งแต่ .60 ขึ้นไป

2.2.6 จัดทำแบบสัมภาษณ์ฉบับจริงและนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

3.1 ขอหนังสือราชการในการเก็บข้อมูลจากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ

3.2 นำหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสัมภาษณ์ส่งถึงผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมนัดหมายวันเวลาที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสะดวกในการให้สัมภาษณ์กับผู้วิจัย

3.3 ดำเนินการสัมภาษณ์ตามวันเวลาที่นัดหมายพร้อมเก็บบันทึกข้อมูล โดยละเอียด

4. การจัดกระทำกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ของแบบบันทึกการสัมภาษณ์

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

5.1 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

5.2 การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดย

1. ผู้ทรงคุณวุฒิ (ชุดเดิม) จำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.1 ประเภทและลักษณะของเครื่องมือ

แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยจำแนกข้อคำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert Scale)

2.2 การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

2.2.1 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

2.2.2 ศึกษาวิธีการสร้างแบบประเมินและออกแบบแบบประเมิน

2.2.3 ร่างแบบประเมินโดยใช้ประเด็นสำคัญของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ที่ได้จากการศึกษามาเป็นกรอบการสร้าง

2.2.4 นำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความถูกต้อง และปรับปรุงตามคำแนะนำ

2.2.5 นำแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ (ชุดเดิม) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของข้อคำถาม โดยใช้เทคนิค IOC (Index of Congruence) โดยผู้วิจัยเลือกข้อคำถามที่มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ขึ้นไป

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

3.1 ขอหนังสือราชการในการเก็บข้อมูลจากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ถึงผู้ทรงคุณวุฒิ

3.2 ดำเนินการเก็บข้อมูล ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

4. การจัดกระทำกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ในการตอบแบบประเมิน

4.2 กำหนดรหัส ให้คะแนน และบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ยคะแนนความเหมาะสม (บุญชม ศรีสะอาด, 2553)

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

5.1 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

5.2 สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

1. นำแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ (ฉบับสมบูรณ์) และและแบบสอบถามเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ เสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 10 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.1 ประเภทและลักษณะของเครื่องมือ

แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยจำแนกข้อคำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert Scale)

2.2 การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

2.2.1 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

2.2.2 ศึกษาวิธีการสร้างแบบประเมินและออกแบบแบบประเมิน

2.2.3 ร่างแบบประเมินโดยใช้ประเด็นสำคัญของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดย ที่ได้จากการศึกษามาเป็นกรอบการสร้าง

2.2.4 นำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบความถูกต้อง และปรับปรุงตามคำแนะนำ

2.2.5 นำแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ (ชุดเดิม) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของข้อคำถาม โดยใช้เทคนิค IOC (Index of Congruence) โดยผู้วิจัยเลือกข้อคำถามที่มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ขึ้นไป

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

3.1 ขอหนังสือราชการในการเก็บข้อมูลจากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ถึงผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 10 คน

3.2 ดำเนินการเก็บข้อมูล ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

4. การจัดกระทำกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ในการตอบแบบประเมิน

4.2 กำหนดรหัส ให้คะแนน และบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ยคะแนนความเหมาะสม (บุญชม ศรีสะอาด, 2553)

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

5.1 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

5.2 สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย

1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์

1.1 สภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ อยู่ในระดับมาก ด้านด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ด้านการผลิตและการใช้สื่อ อยู่ในระดับมาก และด้านด้านการวัดและ

ประเมินผล อยู่ในระดับมาก

1.2 สภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านด้านการผลิตและการใช้สื่อ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด

1.3 ความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ พบว่า ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการผลิตและการใช้สื่อ ตามลำดับ

2. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ พบว่า

2.1 แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ 2) วิธีดำเนินการ มี 4 ด้าน 28 วิธีดำเนินการ ดังนี้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 7 วิธีดำเนินการ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ มี 7 วิธีดำเนินการ ด้านการวัดและประเมินผล มี 7 วิธีดำเนินการ และด้านการผลิตและการใช้สื่อ มี 7 วิธีดำเนินการ และ 3) เงื่อนไขความสำเร็จ

2.2 ผลตรวจสอบยืนยันและความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล

1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านการผลิตและการใช้สื่อ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าบริบทของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์มีความพร้อมในการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลค่อนข้างเท่ากัน นอกจากนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ได้กำหนดให้โรงเรียนในสังกัดในระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้มีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นิเทศติดตาม และประเมินผลการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมรับการนิเทศ ติดตาม สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศศิกานต์ พันธ์โนราช (2561) ได้ศึกษาสภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ผลการศึกษา พบว่าสภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. สภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่าทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์มีความพร้อมในการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลมาก ด้วยเหตุนี้การนิเทศภายในของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ จึงมุ่งหวังเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสะท้อนผลการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา สอดคล้องกับงานวิจัยของ ภูมิพัฒน์ รัดอัน (2564) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง แนวทางการนิเทศภายในวิถีใหม่ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตลุ่มน้ำปาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ผลการวิจัย พบว่าสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

3. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์พบว่า ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ 2) วิธีดำเนินการ มี 4 ด้าน 28 วิธีดำเนินการ ดังนี้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 7 วิธีดำเนินการ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ มี 7 วิธีดำเนินการ ด้านการวัดและประเมินผล มี 7 วิธีดำเนินการ และด้านการผลิตและการใช้สื่อ มี 7 วิธีดำเนินการ และ 3) เงื่อนไขความสำเร็จ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศสังเคราะห์ได้องค์ประกอบตัวบ่งชี้ นำไปสร้างแบบสอบถามเก็บข้อมูล และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โรงเรียนที่ได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ อีกทั้งนำร่างแนวทางเข้าสู่การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้จึงได้ข้อมูลทั้งประกอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ กำหนดเป็นวิธีดำเนินการอย่างเป็นวิธีดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับงานวิจัย ของ พวงอ้อย ไชยดี (2564) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ (Coaching) สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้กำหนดการพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ (Coaching) สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) ความมุ่งหมาย 3) แนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ (Coaching) สำหรับสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบ 4) กลไกในการบริหารจัดการ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ

4. การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ผลการประเมินโดย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 10 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เพราะว่าสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ได้ดำเนินการในการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้เป็นประจำทุกปีการศึกษา จึงมีความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการนิเทศได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทิพวรรณ ถาวรโชติ (2564) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผล ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 สภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวัดและประเมินผล รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการผลิตและการใช้สื่อ แสดงให้เป็นว่าสถานศึกษามีความคาดหวังในการให้สถานศึกษามีการนิเทศด้านการวัดและประเมินผลให้ครูตระหนักถึงการเครื่องมือวัดผลที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่สำคัญ มาพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียนเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น และนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาใช้ในการนิเทศภายในสถานศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์ และตรงกับความต้องการของสถานศึกษามากที่สุด

1.2 ความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริหาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ พบว่าด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความต้องการพัฒนามากที่สุด รองลงมาคือด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการผลิตและการใช้สื่อ ดังนั้นสถานศึกษาควรให้ครูตระหนักถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพราะถือว่าเป็นหัวใจของการศึกษา เนื่องจากกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสิ่งที่จัดขึ้น จะช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่ได้รับในขณะปฏิบัติกิจกรรมนั้นจะช่วยทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้การนิเทศภายในภายในด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลเกิดประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของสถานศึกษามากที่สุด

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ในยุคดิจิทัลฯ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และเกิดประสบการณ์ใหม่ของผู้วิจัย

2.2 ควรศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลฯ เพื่อให้มีความหลากหลายในประเภทของงานวิจัยด้านการนิเทศและสามารถนาไปใช้ในสถานศึกษาได้อย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง

ทิพวรรณ ถาวรโชติ. (2564). รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณทิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,

มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พวงอ้อย ไชยดี. (2564). การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ (Coaching) สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาล

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา,

คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภูมิพัฒน์ รัดอัน. (2564). แนวทางการนิเทศภายในวิถีใหม่ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตลุ่มน้ำปาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษาอุดรธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(37) 253-262.

มุกดา เลขะวิพัฒน์. (2563). ตกผลึกความคิดชีวิตศึกษานิเทศก์ 30 ปี จากหลักการ ทฤษฎี สู่วิถีปฏิบัติ. แพร่: เลิศไพศาลการพิมพ์.

ศศิกานต์ พันธ์โนราช. (2561) สภาพการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายปิ่นมาลา จังหวัดสระแก้ว

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,

คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะที่ 1 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563–2565).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). สู่มิติการเป็นผู้บริหารมืออาชีพ. วารสารวิชาการ. 3(6) 70-75.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. New York: Harper Collins.

โพสต์โดย นาฏกนิษฐ์ ทิศทะษะ : [11 พ.ค. 2566 เวลา 15:51 น.]
อ่าน [2262] ไอพี : 1.1.246.65
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,719 ครั้ง
ช้อน-ส้อม จุ่มน้ำร้อนหม้อหุงข้าว ฆ่าเชื้อโรคไม่ตาย
ช้อน-ส้อม จุ่มน้ำร้อนหม้อหุงข้าว ฆ่าเชื้อโรคไม่ตาย

เปิดอ่าน 11,382 ครั้ง
ทีลอซู น้ำตกในฝัน ของนักผจญภัย
ทีลอซู น้ำตกในฝัน ของนักผจญภัย

เปิดอ่าน 13,150 ครั้ง
คู่มือกระตุ้นจินตนาการครูและผู้ปกครองโหลดฟรี
คู่มือกระตุ้นจินตนาการครูและผู้ปกครองโหลดฟรี

เปิดอ่าน 15,112 ครั้ง
หาฟังได้ยากยิ่ง คลิปคุณยายวัย 94 ปีท่อง "ก.ไก่-ฮ.นกฮูก" แบบโบราณ
หาฟังได้ยากยิ่ง คลิปคุณยายวัย 94 ปีท่อง "ก.ไก่-ฮ.นกฮูก" แบบโบราณ

เปิดอ่าน 12,083 ครั้ง
"โสม" ราชาแห่งสมุนไพร
"โสม" ราชาแห่งสมุนไพร

เปิดอ่าน 6,391 ครั้ง
เคยได้ยินหรือยัง!“หลักสูตรฐานสมรรถนะ”กุญแจยกระดับการศึกษาที่คนไทยต้องรู้จัก ให้ผู้เรียนเท่าทันความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
เคยได้ยินหรือยัง!“หลักสูตรฐานสมรรถนะ”กุญแจยกระดับการศึกษาที่คนไทยต้องรู้จัก ให้ผู้เรียนเท่าทันความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

เปิดอ่าน 6,015 ครั้ง
กรี๊ดสิครับ กรี๊ดเลย กรี๊ด ระบายมันออกมา "กรี๊ด" วิธีบำบัดที่ไม่ต้องเสียเงิน
กรี๊ดสิครับ กรี๊ดเลย กรี๊ด ระบายมันออกมา "กรี๊ด" วิธีบำบัดที่ไม่ต้องเสียเงิน

เปิดอ่าน 11,530 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2552

เปิดอ่าน 17,463 ครั้ง
ดวงอาทิตย์ (The Sun)
ดวงอาทิตย์ (The Sun)

เปิดอ่าน 19,765 ครั้ง
ต้นขาไก่ ใบหมักเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
ต้นขาไก่ ใบหมักเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา

เปิดอ่าน 10,498 ครั้ง
กระหึ่มยูทูบ! เพลงต้นกล้าของพ่อ ร้องโดย นักกีฬาทีมชาติไทย
กระหึ่มยูทูบ! เพลงต้นกล้าของพ่อ ร้องโดย นักกีฬาทีมชาติไทย

เปิดอ่าน 8,805 ครั้ง
กำหนดมาตรฐานใหม่เครื่องชาร์จ ครอบจักรวาล ใช้ได้ทุกยี่ห้อ
กำหนดมาตรฐานใหม่เครื่องชาร์จ ครอบจักรวาล ใช้ได้ทุกยี่ห้อ

เปิดอ่าน 10,703 ครั้ง
แอปเปิลเปิดตัว iPhone 5S และ iPhone 5C อย่างเป็นทางการ(10ก.ย.56)
แอปเปิลเปิดตัว iPhone 5S และ iPhone 5C อย่างเป็นทางการ(10ก.ย.56)

เปิดอ่าน 18,196 ครั้ง
ไม่ยากเกินความพยายาม 10 วิธีง่ายๆ ช่วยให้ลูกเก่งภาษา
ไม่ยากเกินความพยายาม 10 วิธีง่ายๆ ช่วยให้ลูกเก่งภาษา

เปิดอ่าน 16,332 ครั้ง
คลิปเณรน้อยอายุแค่ 3 ขวบ สวดมนต์ให้พรคล่องปรื๋อ (ชมคลิป)
คลิปเณรน้อยอายุแค่ 3 ขวบ สวดมนต์ให้พรคล่องปรื๋อ (ชมคลิป)

เปิดอ่าน 30,567 ครั้ง
PPT ประกอบการอบรมการนำกระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสในเขตภาคเหนือ
PPT ประกอบการอบรมการนำกระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสในเขตภาคเหนือ
เปิดอ่าน 15,962 ครั้ง
เดจาวู! ทฤษฎีภาพซ้อน หรือ ย้อนอดีต!
เดจาวู! ทฤษฎีภาพซ้อน หรือ ย้อนอดีต!
เปิดอ่าน 15,583 ครั้ง
ทำไม? คนเราถึงไม่ซื่อสัตย์
ทำไม? คนเราถึงไม่ซื่อสัตย์
เปิดอ่าน 11,282 ครั้ง
ทายนิสัยจากคำนาม ที่คุณเรียกแทนชื่อตัวเอง
ทายนิสัยจากคำนาม ที่คุณเรียกแทนชื่อตัวเอง
เปิดอ่าน 11,048 ครั้ง
ใส่ 8 ข้อ เขียนจดหมายสมัครงานให้สะดุดตา สะดุดใจ
ใส่ 8 ข้อ เขียนจดหมายสมัครงานให้สะดุดตา สะดุดใจ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ