ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้รายงาน ศิริพร พันธ์เพ็ชร
ปีการศึกษา 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมด้านความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก กับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร และของโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ ในการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตามประเด็นของโครงการ คือ 4.1) เพื่อประเมินผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก 4.2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีผลต่อการดำเนินการตามโครงการ และ 5) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างก่อน และหลังดำเนินโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 6 คน คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครู จำนวน 34 คน นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 398 คน และผู้ปกครองนักเรียนซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 398 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 867 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ แบบ CIPP Model โดยแบบประเมิน มี 4 ด้านได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน กับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษยโสธร และของโรงเรียน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือความเพียงพอของปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามขั้นตอน การดำเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามผลการดำเนินงานตามโครงการ และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการประเมินโครงการด้านผลผลิตผล ระหว่างก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยใช้ t test แบบ Dependent Sample test นำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการอธิบายและพรรณนาวิเคราะห์
ผลการประเมินโครงการปรากฏ ดังนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ในภาพรวม มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินปัจจัยของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตามประเด็นของโครงการ ดังนี้
4.1 ผลการประเมินผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตามความคิดเห็นของ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีผลต่อการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตามความคิดเห็นของ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. การเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างก่อนและหลังการดำเนินโครงการด้านผลผลิตผล พบว่า มีผลการประเมินโครงการหลังดำเนินการ สูงกว่าก่อนดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05