ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ
เด็กดีศรีราชประชา ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๔ วัดฉัททันต์สนาน
ผู้วิจัย ปรีดา เมฆรัตน์
ปีที่วิจัย ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อสำรวจความต้องการจำเป็นของการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะเด็กดีศรีราชประชาของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๔ วัดฉัททันต์สนาน ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบ การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ เด็กดีศรีราชประชา ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๔ วัดฉัททันต์สนาน ๓) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ เด็กดีศรีราชประชา ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๔ วัดฉัททันต์สนาน ประกอบด้วย ผลการบริหารแบบมีส่วนร่วม คุณลักษณะ เด็กดีศรีราชประชา ด้านซื่อสัตย์สุจริต จิตอาสา พอเพียง ความรับผิดชอบ และมีวินัย ๔) เปรียบเทียบผลความพึงพอใจของนักเรียน ของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๔ วัดฉัททันต์สนาน จำนวน ๒๒๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ทั้งสิ้นจำนวน ๑๐ ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
๑. ผลการสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง และครู พบว่า ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับมาก
๒. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม พบว่า รูปแบบมีโครงสร้างประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบ ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลผลิต มีความสอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบที่ส่งผลต่อการส่งเสริมคุณลักษณะ เด็กดีศรีราชประชา ด้านความซื่อสัตย์สุจริต จิตอาสา พอเพียง ความรับผิดชอบ และมีวินัย ผลการตรวจสอบรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
๓. ผลการเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ เด็กดีศรีราชประชา ด้านความซื่อสัตย์สุจริต จิตอาสา พอเพียง ความรับผิดชอบ และมีวินัยของนักเรียน ปรากฎผลดังนี้
๓.๑ ผลการเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามความเห็นของครู และผู้ปกครอง พบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยของปีการศึกษา ๒๕๖๔ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๓.๒ ผลการเปรียบเทียบด้านความซื่อสัตย์สุจริต จิตอาสา พอเพียง ความรับผิดชอบ และมีวินัยของนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยของปีการศึกษา ๒๕๖๔ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
๔. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยของปีการศึกษา ๒๕๖๔ ได้เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๓ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕