ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านคลองประทุน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านคลองประทุน” ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method Research) ที่ออกแบบเป็นแบบวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Methods)

มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองประทุน ในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองประทุน ในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 3) ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านคลองประทุนเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 4) ประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านคลองประทุนในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ดำเนินการวิจัย 2 วงรอบ คือวงรอบที่ 1 (R1D1) มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 วงรอบที่ 2 (R2D2) มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และระยะ

ที่ 4 การประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลพื้นฐานการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองประทุน ในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ประกอบด้วย

กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียน ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอน 3) การวัดและประเมินผล และ4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล

สภาพที่พึ่งประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

ผลการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น โดยภาพรวมพบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีค่า

ดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

จุดแข็ง และจุดอ่อนของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล เป็นจุดอ่อน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นจุดแข็งของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

2. ผลการพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนบ้านคลองประทุน ในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 พบว่า

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยะภาพทางดิจิทัลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 9 กลยุทธ์รอง และ 53 วิธีดำเนินการ ความสำเร็จของกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ซึ่งประเมินตามตัวชี้วัดกลยุทธ์ ตามกรอบกลยุทธ์การบริหารวิชาการ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ในภาพรวมส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม

3. ผลการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านคลองประทุนเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีผลการวิจัย 5 ประเด็น ดังนี้

3.1 ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้กลยุทธ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3.2 ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลก่อนและหลัง

การดำเนินการตามกลยุทธ์ พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการเรียนเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.3 ผลการประเมินพฤติกรรมและความมีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล หลังการดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 85.60 และระดับดี ร้อยละ 14.40

3.4 ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลหลัง

การดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารวิชาการ อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 48.57 ระดับดี ร้อยละ

48.57 และระดับพอใช้ ร้อยละ 2.86

3.5 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล หลัง

การดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารวิชาการ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาความพึงพอใจ

ในแต่ละกลยุทธ์ของนักเรียน พบว่า กลยุทธ์ที่ 3 พลิกฟื้นการวัดและประเมินผลเพื่อเสริมสร้าง

อัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านคลองประทุน เพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีผลการวิจัย 4 ประเด็น ดังนี้

4.1 ผลการวัดความสำเร็จของการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยะภาพทางดิจิทัล โดยประเมินตามตัวชี้วัดกลยุทธ์ ตามกรอบกลยุทธ์การบริหารวิชาการ พบว่าเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ผู้เรียนมีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล มีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลในด้านอัจฉริยภาพทางดิจิทัลและมีสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถสร้างเสริมสร้างพฤติกรรมและแนวคิดทางด้านดิจิทัล

4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการตามกลยุทธ์

การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล พบว่า ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตาม

กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลมีความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับ

มากที่สุด โดยมีกลยุทธ์ที่ 3 พลิกฟื้นการวัดและประเมินผลเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล

ของนักเรียน เป็นลำดับที่ 1 กลยุทธ์ที่ 2 ปรับกระบวนทัศน์การจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียน กลยุทธ์ที่ 4 ขับเคลื่อนการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี

เพื่อการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และกลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับหลักสูตร สถานศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับ

4.3 การประเมินอัจฉริยภาพทางดิจิทัลเมื่อผ่านไป 1 เดือน พบว่า พฤติกรรมและแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัลของนักเรียนหลังการดำเนินการตามกลยุทธ์ อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 100 แยกเป็นอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 87.80 และระดับดี ร้อยละ 14.4 ส่วนทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดอัจฉริยภาพทางดิจิทัล พบว่า อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีมาก แยกเป็นอยู่

ในระดับดีมาก ร้อยละ 74.29 และระดับดี ร้อยละ 21.05

4.4 ประโยชน์ที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัลแยกตามกลุ่มดังนี้

กลุ่มผู้เรียนพบว่าผู้เรียนรู้และเข้าใจอันตรายและผลกระทบด้านสุขภาพอันเกิดจากการใช้

เทคโนโลยีดิจิตอลไม่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญและการจัดสรรการใช้เวลากับการใช้สื่อดิจิทัล

ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในการสื่อสารและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะการใช้สื่อดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม

มีพัฒนาการทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

กลุ่มครูผู้สอนพบว่าครูผู้สอนมีความรู้มีความมั่นใจและเกิดทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องมีโครงการตามกลยุทธ์การบริหารวิชาการที่เสริมสร้างให้นักเรียนมีอัจฉริยภาพทางดิจิตอลมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโซเชียลจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรงเรียนบ้านคลองประทุนมีหลักสูตรและคู่มือการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพทางดิจิทัล เกิดประโยชน์ที่ทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาครู สามารถพัฒนานักเรียนให้มีอัจฉริยภาพทางดิจิทัล เกิดการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารในระบบงานต่าง ๆ ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมถึงการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้องและรวดเร็วทำให้ผู้ปกครองชุมชนและหน่วยงานในท้องถิ่นให้การยอมรับภาพการทำงานที่ทันสมัย

ชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการใช้กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างอัจฉริยภาพ

ทางดิจิทัล โดยชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เนื่องจากชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์ รับรู้และรับผิดชอบร่วมกับผู้วิจัย ครู และกรรมการดำเนินงานจึงเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกลยุทธ์เกิดการขับเคลื่อนร่วมกันในโรงเรียน

คำสำคัญ การพัฒนา กลยุทธ์ การบริหารวิชาการ อัจฉริยภาพทางดิจิทัล

โพสต์โดย แตงโม : [21 พ.ค. 2567 (12:38 น.)]
อ่าน [478] ไอพี : 1.2.249.46
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 20,562 ครั้ง
ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ

เปิดอ่าน 26,595 ครั้ง
เผย 5 สมุนไพร ลดความดันโลหิตสูง ที่คุณคาดไม่ถึง
เผย 5 สมุนไพร ลดความดันโลหิตสูง ที่คุณคาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 12,562 ครั้ง
ภัยร้ายจากควันบุหรี่
ภัยร้ายจากควันบุหรี่

เปิดอ่าน 13,596 ครั้ง
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย

เปิดอ่าน 10,951 ครั้ง
จะให้ลูกเล่นกีฬาให้เก่ง ต้องฝึกทักษะควบคุมวัตถุ ตั้งแต่ตอน10 ขวบ
จะให้ลูกเล่นกีฬาให้เก่ง ต้องฝึกทักษะควบคุมวัตถุ ตั้งแต่ตอน10 ขวบ

เปิดอ่าน 21,506 ครั้ง
การใช้ใบเสร็จรับเงินจากช่องทางการให้บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานในการประกอบการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ว 34)
การใช้ใบเสร็จรับเงินจากช่องทางการให้บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานในการประกอบการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ว 34)

เปิดอ่าน 55,858 ครั้ง
เผยแพร่ตัวอย่าง SAR สถานศึกษา โรงเรียนหนองอ้อวิทยาคม
เผยแพร่ตัวอย่าง SAR สถานศึกษา โรงเรียนหนองอ้อวิทยาคม

เปิดอ่าน 18,135 ครั้ง
ดวงจันทร์ (Moon)
ดวงจันทร์ (Moon)

เปิดอ่าน 70,909 ครั้ง
มหัศจรรย์ เลข 11
มหัศจรรย์ เลข 11

เปิดอ่าน 23,787 ครั้ง
ประวัติ ความเป็นมาของ "วันเด็กแห่งชาติ"
ประวัติ ความเป็นมาของ "วันเด็กแห่งชาติ"

เปิดอ่าน 13,726 ครั้ง
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. ๒๕๕๕
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. ๒๕๕๕

เปิดอ่าน 90,260 ครั้ง
สมุนไพรกำจัดแมลง
สมุนไพรกำจัดแมลง

เปิดอ่าน 10,726 ครั้ง
สักการะเกจิชื่อดัง... ตามหาผู้นำต้นยางต้นแรกมาปลูกในตรัง แวะชิมหมูย่างเมืองตรัง
สักการะเกจิชื่อดัง... ตามหาผู้นำต้นยางต้นแรกมาปลูกในตรัง แวะชิมหมูย่างเมืองตรัง

เปิดอ่าน 11,899 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2552

เปิดอ่าน 9,016 ครั้ง
15 นาทีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
15 นาทีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

เปิดอ่าน 12,257 ครั้ง
พ่อแม่ควรแอด เฟซบุ๊ก Facebook ลูกไหม
พ่อแม่ควรแอด เฟซบุ๊ก Facebook ลูกไหม
เปิดอ่าน 9,235 ครั้ง
ตรุษจีนกับอาจารย์ช้าง ตอน เก็บกวาดบ้านเสริมฮวงจุ้ย เฮงๆรวยๆ
ตรุษจีนกับอาจารย์ช้าง ตอน เก็บกวาดบ้านเสริมฮวงจุ้ย เฮงๆรวยๆ
เปิดอ่าน 15,426 ครั้ง
ไขมันพืช (น้ำมันปาล์ม) สาเหตุหนึ่งของอาการป่วยทางสมอง
ไขมันพืช (น้ำมันปาล์ม) สาเหตุหนึ่งของอาการป่วยทางสมอง
เปิดอ่าน 15,899 ครั้ง
เพราะเหตุใดขณะที่ต้มไข่ จึงมีฟองอากาศลอยออกมา
เพราะเหตุใดขณะที่ต้มไข่ จึงมีฟองอากาศลอยออกมา
เปิดอ่าน 53,453 ครั้ง
เผยแพร่ตัวอย่างเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2561)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เผยแพร่ตัวอย่างเอกสารประกอบหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2561)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ