ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะ
การเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวฐานิตา ศิลารักษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
ปีที่ทำวิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะ การเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ประเมินรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูผู้สอน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี และศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และทดลองนำร่องเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการสอน โดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการสอน โดยสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียน จำนวน 40 คน และครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี จำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า 1) ด้านนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่จะมีปัญหาในแง่ของการเชื่อมโยงเนื้อหาทางคณิตศาสตร์หรือเนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการแก้สถานการณ์ นักเรียนไม่สามารถเขียนแสดงวิธีการหาคำตอบได้อย่างชัดเจน การดำเนินการแก้ปัญหาไม่มีความเป็นระบบ และยังขาดการสรุปคำตอบให้สอดคล้องกับสิ่งที่โจทย์ปัญหาต้องการทราบ 2) ด้านครูผู้สอน ครูผู้สอนใช้รูปแบบการสอนเดิม ๆ ยึดเอกสารประกอบการสอนเป็นหลัก จากหนังสือแบบเรียนสำนักพิมพ์ต่าง ๆ และวัดผลประเมินผลจากการทดสอบเป็นหลัก ขาดแนวคิดหรือทฤษฎีที่นำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ
2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น คือ การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมสรุป และ ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล และ 5) การวัดและประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68 , S.D. = 0.43) ผลการทดลองนำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้พบว่า รูปแบบ การสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.55/83.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนพบว่า ทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน สูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์แบบบูรณาการเชิงเนื้อหาเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.60 , S.D. = 0.48) และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.61 , S.D. = 0.51)