ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของ
โรงเรียนอนุบาลบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
ผู้วิจัย นายพลธาวิน วัชรทรธำรงค์ กศ.ด. สาขาการบริหารการศึกษา มศว.
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบางละมุง วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ระยะเวลาวิจัย ปีการศึกษา 2564-2567
บทคัดย่อวิจัย
การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ 1) เพื่อศึกษา
องค์ประกอบและตัวชี้วัดการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน
อนุบาลบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและ
สภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อสร้างและ
พัฒนารูปแบบองค์กรแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ
องค์กรแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยใช้INNOVATIVE Model และ 5) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาใน
ศตวรรษที่ 21 และประเมินคุณภาพสถานศึกษา ของโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลบางละ
มุง ระหว่างปีการศึกษา 2564-2567 จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน
2) คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา 57 คน 3) นักวิชาการและศึกษานิเทศห์ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 คน ซึ่งใช้
ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง และ 4) นักเรียน 1,197 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน 1,197 คน ซึ่งนักเรียนและ
ผู้ปกครองใช้การสุ่มตัวแทนแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสรุปผลการศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม
ผู้เชี่ยวชาญ แบบตรวจสอบความสอดคล้องของความคิดเห็น (IOC) แบบประเมินคุณภาพสถานศึกษา และ
แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบองค์กรแห่งนวัตกรรมสู่
คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการเป็นองค์กรแห่ง
นวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 พบว่า มีองค์ประกอบ 8 ด้าน ได้แก่ 1) กลยุทธ์มุ่งนวัตกรรม 2) วัฒนธรรมและ
บรรยากาศเชิงนวัตกรรม 3) โครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อนวัตกรรม 4) ทีมนวัตกรรม 5) ผู้นำนวัตกรรม 6)
ทรัพยากรสนับสนุนนวัตกรรม 7) เครือข่ายนวัตกรรม และ 8) การจัดการความรู้นวัตกรรม
2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม
สู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ก่อนการพัฒนา พบว่า มีสภาพปัจุบันของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมโดยรวมอยู่
ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ทุกด้านมี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมสู่
คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลบางละมุง ก่อนการพัฒนา พบว่า มีสภาพที่พึง
ประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับ
จากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 3 ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพ
สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี
เขต 3 จากการดำเนินงานทำให้ได้รูปแบบ INNOVATIVE Model ตามขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
(Insightful Analysis) 2) ขั้นวางแผนองค์กร (Navigated Strategy Planning) 3) ขั้นการนำองค์กร (Next
Gen Leadership) 4) ขั้นการจัดการองค์กร (Operational Management) 5) ขั้นการผลิต ใช้นวัตกรรมและ
เผยแพร่ผลงานองค์กร (Value Driven Innovation) 6) ขั้นการประเมินและควบคุมองค์กร (Assessment
and Control) 7) ขั้นการเชื่อมโยงเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Teamwork & Network) 8) ขั้นการสร้าง
วัฒนธรรมองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovation Culture) 9) ขั้นการสนับสนุนทรัพยากรและเทคโนโลยีเพื่อ
นวัตกรรม (Vital Resource & Technology) และ 10) ขั้นการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรด้านนวัตกรรม
(Excellent Development)
4. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 4 ผลการใช้รูปแบบองค์กรแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาใน
ศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 หลังจาก
นำรูปแบบไปใช้พัฒนางานแล้ว โดยภาพรวมพบว่า สถานศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย
ด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ผลการพัฒนาทุกด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู 2) ภาวะผู้นำและการ
เปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมของผู้บริหาร 3) การนิเทศ ติดตามและประเมินผลของผู้บริหาร 4) คุณภาพการ
บริหารจัดการของสถานศึกษา และ 5) คุณภาพและนวัตกรรมของผู้เรียน ตามลำดับ
5. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 5 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงาน
ตามรูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และผลการประเมินคุณภาพ
สถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี
เขต 3 ซึ่งสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้
5.1 ผลการศึกษาความความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบ
องค์การแห่งนวัตกรรมสู่คุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยภาพรวม หลังการพัฒนา อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย
ด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ผลการพัฒนาทุกด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
โดยมีค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก ได้แก่ รูปแบบองค์กรแห่งนวัตกรรม ขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กร และผลการ
ดำเนินงานขององค์กรแห่งนวัตกรรม และอันดับสุดท้าย ได้แก่ มิติองค์กรแห่งนวัตกรรม
5.2 ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนอนุบาล
บางละมุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยภาพรวม หลังการพัฒนา อยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ผลการพัฒนาทุกด้านอยู่ใน
ระดับมากถึงมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ย 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) คุณภาพครู (Good Teacher) 2) คุณภาพผู้เรียน
(Good Student) 3) คุณภาพผู้บริหาร (Good Administrator) และคุณภาพสถานศึกษา (Good School)