ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมTechnology  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้ smartphone ที่ปลอดภัยกว่า


Technology 28 พ.ย. 2555 เวลา 07:23 น. เปิดอ่าน : 12,131 ครั้ง
สี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้ smartphone ที่ปลอดภัยกว่า

Advertisement

 

สี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้ smartphone ที่ปลอดภัยกว่า


           
เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าของโทรศัพท์มือถือสมัยใหม่หมายความว่าการทำโทรศัพท์หายจะไม่ใช่แค่การสูญหายของรายชื่อเบอร์ติดต่อหรือข้อความในฐานข้อมูลของมือถืออีกต่อไป และถึงแม้คุณจะไม่ได้ใช้มือถือเข้าอินเตอร์เน็ตหรือเก็บข้อมูลลับเฉพาะ คุณก็ยังมีสิทธิ์ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรยุคดิจิตอลหากไม่ป้องกันมือถือให้รัดกุม วันนี้เราได้รวบรวมวิธีรับมือกับภัยเงียบจากการใช้ smartphone มาแนะนำ เพื่อให้ผู้ใช้ smartphone มั่นใจได้ว่าไม่ได้กำลังตกเป็นเหยื่อของผู้ประสงค์ร้ายที่มีจำนวนมากขึ้นทุกที

 
การรักษาความปลอดภัยเบื้องต้นด้วยรหัสล็อคโทรศัพท์
            การล็อคหน้าจอเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ช่วยยับยั้งไม่ให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราได้โดยไม่ได้รับอนุญาต หากมือถือถูกวางทิ้งไว้หรือสูญหาย โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการปลดล็อคหน้าจอเพื่อเข้าถึงข้อมูลด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัยการกดรหัส แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ pin code หรือรหัสผ่านก็เป็นวิธีป้องกันที่ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด
            แน่นอนว่า ยิ่งรหัสรักษาความปลอดภัยที่ตั้งไว้ในโทรศัพท์ง่ายต่อการจดจำเท่าไหร่ความปลอดภัยก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น การล็อคโทรศัพท์มือถือเป็นขั้นตอนรักษาความปลอดภัยเบื้องต้นที่ไม่ได้หยุดยั้งผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาจใช้วิธีขโมยซิมการ์ดเพื่อใช้งานในมือถือเครื่องอื่นได้ เพราะฉะนั้น การตั้งระบบล็อคที่ซิมการ์ดสำหรับการเข้าใช้งานก็เป็นมาตรการเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง


การเสริมความปลอดภัยอีกขั้นด้วยซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลลับเฉพาะ
            การป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีใช้มือถือด้วยการเข้ารหัสอาจไม่เพียงพอสำหรับโทรศัพท์มือถือสมัยใหม่ที่มีศักยภาพในการใช้งานเกือบเทียบเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดย่อม

เพราะเซียนมือถือสามารถกู้ข้อมูลใน smartphone ได้อย่างง่ายดายด้วยการถอดมีเดียการ์ดออกมาหรือเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการรองรับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนนี้จึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

            smartphone ชั้นนำอย่าง BlackBerry หรือ iPhone ได้พัฒนาเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือไปไกลกว่าการพึ่งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาแล้ว ในเวลานี้ ระบบรักษาความปลอดภัยในตัวของ BlackBerry รองรับทั้งการใช้งานส่วนตัวและการใช้งานเชิงธุรกิจ ซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานส่วนบุคคลจะช่วยการันตีความปลอดภัยของข้อมูลในโทรศัพท์และมีเดียการ์ดของผู้ใช้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันภัยคุกคามทางอีเมลจากบรรดาอีเมลขยะ ไวรัสหรือมัลแวร์ได้ ในขณะที่ซอฟต์แวร์อย่าง BlackBerry Enterprise Server และ BlackBerry Enterprise Server Express ก็จะทำหน้าที่ปกป้องข้อมูลขององค์กรใน smartphone ให้มีความปลอดภัยรัดกุม ส่วนทางฝั่ง iPhone ก็มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหลายรูปแบบให้เลือกด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารหัสข้อมูล เครือข่ายส่วนตัวเสมือน การลบข้อมูลอุปกรณ์ระยะไกล การล็อคแอพพลิเคชั่นด้วยรหัสผ่าน หรือการแยกส่วนของข้อมูลในเครื่อง


การระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของเครือข่ายไร้สายและบลูทูธ
           

            จะมีสักกี่คนรู้ว่าสัญญาณ wireless ที่เชื่อมต่อ smartphone กับระบบเครือข่ายไร้สายจะนำภัยมาสู่ข้อมูลส่วนตัวได้ วิธีลดความเสี่ยงอันดับแรกก็คือการปิดสัญญาณ wireless ทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์รองรับสัญญาณโทรศัพท์ไม่ได้ถูกออกแบบหรือติดตั้งให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายใกล้เคียงโดยอัตโนมัติ

            นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังสำหรับการใช้บริการเครือข่าย wireless เนื่องจากเวลานี้มีเทคนิคกลโกงที่เรียกว่า Evil Twin ด้วยการสร้าง access point ปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกให้เข้าใช้ โดยตั้งชื่อให้เหมือนเครือข่ายของจริงซึ่งเป็นที่รู้จัก หลังจากนั้นจะใช้โปรแกรมดักจับข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่หลงเข้ามา ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนทำการเชื่อมต่อสัญญาณ wireless ในที่สาธารณะ การใช้บลูทูธก็เช่นเดียวกัน แม้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็กันไว้ดีกว่าแก้ด้วยการตั้งค่าบลูทูธให้เป็น non-discoverable โหมด เพื่อให้เครื่องอื่นรอบข้างในรัศมีสแกนไม่เจอ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการตอบรับคำเชิญชวนจากแหล่งสัญญาณแปลกปลอมที่ไม่คุ้นเคยผ่านบลูทูธด้วย


การดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเป็นดาบสองคม
            การติดตั้งแอพพลิเคชั่นเป็นอีกหนทางจารกรรมข้อมูลที่ต้องระวัง ทุกครั้งที่ทำการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่ลงมือถือ ผู้ใช้ smartphone จึงควรให้ความสำคัญกับข้อกำหนดในการติดตั้งซอฟต์แวร์ด้วย ที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจากแหล่งที่ไม่คุ้นเคย หรือถ้าจะให้ปลอดภัยแน่นอน แนะนำให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ทางการที่รวบรวมแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆจะดีที่สุด

            ในทางกลับกัน แอพพลิเคชั่นจากผู้ผลิตมือถือชั้นแนวหน้าหลายค่ายที่มีให้ทั้งดาวน์โหลดฟรีและเสียเงินก็เป็นทางเลือกในการยกระดับความปลอดภัยให้กับ smartphone ได้อีกทางหนึ่ง ตัวอย่างที่น่าสนใจก็เช่น Lookout Mobile Security แอพพลิเคชั่นสำหรับ iPhone และ Android ที่ช่วยกลั่นกรองความปลอดภัยของเครือข่ายไร้สาย แอพพลิเคชั่นหรือลิงค์แปลกปลอม ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ใช้ทำธุรกรรมทางการเงินกับบริการธนาคารออนไลน์ได้อย่างอุ่นใจโดยไม่ต้องคอยกังวลเรื่องการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัว นอกจากนี้ก็มีแอพพลิเคชั่นอย่าง SmrtGuard Mobile Security ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของเครื่อง BlackBerry ห่างไกลจากการถูกไวรัสมือถือหรือสปายแวร์โจมตีข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งตัดความรำคาญจากการรบกวนของข้อความขยะด้วย






 


สี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้ smartphone ที่ปลอดภัยกว่าสี่ข้อควรระวังเพื่อการใช้smartphoneที่ปลอดภัยกว่า

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร


เปิดอ่าน 175,022 ครั้ง
ประโยชน์ของ ADSL

ประโยชน์ของ ADSL


เปิดอ่าน 14,867 ครั้ง
ประวัติโทรทัศน์ไทย

ประวัติโทรทัศน์ไทย


เปิดอ่าน 74,880 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สุดยอด "สุวรรณภูมิ-พารากอน" คว้าแชมป์สถานที่ที่มีคนแชร์รูปผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในปี 2012

สุดยอด "สุวรรณภูมิ-พารากอน" คว้าแชมป์สถานที่ที่มีคนแชร์รูปผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในปี 2012

เปิดอ่าน 10,564 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
กูเกิล เผยอันดับคำค้นหายอดนิยมของคนไทย ประจำปี 2014
กูเกิล เผยอันดับคำค้นหายอดนิยมของคนไทย ประจำปี 2014
เปิดอ่าน 11,521 ☕ คลิกอ่านเลย

แอปเปิลเปิดตัว iPhone 5S และ iPhone 5C อย่างเป็นทางการ(10ก.ย.56)
แอปเปิลเปิดตัว iPhone 5S และ iPhone 5C อย่างเป็นทางการ(10ก.ย.56)
เปิดอ่าน 10,703 ☕ คลิกอ่านเลย

เผย"แรม"รุ่นใหม่-มาตรฐานใหม่ต้องเก็บความจำไว้ได้แม้ไม่มีไฟฟ้า
เผย"แรม"รุ่นใหม่-มาตรฐานใหม่ต้องเก็บความจำไว้ได้แม้ไม่มีไฟฟ้า
เปิดอ่าน 9,428 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
เปิดอ่าน 175,022 ☕ คลิกอ่านเลย

อะโดบีเผยเอเชีย-แปซิฟิกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตสูงสุดในโลก
อะโดบีเผยเอเชีย-แปซิฟิกใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตสูงสุดในโลก
เปิดอ่าน 8,526 ☕ คลิกอ่านเลย

ไทยอันดับ 3 ของเอเชีย ถ่ายเซลฟี่ในรถ
ไทยอันดับ 3 ของเอเชีย ถ่ายเซลฟี่ในรถ
เปิดอ่าน 9,040 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เป็นหนี้บัตรเครดิต ธนาคารยึดเงินจากบัญชีเงินเดือนลูกหนี้ได้หรือไม่?
เป็นหนี้บัตรเครดิต ธนาคารยึดเงินจากบัญชีเงินเดือนลูกหนี้ได้หรือไม่?
เปิดอ่าน 21,346 ครั้ง

"เสียงกู่จากครูใหญ่" หนังสั้นที่ปลุกพลังผู้เสียสละ เพื่อการศึกษา อนาคตของชาติ
"เสียงกู่จากครูใหญ่" หนังสั้นที่ปลุกพลังผู้เสียสละ เพื่อการศึกษา อนาคตของชาติ
เปิดอ่าน 40,121 ครั้ง

สมองได้อะไรจากการออกกำลังกายบ้าง?
สมองได้อะไรจากการออกกำลังกายบ้าง?
เปิดอ่าน 11,811 ครั้ง

6 จุดที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังลับในบ้าน ที่ต้องเร่งกำจัดก่อนจะบั่นทอนชีวิตทุกวัน
6 จุดที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังลับในบ้าน ที่ต้องเร่งกำจัดก่อนจะบั่นทอนชีวิตทุกวัน
เปิดอ่าน 3,309 ครั้ง

โปรแกรมการวิเคราะห์การหาค่า t score เหมาะสำหรับทำผลงานวิชาการเกณฑ์ใหม่
โปรแกรมการวิเคราะห์การหาค่า t score เหมาะสำหรับทำผลงานวิชาการเกณฑ์ใหม่
เปิดอ่าน 291,645 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ