ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมTechnology  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แอบดูไลน์ เป็นไปได้หรือไม่


Technology 26 ธ.ค. 2557 เวลา 07:04 น. เปิดอ่าน : 16,321 ครั้ง
Advertisement

แอบดูไลน์ เป็นไปได้หรือไม่

Advertisement

❝ จากกระแสข่าวนี้ทำให้เกิดการส่งข้อความต่อ ๆ กันไปในไลน์อีกหลาย ๆ ข้อความในทำนองว่าให้ลบหรืออย่าส่งต่อข้อความทำนองดังกล่าว เพราะกระทรวงไอซีทีกำลังแอบดูอยู่ วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องนี้ดูครับ ❞

แอบดูไลน์เป็นไปได้หรือไม่ - 1001

สวัสดีครับ ในสัปดาห์นี้มีข่าวน่าตกใจในแวดวงไอทีเรื่องหนึ่งเกิดขึ้น คือเรื่องที่มีกระแสข่าวว่ากระทรวงไอซีทีนั้นมีการสอดส่องดูว่ามีการส่งข้อความที่ผิดกฎหมายในแอพพลิเคชั่น “ไลน์” โดยเฉพาะในเรื่องหมิ่นประมาท หมิ่นสถาบัน หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่

จากกระแสข่าวนี้ทำให้เกิดการส่งข้อความต่อ ๆ กันไปในไลน์อีกหลาย ๆ ข้อความในทำนองว่าให้ลบหรืออย่าส่งต่อข้อความทำนองดังกล่าว เพราะกระทรวงไอซีทีกำลังแอบดูอยู่ วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องนี้ดูครับ ว่าการสอดส่องไลน์นั้นเป็นอย่างไร เป็นไปได้จริงหรือไม่ และเราควรจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

ก่อนอื่นเลยต้องอ้างอิงถึงข่าวล่าสุดก่อนครับ ในวันที่กำลังเขียนบทความอยู่นี้ ทางบริษัท Naver ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Line Corp. ของประเทศญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของแอพพลิเคชั่นไลน์ ก็ได้ออกมาชี้แจงว่าบริษัทไม่มีการตรวจสอบข้อมูลการส่งข้อความในไลน์โดยรัฐบาลไทย และบริษัทไลน์ประเทศไทยเองก็ออกมายืนยันว่าบริษัทไม่ได้เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ให้กับรัฐบาล และหากจะมีการเปิดเผยโดยบริษัท ก็ต้องมีหมายศาลและมีการติดต่อไปยัง Line Corp. ของประเทศญี่ปุ่นเสียก่อน และบริษัทไลน์ยึดถือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น รมว.ไอซีทีเองก็ออกมาให้ข่าวว่าเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของการให้ข่าว โดยทางกระทรวงไอซีทีไม่มีนโยบายไปกดดันและไม่ได้มีการขอข้อมูลจากบริษัทไลน์ตามที่เป็นข่าว ส่วนการจับกุมผู้กระทำผิดที่ผ่านมาใช้ข้อมูลข้อความแชตจากผู้แจ้งความเป็นหลักฐาน

เราจะเห็นว่า การให้ข่าวของทั้งทางกระทรวงไอซีทีและทางไลน์เองนั้นเป็นไปในทางเดียวกันคือ การดักฟังหรือแอบดูไลน์โดยกระทวงไอซีทีนั้นยังไม่ได้เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ แต่หลายท่านอ่านแล้วอาจจะสงสัยว่าในเนื้อข่าวไม่เห็นพูดเรื่องดักฟังเลย ว่าเป็นไปได้หรือไม่ เหตุผลหนึ่งที่เนื้อข่าวไม่ได้กล่าวถึงก็คือ การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ซึ่งก็คือการที่ข้อมูลที่เราส่งออกจากแอพพลิเคชั่นไลน์นั้นถูกเข้ารหัสโดยอัตโนมัติด้วยตัวไลน์เอง และการถอดรหัสนั้นก็ทำที่ปลายทางของการส่งข้อมูล การเข้ารหัสดังกล่าวนั้นทำให้ผู้ที่ดักจับข้อความระหว่างการส่งไม่สามารถเข้าใจหรืออ่านข้อความได้

โดยปกติแล้ว การส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล (เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือเกตเวย์สำหรับส่งข้อมูลของประเทศไทย หรือผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ) มีความสามารถที่จะดักฟัง “ข้อมูล” ที่มีการส่งไปมาได้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าถ้าเราเข้ารหัสข้อมูลดังกล่าว คนที่ดักฟังนั้นก็จะไม่เข้าใจตัว “เนื้อหา” ในข้อมูลดังกล่าวนั่นเอง โดยไลน์เองนั้นก็ได้ระบุว่าตัวแอพพลิเคชั่นมีการเข้ารหัสข้อความที่ส่งทั้งหมด ไม่ว่าจะส่งผ่านทางเครือข่ายไวไฟ( wifi )หรือทางเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย ทำให้สุดท้ายหากกระทรวงไอซีทีหรือคนอื่น ๆ ต้องการดูข้อมูลนั้น ก็จะต้องติดต่อไปยังผู้ที่มีกุญแจในการถอดรหัส ซึ่งก็คือบริษัทไลน์นั่นเอง

เราก็พอจะสบายใจได้เล็กน้อยว่าการดักฟังข้อมูลโดยตรงนั้นน่าจะเป็นไปได้ยาก แต่อย่างไรก็ตาม การขอความร่วมมือโดยรัฐบาลไปยังบริษัท Line Corp. นั้นก็ยังเป็นไปได้อยู่ ในเรื่องนี้ แนวทางปฏิบัติของบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องเก็บข้อมูลของผู้ใช้ที่มีการเข้ารหัส ก็มักจะนำเสนอรายงานที่เรียกว่า Transparency Report ซึ่งจะระบุถึงการร้องขอเกี่ยวข้อมูลผู้ใช้ หรือการปิดกั้นเนื้อหาจากหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น รายงานของ Google นั้นสามารถดูได้ที่ http://www.google.com/transparencyre port/ ส่วนของ facebook นั้นดูได้ที่ https://govtrequests.facebook.com/ ครับ จากรายงานดังกล่าว จะทำให้เราทราบได้ว่ามีการร้องขอข้อมูลจากหน่วยงานราชการหรือไม่ น่าเสียดายที่ปัจจุบันบริษัทไลน์นั้นยังไม่ได้ออกรายงานดังกล่าว

ประเด็นที่สำคัญในข่าวอีกเรื่องก็คือ การจับกุมผู้กระทำผิดนั้นใช้วิธีเก็บหลักฐานที่ได้มาจากผู้แจ้งความโดยตรง จุดนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะว่าการใช้ระบบเข้ารหัสข้อมูลนั้น ถึงแม้จะป้องกันการดักฟังข้อมูลได้ แต่ก็จะเป็นการป้องกันเฉพาะการดักฟังผ่านเครือข่ายเท่านั้น หลักฐานของการส่งข้อความก็ยังปรากฏในโทรศัพท์ของเราและของผู้รับปลายทางอยู่ดี จะเห็นได้ว่าการเข้ารหัสข้อมูลนั้นไม่ใช่ยาวิเศษที่จะปกปิดการกระทำผิดได้ ตรงจุดนี้ก็ต้องถือว่าการที่บอกให้ลบข้อความในไลน์ที่สุ่มเสี่ยงนั้นก็เป็นคำแนะนำที่สมเหตุสมผลอยู่

มีตัวอย่างที่น่าสนใจอยู่อย่างหนึ่งก็คือ มีเว็บไซต์ที่ชื่อ Silk Road ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายของผิดกฎหมาย ที่มีการใช้วิธีการเข้ารหัส พร้อมทั้งใช้ระบบปกปิดตัวตนขั้นสูง การเข้าถึงเว็บไซต์ดังกล่าวทำได้ยาก แต่อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ดังกล่าวก็ถูกจับและปิดตัวไปในที่สุด เพียงเพราะว่าผู้ดูแลระบบนั้น (ซึ่งปัจจุบันยังเป็นผู้ต้องสงสัยอยู่ เพราะการพิจารณาคดียังไม่เสร็จสิ้น) ทำผิดพลาดในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัส เช่น เผลอเปิดเผยตัวตนบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ได้ปกปิดตัวตน เป็นต้น ซึ่งหลังจากนั้นแล้ว การเข้ารหัสและการปกปิดตัวตนก็ไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไร เพราะข้อมูลระบุตัวตนของผู้ดูแลนั้นหลุดไปแล้วนั่นเอง

สุดท้ายนี้ ก็ขอฝากไว้ว่า ในที่สุดแล้วเราก็ต้องรู้ว่าสิ่งที่เรากระทำนั้นผิดหลักกฎหมายหรือไม่ เราควรจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายสารสนเทศของประเทศเราให้เป็นอย่างดี เพราะถึงแม้การดักฟังจะเป็นไปได้ยาก แต่การกระทำที่ผิดกฎหมายนั้นก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงและระแวดระวัง

ขอให้มีความสุขกับการส่งไลน์ครับ แล้วพบกันใหม่ปีหน้าครับ สวัสดีปีใหม่.

นัทที นิภานันท์
(nattee.n@chula.ac.th)
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา เดลินิวส์ วันศุกร์ 26 ธันวาคม 2557


 

ไลน์ออกแถลงการณ์ถึงผู้ใช้ บอก "สบายใจนะจ๊ะ" ไอซีทีไม่สามารถตรวจสอบข้อความได้

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม บริษัทไลน์ ประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงผ่านทางไลน์ ออฟฟิเชียล หลังจากเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม มีข่าวว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที จะตรวจสอบบุคคลผู้ส่งข้อความที่กระทบต่อความมั่นคงและหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ผ่านโปรแกรมไลน์ ว่า

จากการที่มีกระแสข่าวว่า ไอซีที สามารถตรวจสอบข้อมูลการสนทนาผ่านไลน์ได้นั้น

ทางไลน์ได้ติดต่อประสานงานกับทางไอซีที และได้รับการยืนยันว่าทางไอซีที ไม่ได้ตรวจสอบข้อความผ่านไลน์ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

เนื่องด้วยทางไลน์เข้ารหัสข้อความทุกครั้ง การตรวจสอบข้อความจากบุคคลที่ 3 ผ่านไลน์ จึงไม่สามารถทำได้

ไลน์ให้ความสำคัญสูงสุดในการรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน บริษัทไม่มีนโยบายการแทรกแซงการใช้งานของผู้ใช้ ซึ่งมาตรการนี้เป็นนโยบายมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่ปฏิบัติตลอดมา

ขอให้เพื่อนๆ มั่นใจได้ว่า บริษัทจะไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ต่อบุคคลที่ 3 อย่างแน่นอน สบายใจนะจ๊ะ ทุกคน

จากไลน์ ประเทศไทย

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

 


แอบดูไลน์ เป็นไปได้หรือไม่แอบดูไลน์เป็นไปได้หรือไม่

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

qr code คืออะไร

qr code คืออะไร


เปิดอ่าน 13,641 ครั้ง
xDSL คืออะไร?

xDSL คืออะไร?


เปิดอ่าน 34,476 ครั้ง
ระบบโทรทัศน์

ระบบโทรทัศน์


เปิดอ่าน 82,288 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2012

กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2012

เปิดอ่าน 11,487 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สุดเจ๋ง! หนุ่มจบ ม.6 ประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ยกหมู่บ้าน
สุดเจ๋ง! หนุ่มจบ ม.6 ประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ยกหมู่บ้าน
เปิดอ่าน 7,827 ☕ คลิกอ่านเลย

ทีวีดิจิทัล หรือ ทีวีดิจิตอล (Digital television)
ทีวีดิจิทัล หรือ ทีวีดิจิตอล (Digital television)
เปิดอ่าน 49,617 ☕ คลิกอ่านเลย

13 แอพพลิเคชั่น อันตราย ที่ "Google" แบน ใครลงแล้วต้องแฟลชโอเอสใหม่เท่านั้น
13 แอพพลิเคชั่น อันตราย ที่ "Google" แบน ใครลงแล้วต้องแฟลชโอเอสใหม่เท่านั้น
เปิดอ่าน 23,115 ☕ คลิกอ่านเลย

สุดยอด "สุวรรณภูมิ-พารากอน" คว้าแชมป์สถานที่ที่มีคนแชร์รูปผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในปี 2012
สุดยอด "สุวรรณภูมิ-พารากอน" คว้าแชมป์สถานที่ที่มีคนแชร์รูปผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในปี 2012
เปิดอ่าน 10,863 ☕ คลิกอ่านเลย

ADSL ทำงานอย่างไร?
ADSL ทำงานอย่างไร?
เปิดอ่าน 14,402 ☕ คลิกอ่านเลย

ระวังนะ "ความร้อน" สามารถทำลายข้อมูลใน SSD ได้
ระวังนะ "ความร้อน" สามารถทำลายข้อมูลใน SSD ได้
เปิดอ่าน 11,807 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ไมยราบไร้หนาม
ไมยราบไร้หนาม
เปิดอ่าน 25,737 ครั้ง

เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือเตรียมสอบครูผู้ช่วย
เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือเตรียมสอบครูผู้ช่วย
เปิดอ่าน 19,186 ครั้ง

กรมวิทย์ยัน ตรวจขวดน้ำพลาสติกทิ้งกลางแดดร้อน ไม่พบสารพิษไดออกซิน
กรมวิทย์ยัน ตรวจขวดน้ำพลาสติกทิ้งกลางแดดร้อน ไม่พบสารพิษไดออกซิน
เปิดอ่าน 8,944 ครั้ง

แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
เปิดอ่าน 18,454 ครั้ง

คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู
คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู
เปิดอ่าน 89,887 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ