ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โละพีเอครูสอนเยอะรู้มากรับวิทยฐานะ


ข่าวการศึกษา 3 ก.พ. 2560 เวลา 06:13 น. เปิดอ่าน : 49,057 ครั้ง
โละพีเอครูสอนเยอะรู้มากรับวิทยฐานะ

Advertisement

“หมอธี”สั่งก.ค.ศ.เปลี่ยนเกณฑ์ประเมินขอมี-คงวิทยฐานะใหม่ ไม่เอาเกณฑ์พีเอ ดูครูจากความสามารถที่มีอยู่ว่าสอนเยอะแค่ไหน-พัฒนาตนเองอย่างไร-สะสมข้อมูลทางไอที ลั่น 3 เดือนเห็นวิธีการชัดเจน

วันนี้ (2 ก.พ.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ตนได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะและหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลอื่น ให้แก่ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่าการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ จะยึดพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ดูความสามารถที่มีอยู่ในตัวคน ว่ามีความรู้ ประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน โดยดูจาก 2 อย่างคือ 1.การสอน ว่ามีปริมาณการสอนมากน้อยแค่ไหน ความยุ่งยากในการสอน เช่น สอนหลายวิชา สอนหลายชั้น หรือสอนเด็กจำนวนมาก เป็นต้น และ2.การพัฒนาตนเอง ที่สะท้อนถึงความสามารถ เช่น การพัฒนาที่โรงเรียน การอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง ซึ่งในการพิจารณาจะดูแฟ้มสะสมผลงาน หรือ พอร์ตฟอลิโอ ที่ครูต้องเก็บหลักฐานการพัฒนาตนเองและการสอนใส่ไว้ โดยบันทึกลงในระบบไอที ในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์พอร์ตฟอลิโอ ดังนั้น จากนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตามนิยามใหม่ พร้อมทั้งจัดประชุมโฟกัสกรุ๊ปเพื่อรับฟังความคิดเห็นนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน

“เรื่องนี้ถือเป็นการปฏิวัติระบบการประเมินวิทยฐานะ รวมถึงจะนำมาใช้กับการประเมินขอคงวิทยฐานะตามมาตรา 55 ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ด้วย และขอให้มั่นใจว่าการใช้กระดาษทำผลงานวิชาการไม่มีอีกแล้ว นอกจากนี้ จะมีการทบทวนในส่วนวิทยฐานะผู้บริหารการศึกษาด้วย โดยอาจจะออกกฎหมายใหม่ให้เป็นเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบันผู้บริหารการศึกษาจะได้รับเงิน 2เด้ง คือ เงินประจำตำแหน่งและเงินวิทยฐานะ ซึ่งก็จะต้องมาทบทวนกันใหม่”นพ.ธีระเกียรติ กล่าวและว่า ทั้งนี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า ปัจจุบันรัฐจ่ายเงินวิทยฐานะปีละ 35,000 ล้านบาท จากครูทั้งหมดมีครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 10% ไม่มีวิทยฐานะ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 30% ไม่มีวิทยฐานะและครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 20% ไม่มีวิทยฐานะ เชื่อว่าหลักเกณฑ์ใหม่จะตอบแทนครูที่สอนทั้งมีปริมาณและมีคุณภาพได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ใช่เน้นดูที่เอกสารผลงานวิชาการ อย่างไรก็ตาม การทำผลงานทางวิชาการยังคงเน้นอยู่ในวิทยฐานะเชี่ยวชาญและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัด ศธ.กล่าวว่า นโยบายของ รมว.ศึกษาธิการถือเป็นการเปลี่ยนนิยามใหม่ของการประเมินวิทยฐานะ เปลี่ยนแรงจูงใจให้ถูกทาง คือ ต้องมาสอนกับพัฒนาตนเองจึงจะได้วิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูอยากสอน อยากอยู่ห้องเรียน ไม่ใช่มุ่งใช้เวลาไปทำผลงานทางวิชาการ ทั้งนี้ ผลงานที่ใช้ประเมินอยู่ในขณะนี้เหมาะสำหรับใช้ในการให้ความดี ความชอบ ให้โบนัส แต่แบบใหม่จะดูว่าครูรู้มากน้อยแค่ไหน ส่วนร่าง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะ หรือ เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ พีเอ (Performance Agreement : PA) ที่สำนักงาน ก.ค.ศ.เสนอมาก็ถือว่าล้มไปเพราะไม่สอดคล้องกับนิยามใหม่

ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 14.36 น.

ด้านไทยโพสต์ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 ได้พาดหัวข่าวและรายละเอียดข่าวนี้ ดังนี้

สั่งทบทวนค่าวิทยฐานะผู้บริหารศึกษา

รมว.ศธ.ชี้ปัจจุบันฟาด2เด้งรวมเงินตำแหน่ง/ครูอาชีวะ-กศน.มีวิทยฐานะแค่จิ๊บจ๊อย

"รมว.ศธ." สั่ง ก.ค.ศ.ทบทวนเงินวิทยฐานะผู้บริหารการศึกษา ชี้ปัจจุบันได้ 2 เด้ง บวกเงินประจำตำแหน่งด้วย และควรได้แค่อย่างใดอย่างหนึ่ง เผยรัฐแบกค่าวิทยฐานะครูอื้อปีละ 3.5 หมื่นล้าน แต่ครูสังกัดอาชีวะ 30% และครู กศน. 20% ไม่ได้วิทยฐานะ แต่สังกัด สพฐ.ได้เกือบหมด ขาดแค่ 10%

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้มอบนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะและหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลอื่น ให้แก่ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ว่าการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่จะยึดพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือดูความสามารถที่มีอยู่ในตัวคน ประสบการณ์การสอน ว่ามีปริมาณการสอนมากน้อยแค่ไหน ความยุ่งยากในการสอน เช่น สอนหลายวิชา สอนหลายชั้น หรือสอนเด็กจำนวนมาก เป็นต้น และการพัฒนาตนเอง ที่สะท้อนถึงความสามารถ เช่น การพัฒนาที่โรงเรียน การอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง ซึ่งในการพิจารณาจะดูแฟ้มสะสมผลงาน หรือพอร์ตโฟลิโอ ที่ครูต้องเก็บหลักฐานการพัฒนาตนเองและการสอนใส่ไว้ โดยบันทึกลงในระบบไอทีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์พอร์ตโฟลิโอ ดังนั้นจากนี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.ไปกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตามนิยามใหม่ พร้อมทั้งจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน

"เรื่องนี้ถือเป็นการปฏิวัติระบบการประเมินวิทยฐานะ รวมถึงการนำระบบการประเมินขอคงวิทยฐานะตามมาตรา 55 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ด้วย และขอให้มั่นใจว่าจะไม่มีการใช้กระดาษทำผลงานวิชาการอีกแล้ว" รมว.ศธ.กล่าว

นพ.ธีระเกียรติกล่าวต่อว่า ตนยังได้มอบให้ ก.ค.ศ.ไปทบทวนเรื่องวิทยฐานะผู้บริหารการศึกษาด้วย โดยอาจจะออกกฎหมายใหม่ให้เป็นเงินประจำตำแหน่ง เนื่องจากปัจจุบันผู้บริหารการศึกษาจะได้รับเงิน 2 เด้ง คือเงินประจำตำแหน่ง และเงินวิทยฐานะ ซึ่งก็จะต้องมาทบทวนกันใหม่ และแต่ละปีรัฐมีภาระจ่ายเงินวิทยฐานะถึงปีละ 35,000 ล้านบาท แต่กลับพบว่ามีครูที่ไม่มีวิทยฐานะสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร้อยละ 10 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร้อยละ 30 และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ร้อยละ 20 จึงเชื่อว่าหลักเกณฑ์ใหม่จะตอบแทนครูที่สอนทั้งมีปริมาณและมีคุณภาพได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ใช่เน้นดูที่เอกสารผลงานวิชาการ อย่างไรก็ตาม การทำผลงานทางวิชาการยังคงเน้นอยู่ในวิทยฐานะเชี่ยวชาญและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวว่า นโยบายของ รมว.ศธ.ถือเป็นการเปลี่ยนนิยามใหม่ของการประเมินวิทยฐานะ เปลี่ยนแรงจูงใจให้ถูกทาง คือต้องมาสอนกับพัฒนาตนเองจึงจะได้วิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูอยากสอน อยากอยู่ห้องเรียน ไม่ใช่มุ่งใช้เวลาไปทำผลงานทางวิชาการ ทั้งนี้ ผลงานที่ใช้ประเมินอยู่ในขณะนี้เหมาะสำหรับใช้ในการให้ความดี ความชอบ ให้โบนัส แต่แบบใหม่จะดูว่าครูรู้มากน้อยแค่ไหน ส่วนร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือพีเอ (Performance Agreement : PA) ที่สำนักงาน ก.ค.ศ.เสนอมาก็ถือว่าล้มไป เพราะไม่สอดคล้องกับนิยามใหม่.


ขอบคุณที่มาจาก ไทยโพสต์ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560


โละพีเอครูสอนเยอะรู้มากรับวิทยฐานะปฏิวัติวิทยฐานะประเมินวิทยฐานะเงินประจำตำแหน่งe-Portfolioเลื่อนวิทยฐานะ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)

เปิดอ่าน 2,507 ☕ 25 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 19 ราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567
เปิดอ่าน 3,902 ☕ 26 เม.ย. 2567

รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
รายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 631 ☕ 26 เม.ย. 2567

สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
เปิดอ่าน 1,320 ☕ 25 เม.ย. 2567

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
เปิดอ่าน 671 ☕ 25 เม.ย. 2567

การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
เปิดอ่าน 1,450 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
เปิดอ่าน 1,091 ☕ 25 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ตูนส์ศึกษา : ทำไม O-NET ไม่เอาเรื่องจริงในชีวิตไปออกข้อสอบ
ตูนส์ศึกษา : ทำไม O-NET ไม่เอาเรื่องจริงในชีวิตไปออกข้อสอบ
เปิดอ่าน 13,617 ครั้ง

มะนาววงบ่อ นอกฤดู 1 ไร่ 100 ต้น
มะนาววงบ่อ นอกฤดู 1 ไร่ 100 ต้น
เปิดอ่าน 25,308 ครั้ง

5 ประโยชน์จากน้ำมันมะกอก
5 ประโยชน์จากน้ำมันมะกอก
เปิดอ่าน 11,803 ครั้ง

เคล็ดลับการเรียนเก่งด้วยตัวเอง
เคล็ดลับการเรียนเก่งด้วยตัวเอง
เปิดอ่าน 52,219 ครั้ง

Microsoft Office สำหรับไอแพด
Microsoft Office สำหรับไอแพด
เปิดอ่าน 16,784 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ